Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/432
Title: สุขภาวะพระสงฆ์: การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างสุขภาวะตามแนววิถีพุทธโดย การบูรณาการสาธารณสุขชุมชนเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีในภาคเหนือตอนบน
Other Titles: Buddhist Monk’s Well-being: A Development of Well-being Promotion Model Based on Buddhist Way by Community Public Health Integration for Good Life Quality in Upper Northern Thailand
Authors: กิตฺติวณฺโณ, พระครูสังฆรักษ์บุญเสริม
ฟองคำ, พระศักดิธัช
ดำจุติ, กาญจนา
แก้วทันคำ, คุณญา
Keywords: สุขภาวะพระสงฆ์
การพัฒนารูปแบบ
การเสริมสร้างสุขภาวะตามแนววิถีพุทธ
การบูรณาการสาธารณสุขชุมชน
คุณภาพชีวิตที่ดี
Issue Date: 2561
Publisher: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: แผนงานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาปัญหาของการเสริมสร้างสุขภาวะของ พระสงฆ์ตามแนววิถีพุทธในการบูรณาการสาธารณสุขชุมชนเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีในภาคเหนือตอนบน ๒) เพื่อศึกษารูปแบบการเสริมสร้างสุขภาวะของพระสงฆ์ตามแนววิถีพุทธในการบูรณาการ สาธารณสุขชุมชนเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีในภาคเหนือตอนบน ๓) เพื่อพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างสุข ภาวะของพระสงฆ์ตามแนววิถีพุทธในการบูรณาการสาธารณสุขชุมชนเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีใน ภาคเหนือตอนบน และ ๔) เพื่อนาเสนอรูปแบบการเสริมสร้างสุขภาวะของพระสงฆ์ตามแนววิถีพุทธ ในการบูรณาการสาธารณสุขชุมชนเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีในภาคเหนือตอนบน เป็นการวิจัยแบบ ผสมผสาน (mixed methods research) ทั้งวิจัยในเชิงเอกสาร และการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยแบบ สัมภาษณ์เชิงลึก (In–depth Interviews) จากผู้ให้ข้อมูลสาคัญ (Key Informant) คือ เจ้าคณะ อาเภอ เจ้าคณะตาบล เจ้าอาวาส พระสงฆ์ และผู้เกี่ยวข้อง ของ ๔ วัด ใน ๓ จังหวัดของภาคเหนือ ตอนบน จานวน ๒๔ รูป/คน ได้แก่ จังหวัดลาปาง ๘ รูป/คน จังหวัดพะเยา ๘ รูป/คนและจังหวัด เชียงราย ๘ รูป/คน และการสนทนาเฉพาะกลุ่ม (Focus Group Discussion) จากผู้ให้ข้อมูลสาคัญ ได้แก่ผู้บริหารสาธารณสุข พระสงฆ์ เจ้าหน้าที่ของรัฐ จานวน ๕๒ รูป/คน โดยมีจังหวัดลาปาง ๑๖ รูป/คน พะเยา ๑๖ รูป/คน และเชียงราย ๒๐ รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการพรรณนาความ ผลการวิจัยพบว่า ๑. ปัญหาของการเสริมสร้างสุขภาวะของพระสงฆ์ตามแนววิถีพุทธในการบูรณาการ สาธารณสุขชุมชนเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีในเขตภาคเหนือตอนบนได้แก่จังหวัดลาปาง พะเยา และ เชียงรายนั้นมีปัญหาหลัก ๖ ประเด็น คือ ได้แก่ ๑) ปัญหาทางด้านโภชนาการ ๒)ปัญหาทางด้าน ร่างกาย ๓) ปัญหาทางด้านจิตใจ ๔) ปัญหาด้านความรับผิดชอบต่อสุขภาพของพระสงฆ์ ๕) ปัญหา ด้านการจัดสิ่งแวดล้อมและสุขอนามัยภายในวัด ๖) ปัญหาด้านการมีส่วนร่วมและสนับสนุนของภาคี ในการเสริมสร้างสุขภาวะของพระสงฆ์ ข ๒. การศึกษารูปแบบการเสริมสร้างสุขภาวะของพระสงฆ์ตามแนววิถีพุทธในการบูรณา การสาธารณสุขชุมชนเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีในภาคเหนือตอนบน ได้แก่จังหวัดลาปาง พะเยา และ เชียงรายนั้นมีรูปแบบการเสริมสร้างสุขภาพของพระสงฆ์ ๒ รูปแบบ คือ ๑) แบบใช้ยาสมุนไพร พื้นบ้าน และ ๒) แบบใช้ยาแผนปัจจุบัน ส่วนรูปแบบการดูแลสุขภาพของพระสงฆ์ตามแนววิถีพุทธกับ การบูรณาการกับระบบการสาธารณสุขได้ใช้หลักภาวนา ๔ และหลักไตรสิกขา ๓ มาบูรณาการกับ ระบบการสาธารณสุข โดยมี ๔ ประการ ได้แก่ ๑) การส่งเสริมสุขภาพ ๒) การป้องกัน ๓) การ รักษาพยาบาล ๔) การฟื้นฟู และยังใช้วิธีการ ๖ คือ (๑) ออกกาลังกาย (๒) อาหาร (๓) อารมณ์ (๔) อโรคยา (๕) อากาศ และ (๖) ออกจากอบายมุขซึ่งส่งผลให้พระสงฆ์มีสุขภาพดีขึ้น ๓. การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างสุขภาวะของพระสงฆ์ตามแนววิถีพุทธในการบูร ณาการสาธารณสุขชุมชนเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีในภาคเหนือตอนบน ได้แก่จังหวัดลาปาง พะเยา และเชียงรายนั้นได้มีการบูรณาการตามแนววิถีพุทธร่วมกับสาธารณสุขชุมชนเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี ของพระสงฆ์ คือหลักธรรมภาวนา ๔ และหลักไตรสิกขามาบูรณาการ และใช้กระบวนการบริหาร จัดการสุขภาพของพระสงฆ์แบบมีส่วนร่วมระหว่างคณะสงฆ์กับหน่วยงานต่าง ๆ กับหน่วยงานภาคี เครือข่ายทั้งภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สาธารณะสุขจังหวัด มาบูรณาการกับการดูแล สุขภาพตามระบบการสาธารณสุขส่งผลให้พระสงฆ์มีสุขภาพที่ดี ๔. การนาเสนอรูปแบบการเสริมสร้างสุขภาวะตามแนววิถีพุทธโดยการบูรณาการ สาธารณสุขชุมชนเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีในเขตภาคเหนือตอนบนได้แก่จังหวัดลาปาง พะเยา และ เชียงรายนั้นได้รูปแบบการเสริมสร้างสุขภาวะตามแนววิถีพุทธได้แก่ การนาเอาหลักภาวนา ๔ และ หลักไตรสิกขา ๓ ในการเสริมสร้างสุขภาพของพระสงฆ์ และการบูรณาการกับสาธารณสุขชุมชนโดย การใช้หลักการ ๔ อย่าง ใช้หลักวิธีการ ๖ อ. ซึ่งได้ผลสาเร็จในระดับหนึ่ง หากจะให้ประสบผลสาเร็จ มากยิ่งขึ้น ควรต้องมีการบูรณาการทั้งในรูปแบบของ วัด (พระสงฆ์) บ้าน (ประชาชนและผู้นาชุมชน) ราชการ การปฏิบัติตามประกาศธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๐ และภาคีเครือข่าย และเอกชนได้เข้ามามีส่วนร่วมการเสริมสร้างสุขภาพของพระสงฆ์ให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล ได้อย่างแท้จริง
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/432
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.