Please use this identifier to cite or link to this item:
http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/430
Title: | การพัฒนาและการเสริมสร้างสุขภาวะของผู้สูงอายุ ในจังหวัดพะเยา |
Other Titles: | Knowledge and Social network Management of Health Elderly Organization in Phayao Province |
Authors: | สารบรรณ, สุเทพ |
Keywords: | การจัดการความรู้ เครือข่ายองค์กรสุขภาวะ ผู้สูงอายุในจังหวัดพะเยา |
Issue Date: | 2559 |
Publisher: | สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ ๑) เพื่อวิเคราะห์การจัดการความรู้และเครือข่ายองค์กรสุขภาวะของผู้สูงอายุในจังหวัดพะเยา ๒) เพื่อศึกษาการจัดการความรู้ในการเสริมสร้างสุขภาวะของผู้สูงอายุในจังหวัดพะเยา และ ๓) เพื่อเสริมสร้างเครือข่ายองค์กรด้านสุขภาวะของผู้สูงอายุใน จังหวัดพะเยา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการศึกษาเอกสารและมีการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่าง ๒๕ รูป/คน ที่เป็นตัวแทนหน่วยงานภาครัฐ ๓ คน สถานศึกษาระดับอุดมศึกษา ๖ รูป/คน หน่วยงานเทศบาล ๖ คน และชมรมผู้สูงอายุ ๑๐ คน ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มผู้สูงอายุในจังหวัดพะเยาในหลายชุมชนมีการรวมตัวกันในรูปขององค์กร เช่น เป็นชมรมหรือโรงเรียนผู้สูงอายุ โดยผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีความรู้ เช่น งานประดิษฐ์ งานฝีมือต่างๆ รวมถึงการดูแลรักษาสุขภาพที่ถูกต้อง มีการแสวงหาความรู้โดยการมีเชิญผู้ทรงคุณวุฒิมาเป็นวิทยากรให้ความรู้หรือไปศึกษาดูงานนอกสถานที่ มีการจัดระบบข้อมูลความรู้และ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งในชมรมและระหว่างชมรม การดำเนินงานดังกล่าวอาศัยเครือข่ายทั้งภายใน และภายนอก คือ เครือข่ายภายในได้แก่หน่วยงานต่างๆ ที่มีอยู่ในพื้นที่ เช่น เทศบาล วัด โรงเรียน และเครือข่ายภายนอกได้แก่หน่วยงานอื่นๆ ที่อยู่ภายนอกเขตพื้นที่ ส่วนการจัดการความรู้ในการเสริมสร้างสุขภาวะของผู้สูงอายุในจังหวัดพะเยา พบว่า มีการดำเนินการใน ๔ ด้าน คือ ๑) ด้านกายภาพ ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุออกกำลังกายอย่างถูกต้องและเหมาะสมกับวัย ๒) ด้านศีล ให้ผู้สูงอายุมีโอกาสไปทำบุญบำเพ็ญกุศลที่วัด ประพฤติตนเป็นแบบอย่างแก่ลูกหลาน ๓) ด้านจิต มีการไหว้ พระสวดมนต์เพื่อให้จิตสงบมีสมาธิ และ ๔) ด้านปัญญา ให้ความรู้ทั้งทางโลกและทางธรรมเพื่อให้รู้ทันโลกทันเหตุการณ์ปัจจุบัน ซึ่งการจัดการความรู้ทั้ง ๔ ด้านดังกล่าวอาศัยเครือข่ายภายในและเครือข่ายภายนอกมาช่วยจัดเวที จัดอบรม และให้ความรู้แก่ผู้สูงอายุ ดังนั้นจึงควรมีการเสริมสร้างเครือข่ายองค์กรด้านสุขภาวะของผู้สูงอายุในทุกด้าน เช่น ด้านวิทยากร สถานที่ งบประมาณ เพื่อให้การช่วยเหลือชมรมผู้สูงอายุอย่างเต็มศักยภาพ |
URI: | http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/430 |
Appears in Collections: | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2559-138 ผศ.ดร. สุเทพ สารบรรณ.pdf | 5.51 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.