Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/428
Title: การเสริมสร้างจิตสาธารณะเพื่อการอนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยวเชิงพุทธของวัด ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น
Other Titles: The Support of Public Mind to Preserve the Touring-Places of the Buddhist Temples in Muang Khonkaen District, Khonkaen Province
Authors: พระครู, ภาวนาโพธิคุณ
คมฺภีรปญฺโญ, วิมาน,
Keywords: การเสริมสร้าง
จิตสาธารณะ
แหล่งท่องเที่ยวเชิงพุทธ
Issue Date: 2560
Publisher: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยเรื่อง “การเสริมสร้างจิตสาธารณะเพื่อการอนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยวเชิงพุทธของวัดในเขตอาเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น” มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาหลักการเสริมสร้างจิตสาธารณะตามแนวทางพระพุทธศาสนา เพื่อศึกษาการเสริมสร้างจิตสาธารณะในการอนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยวเชิงพุทธของวัดในเขตอาเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น และเพื่อศึกษาวิเคราะห์ผลการเสริมสร้างจิตสาธารณะเชิงพุทธในการอนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยวเชิงพุทธของวัดในเขตอาเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ผลการวิจัยพบว่า จิตสาธารณะ เป็นจิตที่มีความตื่นรู้ มีเจตนารมณ์เป็นกุศล ตระหนักถึงคุณค่าของผู้อื่น จิตที่ไม่เห็นแก่ตัวและเสียสละเพื่อสาธารณประโยชน์ มีความเผื่อแผ่ แบ่งปัน มีนาใจ มีสานึกความรับผิดชอบ และคิดให้บริการผู้อื่นและสังคมด้วยความเสียสละ จิตที่มีเจตนารมณ์เพื่อประโยชน์สุขแก่สังคมและสิ่งแวดล้อม โดยการเสริมสร้างจิตสาธารณะมี ๒ หลักการใหญ่ๆ คือ พุทธนโยบายในการเผยแผ่ศาสนา เมื่อครั งที่พระพุทธเจ้าส่งพระสาวกออกเผยแผ่ศาสนา และหลักการเสริมสร้างจิตสาธารณะในโอวาทปาฏิโมกข์ เมื่อนาหลักการดังกล่าวมาใช้พบว่า สามารถจาแนกได้ตามแนวทางภาวนา ๔ ประกอบด้วย ๑) กายภาวนา ซึ่งเป็นการพัฒนากาย ในรูปของการปฏิบัติต่อร่างกาย การบริโภคปัจจัยการดารงชีพ การพัฒนาผัสสะ การใช้กายเพื่อพัฒนาคุณธรรม โดยส่วนร่างกายจะมีความเกื อกูลต่อจิตใจ ๒) สีลภาวนา ซึ่งเป็นพัฒนาทางด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม เพราะการปฏิบัติศีลจะทาให้พัฒนาความประพฤติ ระเบียบวินัย กฎเกณฑ์ทางสังคม การอยู่ร่วมกันอย่างเกื อกูล การไม่เบียดเบียนและไม่ก่อความเดือดร้อนแก่ผู้อื่น ๓) จิตตภาวนา ซึ่งเป็นการพัฒนาทางด้านจิตใจและอารมณ์ โดยการฝึกสติและสมาธิ ทาให้มีความรู้สึกตัว ไม่ประมาท มีความระมัดระวังในการดาเนินชีวิต รู้เท่าทันปัญหาชีวิตและแนวทางป้องกันภัยคุกคาม เสริมสร้างคุณธรรม สามารถควบคุมจิตใจและอารมณ์ได้ดี ทาให้จิตมีคุณภาพ มีประสิทธิภาพ และมีสุขภาวะทางจิต ๔) ปัญญาภาวนา เป็นการพัฒนาสติปัญญาทั งทางโลกและทางธรรม ผ่านกระบวนการทางสุตมยปัญญา จินตามยปัญญา และภาวนามยปัญญา เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะทางด้านปัญญา โดยภาวนา ๔ เป็นกระบวนการหล่อหลอมทางกายภาพและจิตใจให้มีคุณลักษณะสาธารณะ ซึ่งมีความสัมพันธ์กันทุกด้าน เมื่อจิตมีคุณลักษณะสาธารณะแล้วจึงเหมาะแก่การนาไปใช้ในการอนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยว การเสริมสร้างจิตสาธารณะเพื่อการอนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยวเชิงพุทธของวัดในเขตอาเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ในพื นที่วิจัยทั ง ๔ แห่ง พบว่ามี ๗ แนวทาง คือ ๑) การจัดทาแผนการท่องเที่ยว ๒) การคัดเลือกอาสาสมัครและจัดตั งกลุ่มจิตสาธารณะเพื่อการอนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยว ๓) การจัดอบรมเพื่อเสริมสร้างจิตสาธารณะ ๓ ส่วน คือ (๑) การพัฒนาคุณธรรมและอารมณ์ คือ อบรมทั งในรูปของการฝึกหัดสมถะและวิปัสสนากัมมัฏฐาน เพื่อการอบรมพัฒนาคุณธรรมให้จิตมีความสงบ มีเมตตา กรุณา เสียสละ ความเอื อเฟื้อเผื่อแผ่ ความอดทน ความซื่อสัตย์ การลดละความถือตัว มีไมตรีจิต มีทัศนคติที่เป็นบวกต่อสังคม (๒) การพัฒนาศีลธรรม เพื่อให้มีพฤติกรรมสุจริต ไม่ก่อความเดือดร้อนแก่สังคมและสิ่งแวดล้อม มีพฤติกรรมเรียบร้อยดีงาม มีมารยาททางสังคม และอุทิศตนช่วยเหลือเกื อกูลผู้อื่น (๓) การเสริมสร้างองค์ความรู้ คือ เสริมสร้างองค์ความรู้ทางธรรม การให้ความรู้และความภาคภูมิใจในแหล่งท่องเที่ยว รวมทั งการเสริมทักษะและความรู้ในการอนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยว ๔) การมอบภารกิจให้กลุ่มจิตสาธารณะเพื่อการอนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยว ๖ ส่วน คือ การจัดทาฐานข้อมูลในแหล่งท่องเที่ยว การป้องกัน การดูแลรักษา การบริการ การอนุรักษ์ และการเผยแพร่แหล่งท่องเที่ยว ๕) การศึกษาดูงาน ๖) การเข้าร่วมประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับแหล่งท่องเที่ยวในพื นที่วิจัยทั ง ๔ แห่ง ๗) นาองค์ความรู้มาปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะสมกับบริบทของแหล่งท่องเที่ยวในแต่ละแห่ง การวิเคราะห์ผลการเสริมสร้างจิตสาธารณะในการอนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยวเชิงพุทธของวัดในเขตอาเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น จาแนกออกเป็น ๔ ส่วน ได้แก่ ๑) ผลทางด้านกายภาพ คือ ทาให้มีบุคลิกภาพอันพึงประสงค์ มีพฤติกรรมสงบเรียบร้อย มีมารยาทดีงามต่อนักท่องเที่ยว เป็นกัลยาณมิตร มีทักษะในการใช้ศักยภาพทางด้านร่างกายเพื่ออนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยวได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทาให้แหล่งท่องเที่ยวมีความสะอาด เป็นระเบียบเรียบร้อย มีความสวยงาม มีความปลอดภัย และยั่งยืน ๒) ผลทางด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม คือ กลุ่มจิตสาธารณะมีความสามัคคี มีการช่วยเหลือเกื อกูลกัน ไม่เอารัดเอาเปรียบกัน มีมารยาทดี มีสัมพันธภาพกับบุคคลรอบข้างและเป็นมิตรกับนักท่องเที่ยว มีระเบียบวินัย เคารพกฎเกณฑ์ทางสังคม ไม่เบียดเบียนผู้อื่น รู้จักแบ่งปัน มีไมตรีจิตต่อนักท่องเที่ยว มีความเกื อกูลต่อสิ่งแวดล้อม มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยว เป็นสมาชิกทางสังคมที่ดีและอาสาสมัครช่วยงานสังคม ๓) ผลทางด้านจิตใจและอารมณ์ คือ ทาให้ตระหนักถึงความสาคัญและคุณค่าของแหล่งท่องเที่ยวภายในวัด มีความสนใจและใส่ใจแหล่งท่องเที่ยว มีความตระหนักรู้และตอบสนองต่อแหล่งท่องเที่ยวในทางสร้างสรรค์ มีอัธยาศัยสาธารณะ มีความซาบซึ งในแหล่งท่องเที่ยว มีความรู้สึกสานึกสาธารณะ มีคุณธรรม มีจิตบริการ มีแรงผลักดันเชิงสร้างสรรค์ ทาให้มีเจตคติที่ดี และมีสุขภาวะทางจิต ๔) ผลทางด้านปัญญา ๕ ส่วน คือ (๑) ทาให้กลุ่มจิตสาธารณะมีความรู้เกี่ยวกับแหล่งท่องเที่ยว เข้าใจความเป็นมา ความหมาย ความสาคัญ และอธิบายความเกี่ยวกับแหล่งท่องเที่ยวได้ดี (๒) ทาให้มีทักษะในการคิดวิเคราะห์เกี่ยวกับบริบท สภาพ ปัญหา สาเหตุของปัญหา วิธีการแก้ปัญหา และวิธีการอนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยว (๓) มีความเข้าใจคุณค่าและการใช้ประโยชน์จากแหล่งท่องเที่ยว (๔) มีความเข้าใจแนวทางการปฏิบัติต่อแหล่งท่องเที่ยวอย่างเหมาะสม (๕) ทาให้มีทักษะในการประเมินค่า คือ สามารถจัดทารายงานการสารวจปัจจัยการท่องเที่ยว และการจัดทาสถิติการท่องเที่ยวภายในวัด การประเมินผลการท่องเที่ยว รวมทั งการวิเคราะห์ผลกระทบและแนวโน้มของแหล่งท่องเที่ยวในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/428
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2560-090 พระครูภาวนาโพธิคุณ.pdf14.05 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.