Please use this identifier to cite or link to this item:
http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/412
Title: | การจัดการชุมชนพื้นที่กลางน้้าเชิงกลยุทธ์กับการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย |
Other Titles: | The Management Strategy of Middle Area Watershed Community for Prevention and Resolution of Flood |
Authors: | พรหมกัลป์, อัครเดช พระราช, รัตนเวที พระครู, นิวิฐศีลขันธ์ พรมกัลป์, รัตติยา |
Keywords: | การจัดการ ชุมชนพื้นที่กลางน้้า ปัญหาอุทกภัย |
Issue Date: | 2559 |
Publisher: | สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยเรื่อง “การจัดการชุมชนพื้นที่กลางน้้าเชิงกลยุทธ์กับการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย” มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาสภาพการจัดการชุมชนกับการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย ๒) เพื่อวิเคราะห์รูปแบบการจัดการชุมชนกับการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย ๓) เพื่อสังเคราะห์แบบจ้าลอง เชิงกลยุทธ์ในการจัดการชุมชนเพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบประยุกต์ ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณที่ใช้การศึกษาวิจัยเชิงส้ารวจกับการวิจัยเชิงคุณภาพที่เก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่มเฉพาะ เพื่อให้เกิดความสมบูรณ์ก่อนที่จะน้าเสนองานวิจัยต่อสาธารณะ ผลการวิจัยพบว่า ๑. การจัดการชุมชนพื้นที่กลางน้้าในการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย ในภาพรวมพบว่า มีการก้ากับดูแลและการติดตามประเมินผลเป็นรูปธรรมที่สุด รองลงมาได้แก่การวางแผนหรือนโยบาย การแบ่งงานกันท้า การตัดสินใจและสั่งการ และการรวมตัวหรือการจัดโครงสร้างในชุมชน ตามล้าดับ ๒. รูปแบบการจัดการชุมชนกับการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัยนั้น ๑) ก่อนเกิดเหตุจะต้องหล่อหลอมประสบการณ์จากรุ่นสู่รุ่น สร้างเครือข่ายความเสียสละ มีจิตอาสา จิตสาธารณะ และพร้อมที่จะพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส ๒) ในขณะที่เกิดเหตุถือเป็นความรับผิดชอบร่วมกันคนในชุมชน มีการแบ่งงานกันท้า ร่วมแรงร่วมใจกัน เปิดกว้างและเคารพในความหลากหลายทางความคิด ๓) หลังเกิดเหตุจะต้องเร่งฟื้นฟูสภาพแวดล้อมชุมชนให้กลับมาดีดังเดิม โดยมีแผนงาน แผนปฏิบัติการ และเครือข่ายทั้งในระดับต้าบลและอ้าเภอ ๔) การป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัยเพื่อความยั่งยืนนั้นทุกคนจะต้องยอมรับและอยู่ร่วมกับปัญหาอุทกภัยอย่างปกติ มีการหล่อหลอมประสบการณ์จากรุ่นสู่รุ่น เช่น การสร้างบ้านบนแพ การเตรียมเครื่องมือจับสัตว์น้้า การสร้างบ้านที่ยกพื้นสูง การปลูกต้นไม้หรือกอไผ่เพื่อเป็นก้าแพงธรรมชาติและสร้างพื้นที่รองรับน้้าหรือแก้มลิง ๓. แบบจ้าลองเชิงกลยุทธ์ในการจัดการชุมชนกับการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย ๑) ก่อนเกิดอุทกภัยนั้นจะต้องขับเคลื่อนนโยบายให้สัมพันธ์และสอดคล้องกับวิถีแวดล้อมของชุมชน ลดระเบียบและขั้นตอน ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิตตามวิถีทางธรรมชาติบนพื้นฐานมีส่วนร่วม มีการจัดเตรียมอุปกรณ์ เครื่องมือ และทรัพยากรสนับสนุน ๒) ในขณะประสบอุทกภัยนั้นจะต้องจัดตั้งศูนย์บัญชาการหรือศูนย์อ้านวยการแก้ไขปัญหาฉุกเฉินชุมชน เร่งประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชนในพื้นที่ ช่วยเหลือกันในการจัดเตรียมความพร้อมเครื่องมืออุปกรณ์ ประสานงานกับทางองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ ขุดลอกล้าคลองและเพิ่มช่องทางในการระบายน้้า จัดสร้างศูนย์พักพิง อพยพประชาชนไปยังพื้นที่ปลอดภัย จัดเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเข้าเยียวยา รักษาพยาบาลกรณีเจ็บป่วยหรือเกิดความเตรียด ๓) หลังประสบอุทกภัยจะต้องจัดชุดปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบภัย โดยเร่งปรับปรุงแก้ไขสภาพแวดล้อมในชุมชน ขอรับการสนับสนุนจากทางภาครัฐในการฟื้นฟู แก้ไขจุดเสี่ยง จุดอันตราย และทบทวนระเบียบ ข้อบังคับ หรือเงื่อนไขเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์และเวลา และน้าเทคโนโลยีเข้ามาสนับสนุน และ ๔) การบูรณาการเพื่อความยั่งยืน จะต้องสร้างจิตส้านึกร่วมกัน รับผิดชอบร่วมกัน เรียนรู้ปัญหา อยู่ร่วมกับปัญหา สร้างพลังในการขับเคลื่อน มุ่งเน้นเป้าหมายทางคุณค่าที่สอดคล้องกับวิถีธรรมชาติและวิถีของชุมชนบนฐานภูมิปัญญาท้องถิ่น |
URI: | http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/412 |
Appears in Collections: | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2559-168 อัครเดช พรหมกัลป์.pdf | 6.99 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.