Please use this identifier to cite or link to this item:
http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/440
Title: | การวิเคราะห์ประวัติและลักษณะพุทธศิลป์ของพระพุทธรูปสำคัญในสังคมไทย |
Other Titles: | Analysis for the History and Buddhist arts Characteristics of the Important Buddha Images in Thai Society |
Authors: | สิริวฑฺฒโน, พระมหาวิเชียร ศรีอร่าม, ภูริทัต |
Keywords: | พัฒนาการ ประวัติ ลักษณะ พระพุทธรูปสำคัญ |
Issue Date: | 2560 |
Publisher: | สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัย เรื่อง การวิเคราะห์ประวัติและลักษณะพุทธศิลป์ของพระพุทธรูปสำคัญใน สังคมไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพัฒนาการการสร้างพระพุทธรูปสำคัญในสังคมไทย เพื่อศึกษา ประวัติและลักษณะพุทธศิลป์ของพระพุทธรูปสำคัญในสังคมไทย และเพื่อวิเคราะห์ประวัติและ ลักษณะพุทธศิลป์ของพระพุทธรูป ข้อมูลที่ศึกษา คือ ประวัติความเป็นมาและลักษณะศิลปะตามยุค สมัยของพระพุทธรูปสำคัญในสังคมไทย ประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือ เจ้าอาวาส ผู้นำชุมชน นักวิชาการศาสนาและประวัติศาสตร์พุทธศิลป์ ประชาชนผู้มานมัสการพระพุทธรูปสำคัญ รวมผู้ให้ ข้อมูลทั้งหมด จำนวน ๑๗ รูป/คน ซึ่งเป็นผู้ให้ข้อมูลที่สำคัญ (Key-Informant) เครื่องมือที่ใช้ในการ วิจัย ได้แก่ สัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth Interview) ผลการศึกษาพบว่า ๑. พัฒนาการการสร้างพระพุทธรูปสำคัญในสังคมไทย พบว่า การสร้างพระพุทธรูปเป็น ครั้งแรกในอินเดีย พระพุทธรูปเก่าแก่ที่สุดที่พบในประเทศไทยเป็นพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นในประเทศ อินเดีย สมัยอมราวดีและสมัยคุปตะ พุทธศาสนิกชนคนไทยเชื่อว่าการสร้างพระพุทธรูปส่งผลในทาง กุศลบุญอย่างมาก พระพุทธปฏิมาในประเทศไทยสร้างตามแบบพระพุทธปฏิมาของอินเดีย ซึ่งมี ๔ พระอิริยาบถหลัก คือ ประทับ (นั่ง) ยืน และไสยาสน์ (นอน) และพระอิริยาบถลีลา (เดิน) ๒. ประวัติและลักษณะพุทธศิลป์ของพระพุทธรูปสำคัญในสังคมไทย พบว่า ๑) หลวง พ่อโสธร ไม่ได้สร้างในจังหวัดฉะเชิงเทรา ด้วยฝีมือเป็นช่างแบบลานช้าง หรือแบบพระลาว ลักษณะ พุทธศิลป์เป็นพระพุทธปฏิมากรปางสมาธิ ครั้งแรกหล่อด้วยสำริด ภายหลังพอกปูนเสริมให้ใหญ่หุ้ม องค์จริงไว้ภายใน พระพุทธลักษณ์จึงเป็นแบบปูนปั้น ลงรักปิดทองพระวรกายแบบเทวรูป พระพักตร์ แบบศิลปะลานนา พระเกตุมาลาแบบปลี ประทับอยู่เหนือรัตนบัลลังก์ ๔ ชั้น ซึ่งปูลาดด้วยผ้าทิพย์ ข้อพระกรข้างขวามีกำไรรัดตรึง ทรงจีวรแนบเนื้อ ๒) หลวงพ่อวัดไร่ขิง ลักษณะพุทธศิลป์เป็น พระพุทธรูปปางมารวิชัย หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ พุทธศิลปสมัยเชียงแสน สันนิษฐานว่า เป็นฝีมือช่าง สมัยล้านนาและล้านช้าง ๓) หลวงพ่อโต วัดบางพลีใหญ่ใน เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย (ปางสะดุ้ง มาร) ลักษณะเบิกพระเนตร ขัดสมาธิราบ สร้างขึ้นด้วยศิลปะสมัยสุโขทัย องค์พระเป็นทองสำริดทั้ง องค์ลงรักปิดทอง