Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/445
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorศุภษร, ประพันธ์-
dc.contributor.authorสมศรี, ตวงเพชร-
dc.contributor.authorเศษวงศ์, สมคิด-
dc.date.accessioned2022-03-18T13:55:24Z-
dc.date.available2022-03-18T13:55:24Z-
dc.date.issued2555-
dc.identifier.urihttp://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/445-
dc.description.abstractงานวิจัยเรื่อง กระบวนการพัฒนาจิตอาสาตามแนวพระพุทธศาสนา มีวัตถุประสงค์ของ การวิจัย คือ (๑) เพื่อศึกษาจิตอาสาตามแนวทฤษฎีทั่วไปและพระพุทธศาสนา (๒) เพื่อศึกษาการ ประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมเพื่อพัฒนาจิตอาสา (๓) เพื่อศึกษากระบวนการพัฒนาจิตอาสาตามแนว พระพุทธศาสนา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยศึกษาทั้งเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และสัมภาษณ์เชิง ลึกผู้บริหารศูนย์ช่วยเหลือฟื้นฟูผู้ประสบภัยน้าท่วม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย แล้ว น้าเสนอในรูปแบบพรรณนาโวหาร ผลการวิจัยพบว่า จิตอาสาตามแนวทฤษฎีทั่วไป หมายถึง จิตของคน ผู้ที่ต้องการ ช่วยเหลือผู้อื่น ซึ่งเกิดจากความสงสาร เมื่อเห็นผู้อื่นเดือดร้อน จึงอาสาเข้าช่วยเหลือด้วยความเต็มใจ โดยไม่หวังสิ่งตอบแทน ไม่เลือกปฏิบัติ เป็นการช่วยเหลือตามก้าลังสติปัญญา และความรู้ ความสามารถของตน ส่วนจิตอาสาตามแนวพระพุทธศาสนา หมายถึง จิตของคน ผู้มีเมตตาและ คุณธรรม ต้องการช่วยเหลือผู้อื่น หรือจิตของคนผู้เสียสละแรงกาย แรงใจ ช่วยให้ผู้อื่นคลายทุกข์ มี ความสุขตามความเหมาะสม และเกิดประโยชน์ต่อสังคม การประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมเพื่อพัฒนาจิตอาสา ณ ศูนย์ฟื้นฟูผู้ประสบภัยน้าท่วม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยนี้ เป็นการด้าเนินงานเพื่อช่วยเหลือเยียวยาและฟื้นฟูจิตใจ ของผู้ประสบภัยตามหลักของศีล สมาธิ ปัญญา แบ่งเป็น ๕ ระยะ คือระยะที่ ๑ และ ๒ เป็นการ พัฒนาศีล ด้านกายภาพ การอยู่ร่วมกันด้วยความสามัคคี ช่วยเหลือกันอย่างเป็นระบบมีระเบียบ ระยะที่ ๓ พัฒนาสมาธิ ฟื้นฟูจิตด้วยศาสนพิธี มีการท้าวัตรสวดมนต์ เจริญภาวนา กิจกรรมศิลปะ บ้าบัด และให้การปรึกษาเชิงพุทธ ระยะที่ ๔ พัฒนาปัญญา ด้วยกิจกรรมวิถีพุทธ และการให้ความรู้ เพื่อปรับตัวและประกอบอาชีพเสริม ระยะที่ ๕ เป็นการสรุปผล ส่งกลับ และติดตามผล กระบวนการพัฒนาจิตอาสาตามแนวพระพุทธศาสนา เป็นการน้าหลักพุทธ ธรรมมาประยุกต์และผสมผสานกันอย่างเป็นกระบวนการ ให้สอดคล้องกับแนวทางการปฏิบัติตาม กรอบของกฎระเบียบในสังคม ด้วยการจัดอบรม ฝึกฝนให้ความรู้ความเข้าใจ ปลูกฝังจิตส้านึกการเป็น ผู้ให้ ผู้เสียสละ ไม่หวังสิ่งตอบแทน บ้าเพ็ญประโยชน์เพื่อส่วนรวม โดยการจัดปฐมเทศจิตอาสา เสริมสร้างจิตอาสาให้มีพลังในระหว่างการท้างานและฝึกวิธีการสอดแทรกธรรมะ เข้ากับกิจกรรม ในขณะปฏิบัติหน้าที่ เป็นการน้าธรรมะซึมซับเข้าภายในจิตใจโดยไม่รู้ตัว ได้แก่ การสวดมนต์ นั่ง สมาธิ ฟังธรรม จัดกิจกรรมกลุ่มด้วยการให้ช่วยเหลือกันท้างาน ท้าให้เกิดการเห็นอกเห็นใจกัน รักสามัคคีกันมากขึ้น และที่ส้าคัญคือหัวใจของการท้างานจิตอาสาคือการให้ด้วยจิตบริสุทธิ์ พร้อมสละ ก้าลังกาย ก้าลังทรัพย์ และสละเวลาอยู่เสมอ ยกระดับจิตของผู้ท้าให้สูงขึ้นไปสู่ความเป็นผู้มีศีล สมาธิและปัญญายิ่งขึ้นไปen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยen_US
dc.subjectกระบวนการพัฒนาen_US
dc.subjectจิตอาสาen_US
dc.subjectพระพุทธศาสนาen_US
dc.titleกระบวนการพัฒนาจิตอาสาตามแนวพระพุทธศาสนาen_US
dc.title.alternativeThe Process of Development of The Volunteer Spirit in Accordance with Buddhismen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2555-058 ผศ.ดร.ประพันธ์ ศุภษร.pdf2.41 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.