Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/448
Title: การพัฒนากลุ่มวิสาหกิจชุมชนในด้านประกอบการ SME ขนาดย่อยโดยใช้กระบวนการ PLC ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ตาบลบึงพระ อาเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก
Other Titles: COMMUNITY ENTERPRISE DEVELOPMENT IN SMALL SME ENTREPRENEURSHIP USING THE PLC PROCESS, THE COMMUNITY OF PROFESSIONAL LEARNING AT BUENGPHRA DISTRICT, PHITSANULOK PROVINCE
Authors: มารศรี, สริญญา
ปภสฺสรญาโณ, พระวิทวัส
แท่งทอง, กิตติศักดิ์
ขอบทอง, กนกวรรณ
Keywords: กลุ่มวิสาหกิจชุมชน
SME
กระบวนการ PLC
ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ จังหวัดพิษณุโลก
Issue Date: 2561
Publisher: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบริหารและระดับการมีส่วนร่วมในการ จัดการกลุ่มวิสาหกิจชุมชนของชุมชน ตาบลบึงพระ อาเมือง จังหวัดพิษณุโลก เพื่อศึกษาระดับปัญหา และการมีส่วนร่วมในการพัฒนาวิสาหกิจชุมชน ตาบลบึงพระ อาเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลกและ เพื่อ วิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนากลุ่มวิสาหกิจชุมชน โดยใช้กระบวนการ PLC ชุมชนการเรียนรู้ ทางวิชาชีพ ใช้รูปแบบการวิจัยดาเนินการศึกษาตามระเบียบวิธีวิจัยแบบผสม (Mixed Methods Research) การเก็บรวบรวมข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ครั้งนี้ คือ ประชาชนในชุมชน ตาบลบึงพระ อาเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก โดยแบ่งกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาจานวน ๓ กลุ่มได้แก่ กลุ่มประชาชนผู้ที่อาศัยอยู่ในตาบลบึงพระ จานวน ๑๒๐ คน กลุ่มผู้นาชุมชน จานวน ๑๐ คน และกลุ่มเจ้าหน้าที่ของภาครัฐและภาคเอกชน จานวน ๑๐ คน รวม ๑๔๐ คน การวิเคราะห์ ข้อมูลเชิงเนื้อหา (Content Analysis) โดยถอดความข้อมูลที่ได้จากแบบบันทึกการสัมภาษณ์เชิงลึก ถอดความจากเครื่องบันทึกเสียง มาตรวจสอบอย่างมีระบบเกี่ยวกับหัวข้อที่ต้องการวิเคราะห์ที่ปรากฏ อยู่ในส่วนต่างๆ ของการสัมภาษณ์เชิงลึกทั้งหมด และสรุปประเด็น (Thematic Analysis) จากนั้น ตรวจสอบความครบถ้วนของข้อมูล ยืนยันข้อมูลที่ได้โดยใช้วิธีการตรวจสอบแบบเชื่อมโยงสามเส้า (Triangulation) จัดหมวดหมู่ข้อมูลและแปลความหมายข้อค้นพบที่สาคัญในการวิจัย นาเสนอข้อมูล โดยอยู่ในรูปการบรรยาย (Description) ผลการวิจัยพบว่า การบริหารและระดับการมีส่วนร่วมในการจัดการกลุ่มวิสาหกิจชุมชนของชุมชน ตาบลบึงพระ อาเมือง จังหวัดพิษณุโลก เพื่อสังเคราะห์และตรวจสอบรูปแบบการพัฒนาศักยภาพ ข ผู้ประกอบการชุมชน การพัฒนากลุ่มวิสาหกิจชุมชน โดยใช้กระบวนการ PLC ชุมชนการเรียนรู้ทาง วิชาชีพ ด้วยการประเมินความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๔.