Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/414
Title: ศึกษาวิเคราะห์หลักพุทธธรรมที่ปรากฏในคัมภีร์ปฐมสมโพธิกถาอักษรธรรมอีสาน
Other Titles: An Analysis Pathamsomphotticatha form Isan Alphabase Text
Authors: นามอ่อน, โสรัจ
ราชิวงศ์หอมสมบัติ, วรวัฒน์
หอมสมบัติ, พูลศักดิ์
อุดมโชคนามอ่อน, ไชยสิทธิ์
วุฑฺฒิธมฺโม, พระมหาจิตนเรศ
Keywords: ศึกษาวิเคราะห์หลักพุทธธรรม
คัมภีร์ปฐมสมโพธิกถา
อักษรธรรมอีสาน
Issue Date: 2558
Publisher: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษาวิเคราะห์หลักพุทธธรรมที่ปรากฏในคัมภีร์ปฐมสมโพธิกถาอักษรธรรมอีสาน มีวิธีการศึกษาเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) และใช้วิธีการวิเคราะห์เชิงพรรณนา (Descriptive analysis) ซึ่งเป็นการศึกษาอยู่ในกรอบของพุทธปรัชญาธรรมศาสนา (Philosophy of religion) และเป็นการศึกษาจากเอกสาร (Documentary Research) เป็นการศึกษาด้วยวิธีการศึกษาค้นคว้าทางเอกสารที่เป็นปฐมภูมิและเอกสารทุติยภูมิ ๑) เอกสารปฐมภูมิ (Primary Document) หนังสือผูก, หนังสือเจียง, หนังสือก้อม ใบลานอักษรธรรมอีสาน และหนังสือสมุดข่อย อักษรไทยสมัยอยุธยาที่เกี่ยวกับคัมภีร์ปฐมสมโพธิกถา ๒)เอกสารทุติยภูมิ (Secondary Document) เอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีผู้ค้นคว้าวิจัย ได้รวบรวมเรียบเรียงไว้ในที่ต่าง ๆ ในรูปแบบตำรา, หนังสือ, เอกสาร วิชาการเย็บเล่มและเอกสารอื่นใด ที่นำมาตีพิมพ์เผยแพร่ต่อสาธารณะชนซึ่งเป็นที่เชื่อถือได้ ผลการศึกษาพบว่า การวิเคราะห์คุณค่าของคัมภีร์ปฐมสมโพธิกถาอักษรธรรมอีสาน พบว่า คุณค่าด้านประวัติของพระพุทธเจ้า คุณค่าด้านหลังธรรม มี ด้านพุทะประวัติ ด้านหลักพุทธธรรม และด้านนำมาประยุกต์ใช้กับสังคมปัจจุบัน ซึ่งในด้านคุณค่าทางด้านวิถีชนชาวพุทธไทยอีสาน มีวัฒนธรรม กาสู่ขอ วัฒนธรรมการแต่งงาน ต้นเหตุแห่งศักยราชตระกูล และการจัดปริเฉท ปฐมสมโพธิกถา ฉบับหนังสือผูกใบลาน ภูมิปัญญาอีสาน มี ๓๑ ผูก ส่วนของปฐมสมโพธิกถาฉบับพระนิพนธ์ สมเด็จกรมพระปรมานิชิตชิโนรส นั้นมี ๒๙ ผูก หรือหลายๆสำนักก็ไกลเคียงกันไม่แตกต่างไปจากนี้เลย จะได้เห็นความแตกต่างระหว่างปฐมสมโพธิกถาฉบับพระนิพนธ์ สมเด็จกรมพระปรมานิชิตชิโนรส กับปฐมสมโพธิกถา ฉบับหนังสือผูกใบลาน ภูมิปัญญาอีสาน แตกต่างกันบ้าง เหมือนกันบ้าง สับหน้าสับหลังบ้าง เฉพาะหมายเลขปริจเฉทหรือบรรพ กับหมายเลขผูกหรือบท ระหว่างปฐมสมโพธิกถาทั้ง ๒ ฉบับนี้เท่านั้น