Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/409
Title: รูปแบบการจัดการสวนยางพารา นาข้าว และสวนปาล์มน้ำมันของเกษตรกรตามหลักวิถีพุทธในจังหวัดนครศรีธรรมราชและจังหวัดสงขลา
Other Titles: Rubber plantation management style rice fields and oil palm plantation of farmers according to Buddhist principle in Nakhonsithammarat and Songkhla province
Authors: บุญทอง, พีระศิลป์,
รักนุ้ย, ประสิทธิ์
เหมือนจันทร์, วนิดา
Keywords: รูปแบบการจัดการสวนยางพารา
นาข้าวและสวนปาล์มน้ำมัน
เกษตรกร
หลักวิถีพุทธในจังหวัดนครศรีธรรมราชและจังหวัดสงขลา
Issue Date: 2561
Publisher: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ ๑) เพื่อศึกษาผลกระทบเกษตรกรการทำสวนยางพารา นาข้าว และสวนปาล์มน้ำมัน ๒) เพื่อพัฒนาการจัดการเกษตรกรการทำสวนยางพารา นาข้าวและสวนปาล์มน้ำมัน ๓) วิเคราะห์รูปแบบการจัดการเกษตรกรทำสวนยางพารา นาข้าว และปาล์มน้ำมัน แบบสมาร์ทฟาร์ม โดยดำเนินการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ที่เชื่อมโยงความคิดเห็นและพัฒนาการจัดการเกษตรกรทำสวนยางพารา นาข้าว และปาล์มน้ำมัน แบบสมาร์ทฟาร์มเข้าด้วยกัน จากกลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้นำองค์กรจากภาครัฐและภาคส่วนเอกชนที่มีส่วนเกี่ยวข้อง กลุ่มชาวนา ชาวสวนยางพารา ชาวสวนปาล์มน้ำมันในภาคใต้ จำนวน ๒ จังหวัด คือจังหวัดนครศรีธรรมราช และจังหวัดสงขลาจำนวน ๑๖ คน จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน ๘ คน จังหวัดสงขลา จำนวน ๘ คน รวมประชากร ทั้งหมด ๑๖ คน จากการสัมภาษณ์เจาะลึก (In-depth interview) ซึ่งผู้วิจัยได้สุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purpose Sampling) ผลการวิจัย พบว่า ๑) ผลกระทบเกษตรกรการทำสวนยางพารา นาข้าว และสวนปาล์มน้ำมันของเกษตรกรตามหลักวิถีพุทธในจังหวัดนครศรีธรรมราชและจังหวัดสงขลา พบว่า เกษตรกรอำเภอรัตภูมิ อำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา เกษตรกรอำเภอเชียรใหญ่ อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อประสบปัญหาในการทำการเกษตรมีผลกระทบต่อกิจกรรมการเกษตรของเกษตรกร ฉะนั้นต้องมีมาตรการและวิธีการป้องกันผลผลิต ให้มีคุณภาพ สู่การสร้างมูลค่าสร้างราคาด้วยผลผลิตที่มีคุณภาพ มีการนำหลักธรรมในทางพระพุทธศาสนาเป็นเครื่องมืออย่างดีที่จะเป็นแนวปฏิบัตินำเกษตรกร จะต้องมีสติและใช้ปัญญาในการจัดการ การเป็นเกษตรวิถีพุทธควรที่จะต้องนำหลักธรรมมาประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวัน ให้ถูกกาลถูกเวลามีความเหมาะสม เมื่อเกษตรเป็นผู้ลงทุนจึงไม่ควรประมาทในการประกอบอาชีพ ต้องวิเคราะห์ วิจารณ์โดยยึดหลักมัชฌิมาปฏิปทาหรือหลักความเป็นสายกลางในการประกอบอาชีพ ความสามัคคีหลักสำคัญในการอยู่ร่วมกันในชุมชน ทำให้ชุมชนเกิดพลังเข้มแข็งในพัฒนาได้ถูกต้องมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืนปลอดภัยในอาชีพเกษตรกร ชาวสวนยางพารา นาข้าวและสวนปาล์มน้ำมัน ๒) พัฒนาการจัดการเกษตรกรการทำสวนยางพารา นาข้าวและสวนปาล์มน้ำมันของเกษตรกรตามหลักวิถีพุทธในจังหวัดนครศรีธรรมราชและจังหวัดสงขลา พบว่า ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงจากกระแสพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนารถบพิตร ที่จะให้วิถีชีวิตของประชาชน ทั้งระดับครอบครัวชุมชนและระดับชาติ เดินไปตามทางสายกลาง และหากนำกระบวนการเกษตรวิถีพุทธมาปรับใช้ ทั้งการไม่เบียดเบียนตนเองและไม่เบียดเบียนผู้อื่น มีความขยัน พากเพียร ไม่เกียจคร้าน มีภูมิคุ้มกันที่ดี รู้จักใช้จ่ายทรัพย์ให้เกิดประโยชน์ทั้งตนเองและผู้อื่น รวมทั้งการศึกษาเกษตรกรต้นแบบ การนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ จะเป็นแนวทางในการพัฒนาส่งเสริมสนับสนุนให้เกษตรกรมีความมั่นคงและเข้มแข็งตลอดไป ๓) รูปแบบการจัดการเกษตรกรทำสวนยางพารา นาข้าว และปาล์มน้ำมัน แบบสมาร์ทฟาร์มของเกษตรกรตามหลักวิถีพุทธในจังหวัดนครศรีธรรมราชและจังหวัดสงขลา พบว่า สามารถตอบโจทย์ให้เกษตรกรรายอื่นได้ โดยมีโล่รางวัลประกาศนียบัตรเป็นเครื่องเชิดชูเกียรติแก่ชุมชนวิถีชีวิตวิถีเกษตรทั้ง ๑๖ กลุ่ม/คน/ชุมชน ในด้านการบริหารจัดการเป็นนารวมแปลงใหญ่สมารถเป็นต้นแบบ ให้กลุ่ม/ชุมชนอื่น ๆได้ศึกษา ทั้งในเรื่องคุณภาพ คุณค่า ราคา และผลผลิตที่มีคุณภาพส่งผลต่อสุขภาพกายใจที่ดี มีแรงจูงใจในการประกอบอาชีพเกษตรกรตามหลักวิถีพุทธได้เป็นอย่างดี เกษตรกรมีโอกาสสร้างค่าสร้างราคาต่อรองกับพ่อค้าคนกลางได้อย่างสมดุล เพราะผลผลิตมีคุณภาพดีเหมาะสม สอดคล้องกับศักยภาพและความต้องการของเกษตรกร และเมื่อนำหลักธรรมทางพุทธศาสนามาเชื่อมโยงเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้แก่ ครอบครัว ชุมชน องค์กรการเกษตร เช่น หลักอิทธิบาท ๔ หลักธรรมสังคหวัตถุ ๔ คิหิสุขหรือกามโภคีสุข ๔ จะเป็นตัวขับเคลื่อนให้สังคมเกิดการเปลี่ยนแปลงไปสู่ความยั่งยืนตามหลักเกษตรวิถีพุทธ
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/409
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2561-083 ดร.พีระศิลป์ บุญทอง.pdf5.2 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.