Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/444
Title: ปัจจัยทางจิตวิทยาองค์การเชิงบวกที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาบุคลากรสู่องค์การ แห่งความเป็นเลิศ : กรณีศึกษาบริษัทในเขตนิคมอุตสาหกรรมไฮเทค จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
Other Titles: Positive Organizational Psychology Variables Influencing a High Performance Organization : The Company of Plants at the Hi-Tech Industrial Estate, Phra Nakhon Si Ayuttha Province
Authors: ศรีวิจิตรวรกุล, สมโภช
Keywords: จิตวิทยาองค์การเชิงบวก
องค์การแห่งความเป็นเลิศ
Issue Date: 2561
Publisher: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: จากการวิจัยเรื่อง “ปัจจัยทางจิตวิทยาองค์การเชิงบวกที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาบุคลากร สู่องค์การแห่งความเป็นเลิศ” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวกับจิตวิทยาตามหลักพุทธธรรมเชิง บวกในภาวะผู้นาแบบเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ดีขององค์การ และการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้กับการ รับรู้องค์การแห่งความเป็นเลิศของพนักงานบริษัท ในเขตนิคมอุตสาหกรรมไฮเทค โดยผู้วิจัยได้ดาเนิน การวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methods Research) มีการเก็บข้อมูลจากแบบสอบถามในภาคสนาม ๔๐๐ ชุด และการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) จานวน ๑๘ ท่าน จากผู้จัดการบริษัทในเขต นิคมอุตสาหกรรมไฮเทค ผลการวิจัย พบว่า โดยความคิดเห็นจากพนักงานบริษัท ซึ่งเป็นตัวอย่าง มีความคิดเห็นด้านภาวะผู้นาแบบ เปลี่ยนแปลงและพัฒนาบริษัทค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (  = ๔.๑๑, S.D.=๐.๗๘๕) ด้านพฤติกรรมการเป็น บุคลากรที่ดีต่อบริษัท/องค์กรค่าเฉลี่ยระดับมาก (  = ๔.๑๗, S.D.=๐.๗๗๗) ด้านองค์การแห่งการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาองค์กรให้ก้าวหน้าค่าเฉลี่ยระดับมาก (  = ๔.๐๗, S.D.=๐.๘๐๕) ด้านการปฏิบัติงานตามหลัก พุทธธรรม ค่าเฉลี่ยระดับมาก (  = ๔.๑๒, S.D.=๐.๗๙๓) และด้านการพัฒนาองค์การแห่งความเป็นเลิศ ค่าเฉลี่ยระดับมาก (  = ๔.๑๑, S.D.=๐.๘๐๔) ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นา พฤติกรรมบุคลากร องค์กรตามแบบของเบส หลักพุทธธรรมและองค์กรแห่งความเป็นเลิศมีความสัมพันธ์กันค่อนข้างสูงและสัมพันธ์ระดับสูง สาหรับ ผลการวิเคราะห์ความคาดหวัง ซึ่งปัจจัยที่ใช้พยากรณ์หรือปัจจัยที่มีอิทธิพลทางจิตวิทยาองค์การเชิงบวก เพื่อพัฒนาภาวะผู้นาองค์กรและพัฒนาบุคลากรสู่องค์การแห่งความเป็นเลิศ ประกอบด้วย ภาวะผู้นา องค์กรแบบ Bass พฤติกรรมองค์กร(Organ) องค์กรตามแบบ Senge และหลักพุทธธรรม(Buddhism) ดังนั้น ปัจจัยทางจิตวิทยาองค์การเชิงบวกเพื่อพัฒนาภาวะผู้นาองค์กรและพัฒนาบุคลากรสู่องค์การแห่ง ความเป็นเลิศ (Best Practice) สามารถพยากรณ์ได้ร้อยละ ๘๘.๗ (R=.๙๔๒ R๒ =.๘๘๗)
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/444
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2561-248 สมโภช ศรีวิจิตรวรกุล.pdf5.44 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.