ตามประวัติสร้างในสมัยลานช้างและลานนา ๔) หลวงพ่อบ้านแหลม ลักษณะพุทธ ศิลป์เป็นพระพุทธรูปหล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ปิดทอง พุทธลักษณะเป็นศิลปะตามสมัยสุโขทัยตอนปลาย จนสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น อิริยาบถยืนปางอุ้มบาตร ขนาดสูงประมาณ ๑๗๐ เซนติเมตร พระหัตถ์ ถอดออกประกอบ พระบาทแบบพระพทุ ธรปู ทรงเคร่อื ง ตามประวัติสร้างในสมัยลานช้างและลานนา ข ๓. การวิเคราะห์ประวัติและลักษณะพุทธศิลป์ของพระพุทธรูป พบว่า ข้อมูลเชิง ประวัติศาสตร์ ในช่วงศึกสงครามประชาชนอพยพมีการอัญเชิญพระพุทธรูปติดตามมาด้วยเพื่อเป็นที่ พึ่งทางจิตใจและด้วยพุทธานุภาพทำให้รอดปลอดภัย ภายหลังสงครามเมื่อผู้อพยพตั้งถิ่นฐานในที่ใดก็ ประดิษฐ์ฐานพระพุทธรูปที่ได้อัญเชิญมาไว้ในวัดใกล้บ้าน, ส่วนของหลวงพ่อวัดไร่ขิง การอัญเชิญมา จากพระนครศรีอยุธยามีความสัมพันธ์กับประวัติเจ้าอาวาสมีความน่าเชื่อถือในเชิญวิชาการมากกว่า ลักษณะพุทธศิลป์หลวงพ่อโสธรมีความแตกต่างจากพระพุทธปฏิมาองค์อื่นอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะไม่ เหมือนพระพุทธรูปศิลปะสมัยต่างๆ พระพักตร์แบบศิลปะลานนามีความเรียบง่าย อมยิ้มแบบอิ่มบุญ คล้ายใบหน้าของชาวจีน ลักษณะองค์รวมของหลวงพ่อโสธรมีรูปลักษณะคล้ายมนุษย์มากกว่าเป็น พุทธลักษณะตามมหาปุริสลักษณะ หรือเรียกว่ามีโหงวเฮ้งที่ดีตามลักษณะพยากรณ์ อาจเป็นด้วยเหตุ นี้จึงมีชาวจีนให้ความเคารพศรัทธาเป็นจำนวนมาก, หลวงพ่อวัดไร่ขิง มีพระวรกายอวบอ้วนพระ พักตร์กลมคล้ายผลมะตูม พระขนงโก่ง พระนาสิกโค้งงุ้ม พระเกตุมาลาเป็นเปลว นั่งขัดสมาธิราบ ชายสังฆาฏิยาว เส้นพระสกขมวด มีพระพักตร์และพระโอษฐ์กว้างนั้นเป็นลักษณะของพระพุทธรูปขอม ปลายสังฆาฏิใหญ่และมีหลายแฉก ฐานไม่มีบัวรอง พุทธศิลป์เป็นพระพุทธรูปเชียงแสนของไทยชาว ลานนาและลานช้าง ทำตามอย่างพระพุทธรูปสมัยสุโขทัย มีลักษณะต่างไปจากเชียงแสนชั้นแรก, หลวงพ่อโต วัดบางพลีใหญ่ใน ลักษณะมีเกตุมาลายาวเป็นเปลว เส้นพระศกขมวดก้นหอย โดยมากไม่มี ไรพระศก พระโขนงโก่ง พระนาสิกงุ้ม พระหนุเสี้ยม หัวพระถันโปน สังฆาฏิยาว มักมีปลายเป็น ๒ แฉกย่น ขัดสมาธิราบ พระพุทธรูปที่มีเกตุมาลาเป็นเปลวนั้น เป็นแบบอย่างช่างลังกา, หลวงพ่อบ้าน แหลม มีพุทธลักษณะเป็นศิลปะตามสมัยสุโขทัยตอนปลายจนสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น อิริยาบถยืน ปางอุ้มบาตร ภายในองค์พระโปร่ง มีลักษณะพิเศษ คือ พระพักตร์งดงามอ่อนช้อย ส่วนพระหัตถ์เป็น คนละชิ้นกับพาหาทำให้สามารถถอดออกประกอบได้ พระบาทไม่สวมฉลอง พระบาทแบบพระพุทธรูป ทรงเครื่องที่เรียกว่าพระโพธิสัตว์สมัยอยุธยา พระเกตุมาลาเป็นเปลวเพลิงแบบพระพุทธรูปสมัยสุโขทัย สังฆาฏิพาดยาวลงมาถึงพระชงฆ์ จีวรทำแผ่นเป็นแผ่นแผงอยู่เบื้องหลัง |
URI: | http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/440 |
Appears in Collections: | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2560-207พระมหาวิเชียร สิริวฑฺฒโน (ไกรฤกษศิลป).pdf | 9.26 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.