Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/436
Title: พจนานุกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Other Titles: Thai Tipitaka Dictionary Mahachulalongkornrajavidyalaya University
Authors: และคณะ, พระศรีคัมภีรญาณ
Keywords: พจนานุกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย
Issue Date: 2557
Publisher: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: เรื่อง “พจนานุกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย” เป็นโครงการวิจัยปีที่ ๒ ต่อเนื่อง โดยกาหนดวัตถุประสงค์ไว้ ๔ ประการ คือเพื่อจัดทาพจนานุกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยให้ได้มาตรฐาน สมบูรณ์ เป็นที่ ยอมรับกันโดยทั่วไป ถูกต้องตามคัมภีร์ในพระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎกและอภิธรรมปิฎก เพื่อให้ผู้ใช้ เข้าใจความหมายถูกต้อง สามารถนาไปได้ถูกที่ ถูกความหมาย อานวยประโยชน์แก่การเรียนการสอน การวิจัยของมหาวิทยาลัย เพื่อเป็นหนังสืออ้างอิงทางวิชาการสาหรับใช้เป็นคู่มือศึกษาพระไตรปิฎก และคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาอื่นๆแก่ผู้ศึกษาค้นคว้าโดยทั่วไป เพื่อบริการวิชาการด้าน พระพุทธศาสนาแก่สังคม และทานุบารุงศิลปวัฒนธรรม อันเป็นการบารุงส่งเสริมสรรพวิชาให้เป็น คุณประโยชน์แก่ชาติและประชาชน วัตถุประสงค์เหล่านี้สาเร็จตามเป้าหมายได้ โดยอาศัยหลักการจัดทาพจนานุกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ประกอบด้วย ๑. ค้นคำศัพท์ คือศัพท์ที่ได้ค้นหามาจาก ๒ ส่วน คือ ศัพท์ที่เป็นดรรชนีจาก พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จากพระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬา เตปิฏก ๒๕๐๐ ทั้ง ๔๕ เล่ม และศัพท์ที่คัดเลือกเพิ่มเติมขึ้นมาใหม่โดยพิจารณาเลือกมาจากหนังสือ พระไตรปิฎกทั้ง ๔๕ เล่ม ๒. เรียงคำศัพท์คือการนำเสนอศัพท์พจนานุกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย จะเรียง ศัพท์ตามลำดับหมวดอักษร คือ หมวดอักษร วรรค จ วรรค ฏ วรรค ต วรรค ป และหมวดอักษรอ วรรค คือ ย ร ล ว ส ห ฬ อ (สระทั้งหมด) คือ อ อา อิ อี อุ อู เอ โอ ๓. คัดเลือกคำศัพท์ คือคำพจนานุกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย มีรูปแบบกระบวนการรวบรวมคัดเลือกศัพท์ที่เกี่ยวกับชื่อบุคคล สัตว์ สถานที่ ชื่อสิ่งของเครื่องใช้ ศัพท์ธรรมะ และคำภาษาไทยที่มีความหมายเฉพาะ ชื่อพระสูตร ชื่อชาดก รวมถึงอปทาน คาถาและจริยาด้วย ๔. เขียนนิยามคำศัพท์ ได้ใช้เกณฑ์ ให้มีคำตั้งให้นิยามความหมาย และอธิบายเชื่อมโยง และอ้างอิงที่มา ใช้สำนวนภาษาที่กระทัดรัดและศัพท์ที่เข้าใจได้ยากให้วงเล็บคาภาษาบาลีไว้ คำศัพท์ที่ให้ความหมายอยู่ระดับเดียวกัน อาจจะแปลตามตัวหรือแปลโดยอรรถ หรือแปลโดย พยัญชนะ หรือแปลอธิบายความ ๕. อักษรย่อและเครื่องหมายที่ใช้ในพจนานุกรมพระไตรปิฎกภาษาไทยได้ใช้อักษรย่อคัมภีร์และเครื่องหมายมหาวิทยาลัยระบุไว้ ประกอบด้วยคาย่อชื่อคัมภีร์พระไตรปิฎก คัมภีร์ปกรณ์วิเสส อรรถกถา คัมภีร์ฎีกา อนุฎีกา และไวยากรณ์ ผลการวิจัย ในโครงการวิจัยปีที่ ๒ มีดังนี้ ๑. พจนานุกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ได้ค้นคว้ารวบรวมศัพท์ คัดเลือกศัพท์จากพระไตรปิฎกทั้งในวินัยปิฎก สุตตันตปิฎก และอภิธรรมปิฎก