Please use this identifier to cite or link to this item:
http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/411
Title: | วิเคราะห์องค์ความรู้และสาระสาคัญของของรายวิชาขบวนการพุทธใหม่ในโลกปัจจุบันของนิสิตมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น |
Other Titles: | n analytical study the knowledge and essence of Neo-Buddhist Movements in Contemporary World of students of Mahachulalongkornrajavidyalaya University KhonKaen Campus |
Authors: | ฐิตปญฺโญ, พระมหามิตร |
Keywords: | องค์ความรู้และสาระสาคัญ รายวิชาขบวนการพุทธใหม่ในโลกปัจจุบัน นิสิตมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น |
Issue Date: | 2558 |
Publisher: | สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยในครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อการศึกษาวิเคราะห์องค์ความรู้และสาระสาคัญของของรายวิชาขบวนการพุทธใหม่ในโลกปัจจุบันในโลกปัจจุบันของนิสิตมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยวิทยาเขตขอนแก่น ผลการวิจัย พบว่าขบวนการพุทธในโลกปัจจุบันทั้งในประเทศและนอกประเทศมักจะเกิดขึ้นด้วยความวิกฤตทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม หรือมากไปกว่านั้นเป็นภาวะวิกฤตจากภัยสงคราม ภายในประเทศที่นามาศึกษาได้แก่ สานักวัดหนองป่าพง (หลวงพ่อชา สุภทฺโท) สานักสวนโมกขพลาราม (หลวงพ่อพุทธทาสภิกขุ) ก็เกิดขึ้นด้วยเหตุแห่งการวิกฤตทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคมซึ่งเห็นได้จากคาสอนที่ทั้งสองสานักได้นาเสนอต่อสังคมในขณะนั้นส่วนนอกประเทศ ได้แก่ เอ็มเบ็ดการ์ (B.R.Ambedkar) ผู้ต่อสู้เพื่อให้ยกเลิกระบบวรรณะในสังคมอินเดีย โดยชักชวนชนชั้นต่าต้อย (ศูทร/อธิศูทร)ให้หันมานับถือพระพุทธศาสนาในฐานะเป็นศาสนาที่ให้ความเสมอภาคทางสังคม อนาคาริก ธรรมปาละ เรียกร้องพระพุทธศาสนากับคืนมาตุภูมิและท่านโกเอ็นก้า” (สัตยา นารายัน โกเอ็นก้า (S.N. Goenka) ผู้นาวิปัสสนากับคืนดินแดนมหาภารตเพื่อสุขภาพจิตที่ดีของประชาชน องค์ดาไล ลามะ ผู้นารัฐบาลผลัดถิ่นของธิเบตที่พยายามต่อสู่เพื่อเอกราชของธิเบตบนฐานของอหิงสธรรม (non-violence) และเป็นผู้เสนอแนวคิดเรื่องความรับผิดชอบระดับสากล (universal responsibility) บนฐานของจิตใจที่มุ่งหวังประโยชน์สุขเพื่อผู้อื่น (altruistic mind)ไม่ว่าจะเป็นนอกประเทศหรือในประเทศที่นามาศึกษานี้ล้วนแล้วแต่เป็นผู้ที่พยายามประยุกต์หลักพุทธธรรมมาแก้ปัญหาสังคมตั้งแต่สังคมระดับรากหญ้าจนถึงสังคมระดับประเทศ จากการศึกษาภาคสนามของนิสิตพบว่านิสิตได้มีความรู้และความเข้าใจขบวนการเผยแผ่พระพุทธศาสนาแบบใหม่ อีกทั้งทาให้ทราบถึงการจัดการที่มีรูปแบบการบริหารจัดการองค์กรอย่างเป็นระบบและรูปแบบการเผยแผ่ไดมีการปรับหลักคาสอนทางพระพุทธศาสนาให้เข้ากับสังคมในปัจจุบันสามารถสร้างศรัทธาและปลูกฝังปัญญาให้เพิ่มแก่ประชาชนมากยิ่งขึ้น |
URI: | http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/411 |
Appears in Collections: | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2558-117 พระมหามิตร ฐิตปญฺโญ,ผศ.ดร.pdf | 3.69 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.