Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/425
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorกิตติคุณ, ด้วงสงค์-
dc.contributor.authorธีรวํโส, พระมหาวิศิต-
dc.contributor.authorสุภทฺโท, พระครูสุธรรมกิจโกศล-
dc.contributor.authorโชติธมฺโม, พระเรืองเดช-
dc.contributor.authorปิยสกุลเกียรติ, อรพิน-
dc.date.accessioned2022-03-18T08:00:27Z-
dc.date.available2022-03-18T08:00:27Z-
dc.date.issued2562-
dc.identifier.urihttp://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/425-
dc.description.abstractการศึกษาวิจัยเรื่อง “รูปแบบการจัดกิจกรรมเสริมสร้างสุขภาวะของผู้สูงอายุในจังหวัด สุรินทร์” เป็นการวิจัยแบบในเชิงคุณภาพ โดยการใช้แบบการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้สูงอายุจากโรงเรียนผู้ สูงวัย ๑ แห่ง ในจังหวัดสุรินทร์ ได้แก่ โรงเรียนผู้สูงวัยเทศบาลตำบลสนม อำเภอสนม จังหวัดสุรินทร์ แล้วนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ และสังเคราะห์ เพื่อหาข้อสรุปแล้วจึงนำเสนอรายงานผลการวิจัยแบบ บรรยายผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ เพื่อศึกษารูปแบบการจัดกิจกรรมเสริมสร้างสุข ภาวะของผู้สูงอายุในจังหวัดสุรินทร์และพัฒนาการจัดกิจกรรมเสริมสร้างสุขภาวะเชิงพุทธของผู้สูงอายุ และเสนอแนวทางในการส่งเสริมกิจกรรมการเสริมสร้างสุขภาวะของผู้สูงอายุ ผลการศึกษาพบว่า ๑)รูปแบบการจัดกิจกรรมเสริมสร้างสุขภาวะของผู้สูงอายุ ได้รูปแบบ 3 ด้าน คือ (1) รูปแบบด้านสุขภาพประกอบด้วยกิจกรรมออกกำลังกายด้วยการเต้นแอโรบิคเข้าจังหวะ กิจกรรม เสริมความรู้ทางสุขภาพโดยการอบรมความรู้เกี่ยวกับสุขภาพ (2) รูปแบบด้านสังคมประกอบด้วย กิจกรรม การใช้ชีวิตในวัยสูงอายุในการศึกษาดูงานที่ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ จังหวัดสุรินทร์ กิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงพุทธและโครงการจัดการเรียนรู้ตลอดชีพ จิตอาสาเพื่อชีวิต ในสังคมและ (3) รูปแบบด้านเศรษฐกิจ ประกอบด้วยกิจกรรมอบรมอาชีพการการทำดอกไม้ ประดิษฐ์จากกิ่งกระถินยักษ์ และการรวมกลุ่มอาชีพในการทอผ้าไหม การเลี้ยงปลา เลี้ยงกบ ๒)พัฒนาการจัดกิจกรรมเสริมสร้างสุขภาวะเชิงพุทธของผู้สูงอายุ ได้มีการนำหลัก ภาวนา 4 มาใช้ในการพัฒนาและเสริมสร้างสุขภาวะของผู้สูงอายุ ดังนี้ การพัฒนาสุขภาวะทางกาย (กายภาวนา) ใช้วิธีการสวดมนต์ เดินจงกรม นั่งสมาธิ วิปัสสนา การทานอาหารเจหรืออาหารมังสวิรัติ ในทุกวันพระ การพัฒนาสุขภาวะทางสังคม (ศีลภาวนา) โดยการรักษาศีล 5 ทุกวันและรักษาศีล 8 ทุกวันพระ การเข้าร่วมกิจกรรมจิตอาสาในชุมชน การพัฒนาสุขภาวะทางจิตและปัญญา (จิตภาวนา ข และปัญญาภาวนา) โดยการฟังเทศน์ ฟังธรรม เรียนธรรมะ เดินจงกรม นั่งสมาธิ วิปัสสนา เจริญสติ เป็นต้น ๓) เสนอแนวทางในการส่งเสริมกิจกรรมการเสริมสร้างสุขภาวะของผู้สูงอายุ พบว่า ส่วนใหญ่ผู้สูงอายุได้เข้าร่วมกิจกรรมเสริมสร้างสุขภาพทุกครั้ง (ร้อยละ ๙๐) กิจกรรมที่ชอบมากที่สุด คือ เศรษฐกิจสร้างรายได้ในการประกอบอาชีพรวมทั้งการรวมกลุ่มในการประกอบอาชีพต่างๆ (ร้อย ละ๙๐) เห็นว่ากิจกรรมที่คิดว่ามีประโยชน์มากที่สุดคือ กิจกรรมการให้ความรู้ทางสุขภาพการใช้ชีวิต ในวัยสูงอายุ ( ร้อยละ๙๐ ) เห็นว่าการเข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพได้รับประโยชน์มาก (ร้อยละ ๘๐) การนำความรู้ที่ได้ปฏิบัติที่บ้านปฏิบัติเป็นประจำ (ร้อยละ๙๕ ) เอกสารที่ได้รับแจกได้นำไปใช้ ประโยชน์ ผู้สูงอายุที่ร่วมกิจกรรมโดยผู้สูงอายุทุกคนต่างมีความเห็นไปในทิศทางเดียวกันคือทุกคน มีความพึงพอใจที่ได้เข้าร่วมกิจกรรมแต่ก่อนไม่มีกิจกรรมทำส่วนใหญ่จะอยู่บ้านดูทีวีไปไร่ ไปนา และ ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมกิจกรรมต่างเห็นพ้องต้องกันว่าพอใจที่ได้มารวมกลุ่มพูดคุยแลกเปลี่ยนข่าวสาร ข้อมูลเรื่องต่างๆพูดคุยเรื่องครอบครัวลูกหลานเรื่องสุขภาพซึ่งทำให้ทุกคนต่างเพลิดเพลินไม่เหงาไม่ ต้องอยู่บ้านตามลำพัง ได้ออกจากบ้านมารวมกลุ่มได้ทำกิจกรรม ได้ร้องเพลงร่วมกัน และได้ทำสิ่ง แปลกๆที่ไม่เคยทำเป็นต้น และจะเห็นได้ว่า ผู้สูงอายุได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาสุขภาวะทาง สุขภาพทางกายและการมีรายได้เพิ่มขึ้นในระดับที่สูงตามมาด้วยทางสังคม โดยผู้สูงอายุเชื่อว่าถ้ามี สุขภาพที่ดีและมีรายได้ในการดำรงชีพพร้อมด้วยการปฏิบัติตามแนวทางพระพุทธศาสนาแล้วก็จะทำ ให้ดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างเป็นสุขได้en_US
dc.publisherสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยen_US
dc.subjectรูปแบบen_US
dc.subjectกิจกรรมเสริมสร้างสุขภาวะen_US
dc.subjectผู้สูงอายุen_US
dc.subjectจังหวัดสุรินทร์en_US
dc.titleรูปแบบการจัดกิจกรรมเสริมสร้างสุขภาวะของผู้สูงอายุในจังหวัดสุรินทร์en_US
dc.title.alternativeModel of activities to enhance the health of the elderly in Surin provinceen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2562-104นายกิตติคุณ ด้วงสงค์.pdf5.83 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.