โดยเปิดแต่ละหน้าและค้นหาศัพท์ที่เห็นสมควรและทาบัญชีศัพท์ไว้ และการเขียนนิยามศัพท์ ในอักษรทั้ง ๓ หมวด คือหมวดวรรค จ วรรค ฏ และ วรรค ต หมวดอักษรวรรค จ อักษร จ จำนวน ๖๗๗ ศัพท์ อักษร ฉ จำนวน ๗๘ ศัพท์ อักษร ช จำนวน ๓๘๖ ศัพท์ อักษร ฌ จำนวน ๓๔ ศัพท์ อักษร ญ จำนวน ๖๕ รวมจำนวนศัพท์ ๑,๒๔๐ ศัพท์ หมวดอักษรวรรค ฏ อักษร ฏ จำนวน มี ๑ ศัพท์ อักษร ฐ จำนวน ๒๙ ศัพท์ อักษร ฑ ไม่มีศัพท์ อักษร ฒ จำนวน ๑ ศัพท์ อักษร ณ จำนวน ๑ ศัพท์ รวมจกนวนศัพท์ ๓๒ ศัพท์ หมวดอักษรวรรค ต อักษร ด,ต จำนวน ๘๑๒ ศัพท์ อักษร ถ จำนวน ๗๒ ศัพท์ อักษร ท จำนวน ๘๑๙ ศัพท์ อักษร ธ จำนวน ๔๓๓ ศัพท์ อักษร น จำนวน ๘๑๒ ศัพท์ รวมจำนวนศัพท์ ๒,๙๔๘ ศัพท์ รวมจำนวนศัพท์ทั้ง ๓ วรรคเป็นจำนวนทั้งสิ้น ๔,๒๒๐ ศัพท์ ศัพท์เหล่านี้เป็นศัพท์ เกี่ยวกับชื่อบุคคล สัตว์ สถานที่ ชื่อสิ่งของเครื่องใช้ ศัพท์ธรรมะ และคำภาษาไทยที่มีความหมาย เฉพาะ ชื่อสูตร ชื่อชาดก รวมถึงอปทาน คาถา และจริยาด้วยและคาศัพท์ที่ปรากฏในพระสูตรมี ปรากฏจำนวนมาก ในพระวินัยจำนวนปานกลาง และพระอภิธรรมซึ่งเกี่ยวกับ ปรมัตถธรรม ๔ คือ จิต เจตสิก รูป และนิพพาน และปัจจัย ๒๔ มีจำนวนน้อย และศัพท์ที่ความหมายเดียว มีเป็นจำนวนมาก ศัพท์ที่มีหลายความหมาย มีจำนวนเพียงเล็กน้อย ลดหลั่นลงตามลาดับ ๒. วิธีการใช้พจนานุกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราช วิทยาลัย มีศัพท์ที่เกื้อกูลให้คึกษาค้นคว้าคาสอนทางพระศาสนาได้รอบด้าน เพราะมีคำศัพท์มากมาย เฉพาะหมวดอักษรวรรค จ วรรค ฎ และวรรค ต มีจำนวนศัพท์ถึง ๔,๒๒๐ ศัพท์ คงอานวยให้เกิด ความเกื้อกูลต่องานวิชาการ มุ่งหมายให้ผู้ที่จะศึกษาเรียนรู้คาสอนทางพระพุทธศาสนา มีโอกาสได้ ศึกษาเรียนรู้คำศัพท์ทางพระพุทธศาสนาทั้งเป็นศัพท์ธรรมะ คำศัพท์ภาษาไทยที่มีความหมายเฉพาะ ศัพท์ที่เป็นอสาธารณนาม ที่เป็นชื่อบุคคล สถานที่ สิ่งของเครื่องใช้ ศัพท์ชื่อชาดก ศัพท์ชื่อพระสูตร รวมถึงวิมาน คาถา อปทาน และจริยา คณะผู้วิจัยได้แบ่งกลุ่มศัพท์เป็น ๓ กลุ่ม คือ (๑) ศัพท์ที่มีความหมายเดียว (๒) ศัพท์ที่มี ๒ ความหมาย (๓) ศัพท์ที่มี ๓ ความหมายขึ้นไป แต่ละกลุ่มจะมีหัวข้อย่อย ๖ หัวข้อ คือ (๑) ศัพท์ที่เป็น ชื่อบุคคล สัตว์ สถานที่ (๒) ศัพท์ที่เป็นชื่อสิ่งของเครื่องใช้ (๓) ศัพท์ธรรมะ (๔) ศัพท์ภาษาไทยที่มี ความหมายเฉพาะ (๕) ศัพท์เป็นชื่อชาดก (๖) ศัพท์ที่เป็นชื่อพระสูตร รวมถึง วิมาน คาถา อปทาน และจริยา ทั้ง ๖ หัวข้อนี้เป็นแนวทางที่เป็นตัวอย่างสาหรับใช้เพื่อการศึกษาค้นคว้าคำศัพท์ทาง พระพุทธศาสนาได้อย่างถูกที่ถูกความหมาย สื่อความหมายได้ถูกต้อง อันจะช่วยแก้ปัญหาในการศึกษาค้นคว้าคำสอนทางพระพุทธศาสนาได้ระดับหนึ่ง เพราะศัพท์ในบทนิยามมีลักษณะเด่น ๓ อย่าง คือ (๑) ความหมาย (๒) อธิบายความหมาย ยกตัวอย่างประกอบ (๓) อ้างอิงในบทนิยามมีการเชื่อมโยงศัพท์นั้นศัพท์นี้ อธิบายความสัมพันธ์กัน นอกจากนี้ คณะผู้วิจัยได้จัดทาดรรชนีคาศัพท์พจนานุกรม พระไตรปิฎกภาษาไทย ตั้งแต่อักษรวรรค จ วรรค ฏ และ วรรค ต เริ่มตั้งแต่อักษร จ ฉ ช (ซ) ฌ ญ, ฏ ฐ ฑ ฒ ณ, (ด) ต ถ ท ธ น ตามลาดับไว้ในภาคผนวกอีกด้วย
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/436
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2557-081 พระศรีคัมภีรญาณ,รศ.ดร.pdf11.99 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.