Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/421
Title: การบูรณาการหลักพุทธธรรมในการแก้ปัญหาความยากจน ของพระสงฆ์ในจังหวดั อุดรธานี : ศึกษาเฉพาะกรณีพระเทพรัตนมุนี
Other Titles: The integration of Buddha Dharma to promote solutions to poverty Of priest (Sankha) in Udonthani : A Case Study Phrateprattanamuni
Authors: วิสารโร, พระราเชนทร์,
วรเมธี, พระมหานรากร
Keywords: การบูรณาการหลักพุทธธรรม
การแก้ปัญหาความยากจน
พระสงฆ์ในจังหวัดอุดรธานี
Issue Date: 2556
Publisher: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: การวิจัย เรื่อง การบูรณาการหลักพุทธธรรมในการแก้ปัญหาความยากจนของ พระสงฆ์ในจังหวัดอุดรธานี: ศึกษาเฉพาะกรณีพระเทพรัตนมุนี มีวัตถุประสงค์การวิจัย ดังนี้ คือ เพื่อ ศึกษาแนวคิดตามหลักพุทธธรรมสำหรับการแก้ไขปัญหาความยากจน และเพื่อศึกษาการบูรณาการ หลักพุทธธรรมในการแก้ปัญหาความยากจน โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาสภาพปัญหาความยากจน และการใช้หลักพุทธธรรมสำหรับบูรณาการแก้ปัญหาความยากจน เพื่อยกระดับ คุณภาพชีวิตและ ฐานะทางเศรษฐกิจให้สูงขึ้น เพื่อบรรเทาปัญหาความยากจนให้น้อยลงและหมดไป เป็นการศึกษาเชิง คุณภาพ โดยค้นคว้าจากพระไตรปิฎกเป็นเอกสารหลัก พร้อมทั้งศึกษาทฤษฎีปัญหาความจากตำรา วิชาการและเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องลงพื้นที่สัมภาษณ์และสังเกตการณ์ วิธีการศึกษา ผู้ศึกษาใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Approach) โดยทำการ สัมภาษณ์ความคิดเห็นและทัศนคติของพระสงฆ์และบุคลากรภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหา ความยากจนนอกจากนี้ยังทำการสัมภาษณ์ความพึงพอใจของประชาชนผู้รับบริการด้านการแก้ไข ปัญหาความยากจนจากจังหวัดอุดรธานี ผลการวิจัยพบว่า ปัญหาความความยากจน ความลำบาก อัตคัดขัดสน ขาดแคลน ปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิต ยังมีอยู่ในชุมชนจังหวัดอุดรธานี ชุมชนส่วนมากยังอาศัยการพึ่งพา ตนเองด้วยเกษตรกรรมและรับจ้าง พระสงฆ์ที่มีบทบาทในฐานะนักปราชญ์ชาวบ้านได้บูรณาการพุทธธรรมที่หลากหลายมา ปรับใช้ร่วมกันกับการทำเกษตรกรรมแนวพุทธในรูปแบบต่าง ๆ ส่งผลให้ชุมชนปฏิบัติตามและประสบ ผลสำเร็จในการแก้ไขปัญหาความยากจน คือ สร้างรายได้ ลดรายจ่าย สุขภาพกายและสุขภาพจิตดี เสริมสร้างความรักสามัคคีของชุมชน ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และสร้างบทบาทปราชญ์สงฆ์ผู้นำ ชุมชนเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน จากการศึกษาแนวคิดการบูรณาการพุทธธรรมกับเกษตรแนวพุทธแก้จนของพระเทพ รัตนมุนีในฐานะพระสงฆ์ผู้นำชุมชน พบว่า มีการบูรณาการหลักพุทธธรรม คือ นิยาม ๕ ปฏิจจสมุป บาท พุทธมนต์ และ อิทธิบาท ๔ ในการบูรณาการครบวงจรตั้งแต่เร่มิ จนจบ ผู้วิจัยเสนอแนวทางแก้ปัญหาและอุปสรรคดังกล่าว โดยการจัดตั้งองค์กรขึ้นมา รับผิดชอบทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน โดยเฉพาะทำหน้าที่เป็นองค์กรหลักในการแก้ไขปัญหาความยากจนและสนับสนุนการพัฒนาประเทศมีบุคลากรที่มีความรู้และทักษะการ ประจำบูรณาการพุทธธรรม
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/421
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2556-015 พระราเชนทร์ วิสารโร,ดร..pdf3.62 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.