Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/415
Title: พระนักศึกษาข้ามพรมแดนรัฐชาติจากอาเซียนและอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงในประเทศไทย: วิถีชีวิตและเครือข่ายความสัมพันธ์ทางสังคมข้ามชาติ
Other Titles: The Cross-Border of Student Monks from ASEAN and the Greater Mekong Sub-region in Thailand: Way of Life and Transnational Social Relation Network
Authors: พระครู, สารกิจโกศล
พระครูธรรมธร, ศิริวัฒน์ สิริวฑฺฒโน
ชินนาค, สมหมาย
เขจรศาสตร์, เรืองเดช
ซาเสน, สุมิตรชา
Keywords: พระนิสิตข้ามแดน,
อนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง,
, วิถีชีวิต,
การปรับตัว,
เครือข่ายความสัมพันธ์ทางสังคมข้ามชาติ
Issue Date: 2558
Publisher: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: านวิจัยชิ้นนี้ มุ่งที่จะศึกษาวิถีชีวิต ภูมิหลัง การปรับตัวและกระบวนการสร้างเครือข่ายทางสังคมข้ามพรมแดนของพระนิสิตจากประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียนและในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงที่กำลังศึกษาในมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย โดยเลือกศึกษากลุ่มพระนิสิตข้ามแดนที่ศึกษาอยู่ทั้งในส่วนกลางและวิทยาเขตต่างๆ ผลการศึกษาพบว่า พระนิสิตจากประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียนและในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง เริ่มเข้ามาศึกษาในประเทศไทย อย่างเด่นชัดเมื่อปลายทศวรรษ ๒๕๔๐ โดยมีเงื่อนไขทั้งที่เป็น ปัจจัยผลักดัน ได้แก่ (๑) สภาพทางด้านเศรษฐกิจของครอบครัว (๒) การที่ประเทศต้นทางให้โอกาสพัฒนาตนเองน้อย (๓) ปัจจัยทางด้านการเมือง และปัจจัยดึงดูด ได้แก่ (๑) ปัจจัยด้านภูมิศาสตร์ (๒) ปัจจัยด้านสังคมวัฒนธรรม และ (๓) ปัจจัยด้านอัตลักษณ์ของสถาบัน ด้านการปรับตัวนั้น จะมีทั้งการปรับตัวทางด้านสังคม และการปรับตัวทางวัฒนธรรมโดยเฉพาะการปรับตัวด้านภาษา นอกจากนี้ ในฐานะของ “คนต่างด้าว” พวกเขาก็ย่อมเผชิญกับปัญหาและอุปสรรคบางประการในการดำเนินชีวิต ฉะนั้น พวกเขาจึงมีการสร้างเครือข่ายความสัมพันธ์ทางสังคมเพื่อปรับเปลี่ยนตำแหน่งแห่งที่ทางสังคมของตน อย่างน้อย 3 รูปแบบ คือการสร้างเครือข่ายความสัมพันธ์ทางสังคมกับชุมชนบ้านเกิด การสร้างเครือข่ายความสัมพันธ์ทางสังคมระดับบุคล และการสร้างเครือข่ายความสัมพันธ์ทางสังคมในรูปของชมรม
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/415
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2558-025พระครูสารกิจโกศล.pdf6.53 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.