Please use this identifier to cite or link to this item:
http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/422
Title: | กลยุทธ์การขับเคลื่อนโครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕ จังหวัดนครราชสีมา |
Other Titles: | The Tactcs Actuation of The five precepts village in Nakhon Ratchasima |
Authors: | พระครูวิริยธรรมานุศาสก์ |
Keywords: | กลยุทธ์ การขับเคลื่อนโครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕ |
Issue Date: | 2559 |
Publisher: | สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) เพื่อศึกษากระบวนการดำเนินงานโครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕ จังหวัดนครราชสีมา ๒) เพื่อศึกษาวิเคราะห์และถอดบทเรียนโครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕ จังหวัดนครราชสีมา ๓) เพื่อนำเสนอกลยุทธ์การขับเคลื่อนโครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕ จังหวัดนครราชสีมา ใช้วิธีวิจัยแบบผสานวิธี เป็นการเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่าง คือ ข้าราชการ และประชาชน ผู้สมัครเข้าร่วมโครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕ ในจังหวัดนครราชสีมา จำนวน ๔๐๐ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้คือ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ๑. กระบวนการดำเนินงานโครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕ จังหวัดนครราชสีมา กลไกการขับเคลื่อนโครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕ การดำเนินโครงการให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาหมู่บ้านรักษาศีล ๕ เป็นกลไกหลัก ให้เกิดแนวร่วมโครงการขับเคลื่อนหมู่บ้านรักษาศีล ๕ มีการวางแผนยุทธศาสตร์ให้เกิดการขับเคลื่อนหมู่บ้านรักษาศีล ๕ นำไปสู่การติดตามและประเมินผล เป็นการประสานความร่วมมือ ความสัมพันธ์ การดำเนินกิจกรรมร่วมกันของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีหลักการทำงานร่วมกันของเครือข่ายภายใต้กระบวนการมีส่วนร่วม ๑) หลักการมีส่วนร่วมในทุกภาคส่วนในการพัฒนาหมู่บ้านรักษาศีล ๕ ๒) หลักการจัดกิจกรรมส่งเสริมการรักษาศีล ๕ ๓) หลักการการติดตามและประเมินผลหมู่บ้านรักษาศีล ๒. วิเคราะห์และถอดบทเรียนโครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕ จังหวัดนครราชสีมา เครือข่ายคณะสงฆ์ เป็นกลไกกระบวนประสานความมือ เชื่อมโยง ร่วมใจของคณะสงฆ์จังหวัดนครราชสีมาทุกระดับ โดยยึดหลักการ องค์ประกอบ อำนาจหน้าที่ ในการทำงานตามระเบียบมหาเถรสมาคมว่าด้วยการดำเนินงานโครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕ ดังนี้ ๑) ช่วยอำนวยการ ประสานงาน กำหนดยุทธศาสตร์ แผนงาน เร่งรัดติดตามประเมินผลและรายงานผลการดำเนินงานโครงการ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ ๒) ร่วมแต่งตั้งคณะอนุกรรมการฝ่ายต่างๆ ตามที่เห็นสมควร เพื่อให้การปฏิบัติงานบรรลุ วัตถุประสงค์และเป้าหมาย ๓) ส่งเสริม สนับสนุน ให้คำปรึกษา และแนะนำ เกี่ยวกับการดำเนินงานโครงการแก่คณะกรรมการระดับอำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน ๔) ส่งเสริม สนับสนุน ให้มีการจัดกิจกรรมรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ สร้างกระแสให้ประชาชนได้เข้าใจ รวมถึงเห็นความสำคัญและประโยชน์ในการรักษาศีล ๕ พร้อมทั้งสมัครเข้าร่วมโครงการให้ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย ๕) กำหนดแนวทาง วิธีการให้ส่วนราชการต่างรัฐวิสาหกิจและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เข้ามามีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนโครงการ ๓. นำเสนอกลยุทธ์การขับเคลื่อนโครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕ จังหวัดนครราชสีมา กลยุทธ์ที่ ๑ ขยายเครือข่ายให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ โดยวิธีการ บูรณาการแผนงานของคณะสงฆ์และแผนยุทธศาสตร์จังหวัด ให้เกิดการจัดกิจกรรมพัฒนาหมู่บ้านรักษาศีล ๕ กลยุทธ์ที่ ๒ การบูรณาการแผนงานของคณะสงฆ์กับกิจกรรมชุมชนภายใต้แผนยุทธศาสตร์จังหวัด ให้เกิดการพัฒนาหมู่บ้านรักษาศีล ๕ กลยุทธ์ที่ ๓ สร้างการมีส่วนร่วมเชิงตระหนักกิจกรรมพัฒนาหมู่บ้านรักษาศีล ๕ และกิจกรรมการพัฒนาหมู่บ้านสามารถสร้างและกระตุ้นจิตสำนึกให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมตระหนักถึงคุณค่าที่เกิดจากการทำกิจกรรมร่วมกัน |
URI: | http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/422 |
Appears in Collections: | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2559-217 พระครูวิริยธรรมานุศาสตร์, ดร..pdf | 2.79 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.