Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/438
Title: ศึกษาวิเคราะห์องค์ประกอบและกลไกของจักรวาล ตามหลักของนิยาม ๕ ในพระพุทธศาสนา
Other Titles: The Analysis of Cosmology Components and Mechanical Cosmology in the Five Aspects of Natural Buddhist Laws
Authors: สุขุประการ, สามารถ
Keywords: ศึกษาวิเคราะห์
องค์ประกอบและกลไก
จักรวาล
นิยาม ๕
Issue Date: 2559
Publisher: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยเรื่อง “ศึกษาวิเคราะห์องค์ประกอบและกลไกของจักรวาลตามหลักของนิยาม ๕ ในพระพุทธศาสนา” พบว่าองค์ประกอบของพุทธจักรวาลทางกายภาพมีความสอดคล้องกับกาแลก ซี่แบบเกลียว (Spiral Galaxy) และพหุจักรวาล (Multiverse) ในจักรวาลวิทยา จักรวาลมีกลไก ทางานสอดคล้องกับหลักธรรมของนิยาม ๕ โดยที่ ๑) อุตุนิยามอธิบายได้กับทฤษฎีฟิสิกส์กลไกการ ทางานของรูปในพระพุทธศาสนา, ๒) พีชนิยามอธิบายได้กับทฤษฎีชีววิทยา สิ่งมีชีวิต, ๓) จิตนิยาม สามารถอธิบายความเชื่อมโยงด้วยรูปแบบของคลื่นที่เกี่ยวข้องกับสสารและพลังงาน เป็นไปตาม สมการของอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ที่ว่าด้วยสสารและพลังเป็นปัจจัยของกันและกัน และของแมกซ์ พลางค์ที่ว่าด้วยพลังงานกับคลื่นย่อมเป็นปัจจัยของกันและกันด้วยเช่นกัน, ๔) กรรมนิยามเป็นนิยามที่ อธิบายผลของการกระทา ที่สะสมไว้เป็นข้อมูลให้จิต เป็นข้อมูลสาหรับการเกิดภพสืบชาติของสัตว์ซึ่ง เกี่ยวข้องกับจิตนิยามโดยตรง และ ๕) ธรรมนิยามมีกฎไตรลักษณ์สามารถอธิบายกลไกการทางานของ จักรวาล โดยอิงหลักธรรมอิทัปปัจจยตาเป็นตัวขับเคลื่อนกลไกในไตรลักษณ์ จาการวิจัยค้นพบว่าข้อมูลของวิบากกรรมมีความเป็นไปได้ที่จะเก็บสะสมไว้ในอวกาศ ซึ่งเป็นแหล่งกาเนิดจักรวาล ข้อมูลของสัตว์มีการเก็บสะสมไว้ มีความเกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงกับการ สื่อสารของจิตด้วยคลื่นจิต ซึ่งจิตมีคุณสมบัติทางานแบบคลื่น ดังนั้นการที่จะทาให้ไม่กลับไปเกิดใหม่ ได้นั้น ต้องตัดการเชื่อมโยงระหว่างคลื่นจิตกับแหล่งข้อมูลอวกาศ ความสามารถในการหยุดการปรุง แต่งจิตนับเป็นวิธีการตัดการเชื่อมโยงระหว่างคลื่นจิตกับอวกาศซึ่งเป็นแหล่งข้อมูลนั้น
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/438
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2559-149 สามารถ สุขุประการ.pdf5.97 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.