Please use this identifier to cite or link to this item:
http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/405
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | วงศ์พรพวัณ, จักรพรรณ, | - |
dc.contributor.author | ไสวงาม, สาริกา, | - |
dc.date.accessioned | 2022-03-18T07:10:45Z | - |
dc.date.available | 2022-03-18T07:10:45Z | - |
dc.date.issued | 2562 | - |
dc.identifier.uri | http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/405 | - |
dc.description.abstract | การวิจัยเรื่อง ปรัชญา ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี และวิถีชีวิตของอาณาจักรล้านช้าง มี วัตถุประสงค์ 3 ข้อ คือ 1) เพื่อศึกษาปรัชญาของอาณาจักรล้านช้าง 2) เพื่อศึกษาศิลปะ วัฒนธรรม และประเพณีของอาณาจักรล้านช้าง 3) เพื่อศึกษาวิถีชีวิตของอาณาจักรล้านช้าง ผลการวิจัย พบว่า แนวคิดทางปรัชญาของอาณาจักรล้านช้างเป็นระบบแนวคิดแบบพหุนิยมหรือพหุ วัฒนธรรม คือการผสมผสานแนวความคิดระหว่างวิญญาณ (ผี) พราหมณ์ และพุทธศาสนาเข้าด้วยกัน แนวคิดเรื่องวิญญาณเป็นแนวคิดดั้งเดิมของอาณาจักรล้านช้าง ส่วนพราหมณ์ และพุทธศาสนาเป็น แนวคิดที่เข้ามาทีหลัง จากนั้นชาวล้านช้างได้นาเอาแนวคิดทั้งสามระบบนี้มาผสมผสานกันอย่าง กลมกลืน ซึ่งแนวคิดทั้งสามระบบนี้จะปรากฏอยู่ในรูปแบบของประเพณีหรือพิธีกรรมต่างๆ ของคน ล้านช้าง แต่แนวคิดที่มีอิทธิพลมากที่สุดต่อสังคมล้านช้างคือพุทธศาสนา แนวคิดทางพุทธศาสนาได้ หยั่งลึกสู่จิตใจของชาวล้านช้างจนกลายเป็นวิถีชีวิตของอาณาจักรล้านช้าง ซึ่งจะแสดงออกในลักษณะ ของศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี และวิถีการดาเนินชีวิตของอาณาจักรล้านช้าง บ่อเกิดของศิลปะ วัฒนธรรม และประเพณีของอาณาจักรล้านช้างมาจากแนวคิดทาง ปรัชญาของคนล้านช้าง โดยเฉพาะคติทางพุทธศาสนานั้นถือว่ามีอิทธิพลต่อศิลปะต่างๆ มากทั้ง ทางด้านสถาปัตยกรรม ประติมากรรม และจิตกรรม เรียกว่า พุทธศิลป์ล้านช้าง ส่วนทางวัฒนธรรม ของอาณาจักรล้านช้างนั้นมีทั้งส่วนที่เป็นวัฒนธรรมทางวัตถุ วัฒนธรรมทางคติธรรม วัฒนธรรมทาง เนติธรรม และวัฒนธรรมทางสังคม ซึ่งวัฒนธรรมเหล่านี้จะแสดงออกในรูปแบบของประเพณีล้านช้าง เรียกว่า ฮีตสิบสอง หรือประเพณีสิบสองเดือน ซึ่งเป็นประเพณีที่ชาวล้านช้างได้ปฏิบัติสืบต่อกันมาใน โอกาสต่างๆ ทั้งสิบสองเดือนของแต่ละปี เป็นประเพณีที่แสดงออกตามคติทางพุทธศาสนา และบาง ประเพณีมีการผสมผสานพิธีกรรมที่เกี่ยวกับเรื่องวิญญาณ พราหมณ์ และพุทธศาสนาเข้าด้วยกัน วิถีชีวิตของอาณาจักรล้านช้าง ได้ยึดถือปฏิบัติตามแนวคิดหรือจารีตที่บรรพบุรุษรุ่นก่อนได้ จัดระบบไว้ดีแล้ว ซึ่งข้อยึดถือปฏิบัติเหล่านั้นได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของวิถีการดาเนินชีวิตของชาวล้าน ช้าง โดยที่อาณาจักรล้านช้างได้แบ่งสังคมออกเป็น ๒ ชนชั้นคือ ชนชั้นผู้ปกครอง และชนชั้นผู้ใต้ ปกครอง ชนชั้นผู้ปกครองจะให้ความอุปถัมภ์สถาบันศาสนา โดยการทานุบารุงพุทธศาสนาในทุกๆ ข ด้าน ส่วนพระสงฆ์ก็ช่วยเหลือสังคม โดยการใช้หลักพุทธธรรมเป็นเครื่องช่วยในการสอนให้คนล้านช้าง ได้ประพฤติปฏิบัติในทางที่ถูกต้องดีงาม ส่วนชนชั้นผู้อยู่ใต้ปกครองจะทาหน้าที่ผลิตผลทางการเกษตร นอกจากนี้อาณาจักรล้านช้างยังได้กาหนดกรอบให้ชาวล้านช้างได้มีวิถีชีวิตเป็นไปในแนวเดียวกัน ๓ แนวทางคือ วิถีชีวิตทางด้านศาสนา วิถีชีวิตทางด้านกฎหมาย และวิถีชีวิตทางด้านตานานและ วรรณกรรม ซึ่งทั้ง ๓ แนวทางนี้ถือว่าเป็นการกาหนดกรอบให้ชาวล้านได้ใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติ ร่วมกัน | en_US |
dc.publisher | สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | ปรัชญา | en_US |
dc.subject | ศิลปะ | en_US |
dc.subject | วัฒนธรรม | en_US |
dc.subject | ประเพณี | en_US |
dc.subject | วิถีชีวิต | en_US |
dc.subject | อาณาจักรล้านช้าง | en_US |
dc.title | ปรัชญา ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณีและวิถีชีวิตของอาณาจักรล้านช้าง | en_US |
dc.title.alternative | Philosophy, Arts, Culture, Tradition and the Way of Life of Lanchang Kingdom | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
Appears in Collections: | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2562-060 ผศ.ดร.จักรพรรณ วงศ์พรพวัณ.pdf | 7.09 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.