ส่วนเค้าโครงเรื่องก็ดี สาระสำคัญก็ดี เนื้อหาก็ดี ละม้ายคล้ายคลึงบ้าง เหมือนกันบ้าง เป็นอันหนึ่งอันเดียวก็มี จึงเป็นอันวิเคราะห์ได้ว่า ปฐมสมโพธิกถาทั้ง ๒ ฉบับ มีโครงสร้างใหญ่เนื้อหาส่วนใหญ่คล้ายคลึงกัน ส่วนสาระสำคัญจริงๆ เหมือนกันแทบทั้งสิ้น คือเรื่อง พุทธประวัติ หรือประวัติเรื่องราวของพระพุทธเจ้าโดยตรง เริ่มตั้งแต่ พระยาอินทร์ พระพรหม ท้าวจตุโลกบาลที่ ๔ และ บรรษัทเทพยถาในหมื่นโลกจักรวาล ทูลอันเชิญจุติ เทพบุตรเวชสันดรหรือสันดุสิตเทวราช จากดุสิตสวรรค์เทวโลก อ้อนวอนให้จุติลงมาอุบัติเป็นพระสิทธัตถราชกุมารในมนุษย์โลกเป็น พระพุทธเจ้าโปรดสัตว์โลก และเทพยุดาทั้งมวลที่มีบุญญาธิการอันได้บำเพ็ญไว้แก่กล้าแล้ว ให้หลุดพ้นจากสรรพกิเลสอันมีราคา โทสะ และโมหะเป็นอกุศลมูล ผลการศึกษาพบว่าหลักพุทธธรรมที่ปรากฏในคัมภีร์ปฐมสมโพธิกถา ปรากฏว่ามี ประวัติความเป็นมาของคัมภีร์ปฐมสมโพธิกถา ประวัติคัมภีร์ปฐมสมโพธิกถามีที่มา ๓ กลุ่ม คือ ๑) กลุ่มเอกสารปฐมภูมิ (The first Documentary) หมายถึงคัมภีร์ปฐมสมโพธิกถา ที่จารึกลงบนใบลานด้วยอักษรถิ่นและภาษาถิ่น (Dialects) อักษรธรรมอีสาน (โตธรรม) อีสาน และภาษาถิ่น (คำพูดคนอีสาน เช่น คำไทยกลางว่า แข่งเรือ คำไทยอีสานว่า ส่วงเฮือ, วิ่งแข่งกัน แล่นเส็งกัน) เป็นคำเมืองเหนือ คำเมืองอีสาน, แข่งกลอง เส็งกลอง ๒) กลุ่มเอกสารทุติยภูมิ คือ คัมภีร์ปฐมสมโพธิกถา ที่แปลมาสู่ภาษาไทยกลางแล้ว จากอักษรธรรมอีสาน อักษรธรรมพายัพ อักษรขอมหวัดอักษรไทยน้อยของสาธารณรัฐประชาธิปไตยปชาชนลาว (สปป.ลาว) หรือภาษาอื่นได้ ๓) กลุ่มเอกสารตติยภูมิ คือ คัมภีร์ปฐมสมโพธิกถา ที่จดจารึกบนใบลาน แผ่นไม้ ผนังถ้ำ หน้าผา หลักเสาหิน แผ่นศิลาจารึก เป็นต้น ที่ยังคงรูปอยู่ในภาษานั้นๆ และที่ปริวรรตมาสู่ภาษาไทยกลาง ภาษาถิ่นนั้น ซึ่งฉบับพิสดาร ๒๙ ปริเฉท พระนิพนธ์สมเด็จกรมพระปรมานุชิตชิโนรส ปรากฏเรื่องดังนี้ เริ่มประวัติพระพุทธเจ้า อัญเชิญจุติเทพบุตรสันเวสสันดร เริ่มพุทธประวัติ สิริมหามายาสุบิลนิมิต ประสูติสิทธารัตถกุมาร และ แบ่งสระรีริกธาตุ การศึกษาในบทนี้จะบอก การนับหน้า หนังสือใบลาน หลักการนับหน้าหนังสือใบลาน การประสมสระ ๘ ตัวกับพยัญชนะ ๓๓ ตัว ใช้แทนตัวเลข ตัวเลขอักษรธรรมอีสาน การอ่านออกเสียงตัวเลข ดังนั้นจึงได้อรรถาธิบายคัมภีร์ปฐมสมโพธิฉบับอักษรธรรมอีสาน ๒๙ ประริเฉท และหลักพุทธธรรมสำคัญที่ปรากฏในคัมภีร์ปฐมสมโพธิกถ ปรากฏหลักพุทธธรรม มี เมตตา กรุณา เป็นธรรมะ ข้อที่ ๑,๒ ใน พรหมวิหารธรรม ๔ ข้อ คือ เมตตา กรุณา มุทิตา และอุเปกขา ซึ่งปรากฏในปฐมสมโพธิกถา ปริเฉทที่ ๑ วิวาหมงคลปริวรรต ปรากฎในฉบับพระนิพนธ์ สมเด็จกรมพระปรมานุชิตชิโนรส พิมพ์จำหน่ายที่ เลี่ยงเซียงจงเจริญ ถนนบำรุงเมือง แขวงสำราญราษฎร์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร พ.