๓๔ จึงเห็นได้ว่าควรนา ประเด็นที่มีค่าเฉลี่ยน้อยนาไปพัฒนารูปแบบดังกล่าวเพื่อให้สามารถนาไปใช้ในการทดลองต่อไปได้ ด้านปัญหาพบว่าขาดวัตถุดิบ เครื่องมือการผลิตที่ทันสมัย ด้านโลจิสติกส์ ด้านเทคโนโลยีมาช่วยในการ ดาเนินงานขาดทักษะแรงงาน ขาดการออกแบบฉลากผลิตภัณฑ์ที่ดึงดูดความสนใจของลูกค้า ด้าน ภาษาที่ยังไม่สามารถนาเสนอผลิตภัณฑ์แต่ละครั้งของวิสาหกิจชุมชนสมุนไพรตาบลบึงพระ มีคุณภาพ ไม่เหมือนกัน ไม่สม่าเสมอกรรมวิธีการผลิตไม่ทันสมัยไม่สามารถแข่งขันในตลาดโลก ผู้ผลิตของกลุ่มก็ เกรงว่าผลิตออกมาแล้วไม่สามารถหาตลาดได้ปัญหาที่ตามมาคือจากเดิมที่ผลิตแล้วขายเป็นตลาดเชิง รับจึงมีการปรับใหม่ให้เป็นตลาดเชิงรุกที่เกิดจากวงสนทนาโดยใช้กระบวนการ PLC การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนากลุ่มวิสาหกิจชุมชน โดยใช้กระบวนการ PLC ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ได้พัฒนารูปแบบการดาเนินกิจกรรมวิสาหกิจชุมชนสมุนไพรตาบลบึงพระ โดยใช้กระบวนการ PLC สู่การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในการดาเนินงานดังนี้ ๑) การมีโอกาสเสวนาใคร่ครวญ (Reflective dialogue) ระหว่างกัน ๒) การเปิดกว้างให้มีการ ปฏิสัมพันธ์ในหมู่สมาชิกวิสาหกิจชุมชนมากขึ้น ลดความรู้สึกโดดเดี่ยว (Derivatization) ในการพัฒนา ผลิตภัณฑ์ของสมาชิกวิสาหกิจชุมชน ๓) การรวมกลุ่มเพื่อเน้นเรื่องการเรียนรู้ของสมาชิกวิสาหกิจ ชุมชนสู่การดาเนินกิจการ ๔) การร่วมมือร่วมใจกันในหมู่ผู้ประกอบการ ๕) การแลกเปลี่ยนในประเด็น ที่เป็นค่านิยมและปทัสถานร่วม (Shared values and norms) สู่การออกแบบฉลากของ ผลิตภัณฑ์ที่ดึงดูดความสนใจและสามารถเชื่อมโยงให้ผู้บริโภคได้เห็นชัดเจนมากขึ้นว่าสินค้าจากกลุ่ม วิสาหกิจชุมชนสมุนไพรตาบลบึงพระ อาเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก น อกจากได้ผลิตภัณฑ์ที่มี เอกลักษณ์ของภูมิปัญญาดั้งเดิม และมีคุณภาพในราคายุติธรรมแล้วเป็นอีกทางหนึ่งที่ช่วยสนับสนุน ชาวบ้านที่ด้อยโอกาสให้สามารถพึ่งตนเองมีรายได้ในการช่วยเหลือครอบครัวเป็นการเพิ่มจุดขายไปยัง กลุ่มเป้าหมายที่อยากสนับสนุนและกระจายรายได้ให้แก่คนในชุมชน และสมาชิกวิสาหกิจชุมชนมี โอกาสแสดงบทบาททั้งเป็นผู้ให้ข้อมูลและได้แสดงบทบาทการเป็นที่ปรึกษา (Advisor) การเป็นพี่เลี้ยง (Mentor) และการเป็นผู้เชี่ยวชาญ (Specialist) ก็ ในระหว่างที่ให้ความช่วยเหลือเพื่อนด้วยกัน ที่เกิด จากบทบาทของการพัฒนางานโดยใช้กระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/448
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2561-165นางสริญญา มารศรี.pdf14.13 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.