Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/431
Title: รูปแบบการดำเนินงานของเศรษฐกิจชุมชนตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงในภาคเหนือตอนบน
Other Titles: Practical Model of Community Economy according to Sufficiency Economy in the Northern Region
Authors: ใจเย็น, ภัทรพล
Keywords: รูปแบบการดำเนินงานของเศรษฐกิจชุมชน
หลักเศรษฐกิจพอเพียง
ภาคเหนือตอนบน
Issue Date: 2559
Publisher: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยมีชื่อว่า “รูปแบบการดำเนินงานของเศรษฐกิจชุมชนตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ในภาคเหนือตอนบน” การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ (๑) เพื่อศึกษารูปแบบการดำเนินงานของเศรษฐกิจชุมชนตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงในภาคเหนือตอนบน (๒) เพื่อศึกษาแนวทางของปราชญ์ในการดำเนินงานของเศรษฐกิจชุมชนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง(๓) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรครูปแบบการดำเนินงานของเศรษฐกิจชุมชนตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงในภาคเหนือตอนบน การดำเนินการวิจัยในครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงคุณภาพ(Qualitative Research) โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก(In Depth–Interview) จากผู้นำชุมชน ปราชญ์ชาวบ้าน ประชาชนในเขตภาคเหนือตอนบนและนำไปวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า จากการศึกษารูปแบบการดำเนินงานของเศรษฐกิจชุมชนตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงในภาคเหนือตอนบนโดยการสัมภาษณ์ จากผู้นำชุมชน ปราชญ์ชาวบ้าน ประชาชนในเขตภาคเหนือพบตามลำดับดังต่อไปนี้ ๑) รูปแบบการดำเนินงานของเศรษฐกิจชุมชนตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงในภาคเหนือตอนบน การสร้างงานสร้างอาชีพเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนให้ มีความยั่งยืนรวมทั้งจัดระบบ สวัสดิการให้กับทุกคนในชุมชน” โดยมีรูปการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนในการแก้ปัญหาความยากจน ประกอบด้วย 4 รูปแบบที่ 1. การลดราย 2. จ่ายเพิ่มรายได้ 3. การเสริมสร้างศักยภาพกลุ่มเศรษฐกิจชุมชน 4. การบริหารจัดการเศรษฐกิจชุมชน ๒. แนวทางของปราชญ์ในการดำเนินงานของเศรษฐกิจชุมชนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 1) ด้านบุคคล พบว่า กรรมการและสมาชิกกลุ่มต้องการศึกษาอบรมและดูงานด้านการ บริหารจัดการ เพื่อให้มีความรู้และทักษะในการประกอบอาชีพ 2) ด้านงบประมาณ พบว่า มีความต้องการเงินทุนหมุนเวียนสนับสนุนอย่างต่อเนื่องจาก หน่วยงานภาครัฐและเอกชนและต้องการให้มีการระดมทุนภายในกลุ่มเพื่อเป็นทุนสํารองและให้เกิดสภาพคล้องในการบริหารจัดการ 3) ด้านวัสดุ อุปกรณ์สถานที่พบว่า มีความต้องการวัสดุ อุปกรณ์ที่มีมาตรฐานและมีจํานวนเพียงพอ ต่อความต้องการของสมาชิกภายในกลุ่ม ให้ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 4) ด้านการบริหารจัดการพบว่า กรรมการและสมาชิกกลุ่มมีความต้องการอบรมการบริหารจัดการ ด้านการผลิต การตลาด การบรรจุ หีบห่อ และการออกแบบลวดลายผลิตภัณฑ์ 5) ด้านการมีส่วนร่วม พบว่า กรรมการและสมาชิกมีความ ต้องการอบรมพัฒนาการทํางานเป็นทีมและเทคนิคการทํางานต่างๆ เพื่อให้ผลงานมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ๓) ผลศึกษาปัญหาและอุปสรรครูปแบบการดำเนินงานของเศรษฐกิจชุมชนตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงในภาคเหนือตอนบน 1) ด้านบุคคล พบว่า สมาชิกกลุ่มบางคนไม่ให้ความร่วมมือในการผลิตและการดําเนินกิจกรรมของกลุ่มเนื่องจากสมาชิกยังไม่เห็นประโยชน์ของการรวมกลุ่ม 2) ด้านงบประมาณ พบว่า ขาดเงินทุนหมุนเวียน ซึ่งสาเหตุมาจากต้องซื้อวัตถุดิบจากภายนอก และต้องจ่ายค่าวัตถุดิบและแรงงานด้วยเงินสด 3) ด้านวัสดุ อุปกรณ์ สถานที่ พบว่า กลุ่มทอผ้าต้องนําวัตถุดิบเข้าจากภายนอกและมีราคาสูงไม่สามารถ ควบคุมคุณภาพวัตถุดิบได้ 4) ด้านการบริหารจัดการ การบริหารการเงินและบัญชี พบว่า สมาชิกส่วนใหญไม่ชอบสร้างนิสัยบริหารการเงินและทำบัญชีแสดงรายการรับรายจ่ายเพื่อเป็นข้อมูลสําหรับแสดงต้นทุนที่แท้จริง 5) ด้านการมีส่วนร่วม พบว่าคณะกรรมการแสมาชิกขาดการมีส่วนร่วมการทำงานเป็นทีมและเทคนิคในการทำงานร่วมกัน
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/431
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2559-070 ผศ.ดร.ภัทรพล ใจเย็น.pdf2.67 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.