ศ.ไม่ปรากฏ หน้า ๕๕-๕๗ ข้อความ... เมื่อพระสิริมหามายาราชบุตรี ได้ทรงสดับข่าวสาสนพระสิริสุทโธทนราชกุมาร แม้ยังไม่ได้ทัศนาการก็เกิดพระกมลดำริเสน่หา เหตุบุพเพสันนิวาสเนื่องมาแต่อดีตกาล พระคันถรจนาจารย์ จึงกล่าวพระคาถาว่า ปุพเพว สนฺนิวาเสน เป็นอาทิ อรรถาธิบายความว่า ความเสน่หาบังเกิดด้วยอาศัยเหตุ ๒ ประการ คือบุพเพสันนิวาส กับทั้ง ปัจจุบันประโยชน์ มีครุวนาดุจดอกดวงอุบลชาติ อันอาศัยซึ่ง อุทกวารีเป็นที่ตั้ง จึงบังเกิดขึ้นใน ชลธี ซึ่งบารมี ๑๐ อุปบารมี ๑๐ ปรมัตถบารมี ๑๐ สิริเป็นสมตึงสบารมี ๓๐, บุรุษโยธาพระมหาสัตว์อีก ๗ จำพวก คือ ศรัทธาพล วิริยพล สติพล สมาธิพล ปัญญาพล และมีหลักธรรมที่ยกมาเป็นตัวอย่างในเรื่องดังที่กล่าวไว้ในเรื่องแล้ว ผลการศึกษาอันเป็นประโยชน์สูงสุดต่อการนำมาประยุกต์ใช้มีแนวทาง คือ ๑) ด้านนโยบาย การขยายเพิ่มโอกาสให้นักวิจัยรุ่นใหม่ๆมีโอกาสในการเสนอ ขอโครงการวิจัยเกี่ยวกับเรื่องพระคัมภีร์ในพระพุทธศาสนาให้กว้างขวางมากยิ่งขึ้น ๒) แนวทางที่นำมาประยุกต์ใช้ในสังคม การดำเนินชีวิตประจำวัน นำออกสู่สังคมทุกระดับทุกเพศวัย ตั้งแต่ระดับการศึกษาวัยก่อนเกณฑ์ เป็นแบบการ์ตูน ภาพระบายสีตามรอยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงนำนิทานชาดกเรื่อง พระชนก เป็นแบบฉบับที่ทรงคุณค่าทางด้านการศึกษา เผยแพร่ สูงสุด ๓) ด้านตำรับตำรา ทุกระดับชั้น และด้านบันเทิง ให้หลากหลาย เช่น จัดกิจกรรมเล่านิทาน เป็นครั้งคราว ทั้งภาษาถิ่นใช้สื่อสาร และภาษาอาเซียน อย่ามองข้ามนิทานอีสบเป็นสุดยอดการเผยแพร่ พูดได้เต็มปากว่า ทั่วโลกรู้จักนิทานอีสบ ๔) นิทานพื้นบ้าน นิทานตลกท้องถิ่นเมืองไทยมีทั่วทุกภาคเป็นภาษาถิ่น(Dialects) คำเมืองของถิ่นฟังแล้ว สนุกสนาน ลูกหลานชอบใจจำได้ดีมาก ทุกภาคเมืองไทยมีคำเมืองของตนๆ อีสานหมู่เฮา หม่วนซื่นโฮแซว ปักใต้บ้านเราอีสานหนังบักตื้อ ปักใต้หนังประโมไทย มีการละเล่นท้องถิ่นของใครของมัน จนเป็นยอดสื่อมวลชน
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/414
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2558-067 นายโสรัจ นามอ่อน.pdf4.39 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.