Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/407
Title: การพัฒนาพฤติกรรมเชิงจริยธรรมของเยาวชนท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงทาง เทคโนโลยี : กรณีศึกษาเยาวชนไทยในจังหวัดขอนแก่น
Other Titles: Moral Behaviour Development of the Youths in duration of Technological Changing : Case Study Thai Youths in Khon-kaen Province
Authors: พระครู, ภาวนาโพธิคุณ
คมฺภีรปญฺโญ, วิมาน,
อนารโย, ณัฐกิตติ
ฐิตญาโณ, สมบัตร,
Keywords: การพัฒนา
พฤติกรรมเชิงจริยธรรม
ความเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี
เยาวชนไทย
Issue Date: 2561
Publisher: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมเชิงจริยธรรมของเยาวชนไทย เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่มีผลต่อพฤติกรรมเชิงจริยธรรมของเยาวชนไทย และเพื่อศึกษาการพัฒนาพฤติกรรมเชิงจริยธรรมของเยาวชนไทยในจังหวัดขอนแก่น ซึ่งเป็นงานวิจัยแบบผสานวิธี โดยใช้วิธีการเก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์และการแจกแบบสอบถามทั้งก่อนและหลังการอบรมจริยธรรม พร้อมกับนาเสนอผลการวิจัยในเชิงพรรณาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมละเมิดจริยธรรมของเยาวชนไทยมีความสอดคล้องกับการละเมิดศีล ๕ โดยมีระดับความคิดเห็นของเยาวชนเกี่ยวกับพฤติกรรมการละเมิดจริยธรรมทั้งก่อนและหลังการอบรม ดังนี้ (๑) ปาณาติปาตา พฤติกรรมที่มีลักษณะรุนแรงมากที่สุด ก่อนการอบรมเห็นว่าเป็นการทรมานทาร้ายสัตว์ ร้อยละ ๔๙.๔ ส่วนหลังการอบรมเห็นว่าเป็นการฆ่าผู้อื่น ร้อยละ ๖๒.๖ (๒) อทินนาทานา พฤติกรรมที่มีลักษณะทุจริตมากที่สุด ซึ่งเห็นเหมือนกันทั้งก่อนและหลังการอบรมว่าเป็นการเอารัดเอาเปรียบผู้อื่น แต่มีระดับความคิดเห็นไม่เท่ากัน คือ ก่อนการอบรมร้อยละ ๖๒.๔ และหลังจากการอบรม ร้อยละ ๖๑.๖ (๓) กาเมสุมิจฉาจารา พฤติกรรมที่เกี่ยวกับการละเมิดจริยธรรมทางเพศมากที่สุดเหมือนกัน คือ การมีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียน ก่อนการอบรม ร้อยละ ๘๐.๔ และหลังการอบรม ร้อยละ ๘๓.๑ (๔) มุสาวาทา พฤติกรรมที่มีลักษณะผิดจริยธรรมการสื่อสารมากที่สุดเหมือนกัน คือ การพูดคาหยาบ มีค่าเฉลี่ยก่อนการอบรม ร้อยละ ๕๙.๖ ส่วนหลังจากอบรม ร้อยละ ๕๙.๘ และ (๕) สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานา พฤติกรรมผิดจริยธรรมที่มีลักษณะมึนเมามากที่สุดก่อนการอบรมเห็นว่าเป็นการเล่นการพนัน ร้อยละ ๗๑.๒ และหลังการอบรมเห็นว่าเป็นการขาดสติสัมปชัญญะ ร้อยละ ๗๒.๒ ส่วนสาเหตุของการละเมิดจริยธรรมของเยาวชนไทยมากที่สุดก่อนการอบรม คือ การมีสิ่งยั่วยุมากขึ้น ร้อยละ ๗๘.๘ และหลังการอบรม คือ ปัญหาส่วนตัวของเยาวชน ร้อยละ ๗๓.๔ โดยปัจจัยที่ทาให้เยาวชนไทยละเมิดจริยธรรมมากที่สุดเป็นปัญหาทางครอบครัว โดยค่าเฉลี่ยก่อนการอบรม ร้อยละ ๙๓.๖ และหลังการอบรมลดลงเหลือร้อยละ ๗๖.๓ ส่วนผลจากการ ละเมิดจริยธรรมของเยาวชนไทยมากที่สุดก่อนการอบรม คือ มีผลทาให้ติดสิ่งเสพติดและอบายมุข ร้อยละ ๖๙.๖ และหลังการอบรมเห็นว่าจะทาให้ผลการเรียนตกต่า ซึ่งคิดเป็นร้อยละ ๗๔.๘
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/407
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2561-164 พระครูภาวนาโพธิคุณ.pdf6.23 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.