Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/406
Title: อาหารพื้นบ้าน : กระบวนการจัดการอาหารพื้นบ้านยอดนิยมตามหลักโภชนาการเพื่อสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุเขตภาคเหนือตอนบน
Other Titles: Local Food: Process of Management of Highly Popular Local Food Based on Nutrition Principle for Health Enhancement of Aging People in Upper the Northern, Thailand
Authors: กิตฺติวณฺโณ, พระครูสังฆรักษ์บุญเสริม
Keywords: อาหารพื้นบ้าน,
กระบวนการจัดการตามหลักโภชนาการ
, การสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ
Issue Date: 2562
Publisher: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาองค์ความรู้และคุณค่าตามหลักโภชนาการ อาหารพื้นบ้านยอดนิยมเพื่อเสริมสร้างสุขภาพของผู้สูงอายุเขตภาคเหนือตอนบน 2) เพื่อพัฒนา อาหารพื้นบ้านยอดนิยมตามหลักโภชนาการเพื่อเสริมสร้างสุขภาพของผู้สูงอายุเขตภาคเหนือตอนบน 3) เพื่อศึกษาการจัดการองค์ความรู้อาหารพื้นบ้านยอดนิยมเพื่อเสริมสร้างสุขภาพของผู้สูงอายุเขต ภาคเหนือตอนบน และ 4) เพื่อเสนอเป็นนโยบายสาธารณะต่อองค์กรภาครัฐและภาคเอกชนของ อาหารพื้นบ้านยอดนิยมต่อการเสริมสร้างสุขภาพของผู้สูงอายุเขตภาคเหนือตอนบน เป็นการวิจัยแบบ ผสมผสาน (mixed methods research) ทั้งในเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงทดลองในชุมชน (Community trial) ในภาคสนาม ซึ่ง คณะวิจัยได้ทาการเก็บข้อมูลจากปฐมภูมิจากการสัมภาษณ์เชิงลึก จากการแจกแบบสอบถามผู้ให้ ข้อมูลหลัก และการสนทนากลุ่มย่อย และการวิจัยเชิงทดลอง โดยการนาผลการศึกษาจากเชิงคุณภาพ และ เชิงบรรยายมาทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่างในการศึกษาในชุมชน (Community trial) และข้อมูล จากทุติยภูมิจากเอกสารที่ได้รับจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จากนั้นจึงทาการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา (Content Analyses) วิเคราะห์เชิงปริมาณ (Quantitative Analyses) ผลการวิจัยพบว่า 1. องค์ความรู้และคุณค่าตามหลักโภชนาการอาหารพื้นบ้านยอดนิยมเพื่อเสริมสร้างสุขภาพ ของผู้สูงอายุเขตภาคเหนือตอนบนนั้น ได้องค์ความรู้ 3 ประการ คือ 1) ด้านการประกอบอาหาร พื้นบ้าน 2) ด้านด้านคุณค่าของอาหารตามหลักโภชนาการ และ 3) ด้านรักษาโรคให้กับผู้สูงอายุ ใน การประกอบอาหารพื้นบ้านยอดนิยม เกิดจากบรรพบุรุษ จากเพื่อนบ้าน กิจกรรมในชุมชน และสื่อ ต่าง ๆ ส่วนคุณค่าอาหารพื้นบ้านยอดนิยมมีคุณค่าทางโภชนาการ เป็นสมุนไพร ซึ่งแต่ละชนิดมี สรรพคุณทางยาที่แตกต่างกัน และสามารถรักษาโรคและเสริมสร้างสุขภาพได้ 2. การพัฒนาอาหารพื้นบ้านยอดนิยมตามหลักโภชนาการเพื่อเสริมสร้างสุขภาพของผู้สูงอายุ เขตภาคเหนือตอนบนตามคู่มือเมนูอาหารพื้นบ้าน 10 อย่างอาหารเหนือ หลังเข้ากิจกรรมเป็นเวลา 1 เดือน กลุ่มทดลองมีสัดส่วนของผู้ที่มีระดับความดันโลหิตอยู่ในเกณฑ์เป้าหมายเพิ่มขึ้น อย่างมี ข นัยสาคัญทางสถิติ (p<0.05) ส่วน ในเลือดและค่าดัชนีมวลกาย อยู่ในเกณฑ์เป้าหมายเพิ่มมากขึ้นแต่ไม่มีนัยสาคัญทางสถิติ นั้นสามารถช่วยเสริมสร้างสุขภาพของผู้สูงอายุได้ 3. การจัดการองค์ความรู้อาหารพื้นบ้านยอดนิยมเพื่อเสริมสร้างสุขภาพของผู้สูงอายุเขตภาคเหนือตอนบนนั้นมีการจัดการความรู้ใน 3 รูปแบบ คือ 1) การสะสมความรู้อาหารพื้นบ้าน จากบรรพบุรุษ และศึกษาเอง 2) การจัดการความรู้อาหารพื้นบ้าน และ 3) การถ่ายทอดความรู้ของอาหารพื้นบ้านทั้งในระบบครอบครัว และผู้สูงอายุมีความรู้เพิ่มขึ้นและมีความพอใจในการจัดการความรู้อาหารพื้นบ้านยอดนิยมเพื่อเสริมสร้างสุขภาพของผู้สูงอายุเขตภาคเหนือตอนบน 4. การเสนอเป็นนโยบายสาธารณะต่อองค์กรภาครัฐและภาคเอกชนของอาหารพื้นบ้านยอดนิยมต่อการเสริมสร้างสุขภาพของผู้สูงอายุเขตภาคเหนือตอนบนนั้น ทางโครงการจึงสนับสนุนให้องค์กรภาครัฐและภาคเอกชนเสริมสร้างสุขภาพให้กับผู้สูงอายุใน 4 จังหวัด ได้พยายามให้เกิดการจัดการองค์ความรู้และนาไปสู่การกาหนดนโยบายของการพัฒนา ดังนั้น จึงเป็นพื้นฐานเบื้องต้นในการเสริมสร้างสุขภาพและการเรียนรู้ของชุมชนของผู้สูงอายุที่จะนาไปสู่การเสริมสร้างสุขภาพที่สมบูรณ์และแข็งแรงสามารถดารงค์ตนอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/406
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.