Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/416
Title: การมีส่วนร่วมของพระสงฆ์ในการจัดการแหล่งโบราณคดีในสังกัดสานักศิลปากรที่ ๙
Other Titles: A Participation of Buddhist Monk in Archaeological Site Management in The 9th Regional Office of Fine Arts
Authors: พระ, โสภณพัฒนบัณฑิต
วรเมธีศรีสกุล, อุทัย
ฮาดภักดี, สวาท
กัปโก, ธีร์ดนัย
Keywords: การมีส่วนร่วมของพระสงฆ์
การจัดการแหล่งโบราณคดี
สำนักศิลปากรที่ ๙
Issue Date: 2558
Publisher: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ ๑.เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของพระสงฆ์ในการจัดการ แหล่งโบราณคดีในสังกัดหน่วยงานศิลปากรที่ ๙ อันประกอบด้วยจังหวัดขอนแก่น มหาสารคาม อุดรธานี หนองบัวลำภู หนองคาย และบึงกาฬ ๒. เพื่อศึกษาบริบทการมีส่วนร่วมของพระสงฆ์ใน การจัดการแหล่งโบราณคดีในพื้นที่สำนักศิลปากรที่ ๙ ๓. เพื่อหาแนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วม ของพระสงฆ์ในการจัดการแหล่งโบราณคดีในพื้นที่สำนักศิลปากรที่ ๙ โดยเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ จากพระภิกษุและประชาชนที่อยู่ในเขตพื้นที่แหล่งโบราณสถาน จำนวน ๓๘๕ รูป/คน กลุ่มเป้ าหมายผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน ๓๐ รูป/คน ในการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์และ การประชุมกลุ่มย่อย โดยใช้การสรุปความ และการตีความ แล้วนำเสนอข้อมูลโดยการพรรณนา วิเคราะห์ ตามหลักอุปนัย ผลการวิจัยพบว่า 1.วิเคราะห์ผลการมีส่วนร่วมของพระสงฆ์ในการจัดการแหล่งโบราณคดีในสังกัดสำนัก ศิลปากรที่ ๙ การมีส่วนร่วมของพระสงฆ์ในการจัดการแหล่งโบราณคดีในสังกัดสำนักศิลปากรที่ ๙ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( X = ๓.๖๗) และรายด้าน มีการปฏิบัติในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ย การปฏิบัติสูงสุดคือ การมีส่วนร่วมในผลประโยชน์ (Benefits) ( X = ๓.๘๔) รองลงมาคือ การมี ส่วนร่วมในการวางแผน (Planning) ( X = ๓.๖๗) ตามด้วย การมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน (Implementation) ( X = ๓.๖๕) ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยปฏิบัติต่ำสุดคือ การมีส่วนร่วมในการ ประเมินผล (Evaluation) ( X = ๓.๕๓) 2. พระสงฆ์ต้องมีความเป็นภาวะผู้นำ มีวิสัยทัศน์ในการบริหารจัดการ มีการประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ เพื่อให้เกิดความคุ้นเคยและมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ทั้งนี้ พระสงฆ์ต้องมีวิธีการในการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ เช่น การวางแผนในระบบและกลไกลในทุกมิติ การปฏิบัติตามแผน การประเมินผล และการแก้ไขและพัฒนาแผนนั้นๆ ให้ดีขึ้นต่อไป 3. พระสงฆ์ควรมีการวางแผนในบริบทของพื้นที่และทรัพยากรมนุษย์ในระยะสั้นและยาว ในการสืบสานแหล่งโบราณสถาน แผนระยะสั่นเป็นการวางแผนเตรียมการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วแผนระยะยาวเป็นการคาดคะเนในระยะยาว เช่น 2 ปี 5 ปี 10 ปี เพื่อจะช่วยให้ใช้ทรัพยากรมนุษย์ให้เกิดประสิทธิภาพ หาคนมาใช้ได้ตรงกับวัตถุประสงค์ของแหล่งโบราณสถาน พระสงฆ์ต้องมีการวางแผนด้วยวิธีการตั้งคำถาม ทำไมต้องมีการวางแผนในบริบทของงานนี้ เมื่อไหร่จึงจะสามารถปฏิบัติตามแผนนั้นได้ แผนในแต่ละแผนควรจัดวางในลักษณะเช่นใด อะไรที่มีความจำเป็นในการจัดทำแผนนั้น ใครคือผู้จะดำเนินตามแผนนั้นในแต่ละด้าน แผนนั้นควรมีวิธีการในการดำเนินการอย่างไร ลงมือปฏิบัติตามแผนตามรูปแบบของ PDCA คือ P (Plan) การวางแผน D (Do) การปฏิบัติตามแผน C (Check) การตรวจสอบประเมินผล A (Action) การปรับปรุง/การนำไปใช้ ดำเนินการปฏิบัติตามแผน ตรวจสอบข้อเท็จจริงด้านต่างๆตามบริบทของพื้นที่ โดยมีขั้นตอน คือ วิเคราะห์ปัญหา การกำหนดแผนการในการปฏิบัติงาน กำหนดเป้าหมายในการดำเนินงาน กำหนดวิธีการดำเนินงาน กำหนดค่าใช้จ่าย ปฏิบัติตามแผนอย่างเป็นระบบ การประเมินและปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง มีหลักธรรมาภิบาลเข้ามาเพื่อจัดสันผลประโยชน์ ที่เกิดขึ้น คือ หลักนิติธรรม หลักคุณธรรม หลักความโปร่งใส หลักความมีส่วนร่วม หลักความรับผิดชอบ หลักความคุ้มค่า ทั้งนี้ต้องมีการวิเคราะห์สถานการณ์ด้านต่างๆ เช่น จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้นในการบริหารจัดการด้านต่างๆ ด้วยวิธีการวิเคราะห์อย่างละเอียดและมีแบบแผน มีวิสัยทัศน์ภารกิจในการพัฒนาที่เป็นจุดแข็ง และโอกาสให้ดียิ่งขึ้น ต้องมีวิธีการรับมือการรับภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้นร่วมทั้งจุดอ่อนในบริบทของพื้นที่ ดำเนินการตามกระบวนการแผนที่กำหนดไว้และพัฒนาแผนอย่างเป็นระบบ
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/416
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2558-004พระโสภณพัฒนบัณฑิต,รศ.ดร..pdf2.98 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.