Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/404
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorศรีหานู, ชัยชาญ-
dc.date.accessioned2022-03-18T07:09:09Z-
dc.date.available2022-03-18T07:09:09Z-
dc.date.issued2559-
dc.identifier.urihttp://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/404-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ (๑) ศึกษาการปฏิบัติและการสอบอารมณ์กรรมฐานใน คัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาท (๒) เพื่อศึกษาการปฏิบัติและการสอบอารมณ์กรรมฐานในประเทศลาว (๓) เพื่อศึกษาวิเคราะห์ความสอดคล้องการปฏิบัติการสอบอารมณ์กรรมฐานในคัมภีร์พระพุทธศาสนา งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงเอกสารเป็นหลักโดยมีวิธีดาเนินการวิจัยคือศึกษาวิเคราะห์หลักกรรรมฐาน พระไตรปิฎก อรรถกถา และเอกสารที่เกี่ยวข้อง การสังเกต สัมภาษณ์ จากนั้นนามาวิเคราะห์ให้เห็น ประเด็นสาคัญ สรุป บรรยายเชิงพรรณนา การวิจัยพบว่า หลักการปฏิบัติกรรมฐานในพระพุทธศาสนาเถรวาทมี ๒ อย่างคือ สมถกร รมฐาน และวิปัสสนากรรมฐาน อย่างแรกเป็นวิธีการทาจิตให้สงบจากความฟุ้งซ่านจนจิตเป็น เอกัคคตารมณ์โดยมีอารมณ์ในการเพ่ง ๔๐ อย่าง เป็นต้น ส่วนวิปัสสนากรรมฐานคือการใช้ สติสัมปชัญญะรู้อารมณ์ที่กาลังเกิดขึ้นอยู่ทุกขณะจิตปัจจุบันในลักษณะความเป็นปรมัตถ์ มีอารมณ์ โดยสรุปคือ ขันธ์ ๕ ซึ่งเรียกว่า รูป-นามในด้านการกาหนดจิตรู้ โดยปราศจากความคิดปรุงแต่งบัญญัติ อารมณ์ทั้งหลาย การสอบอารมณ์คือการตรวจสอบความก้าวหน้าโดยการซักถาม แนะนาเพื่อแก้ไข ไม่ให้จิตผู้ภาวนาติดขัด ถือเป็นกัลยาณมิตรอย่างหนึ่งของการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา การปฏิบัติกรรมฐานในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวมีควบคู่กันมากับหลัก พระพุทธศาสนาตั้งแต่สมัยโบราณแต่ไม่มีหลักฐานบันทึกอย่างเป็นทางการ ในปัจจุบันส่วนใหญ่ หลักการปฏิบัติกรรมฐานได้รับอิทธิจากคาสอนของพระอาจารย์มหาปาน อานนฺโทและพระอาจารย์ มหาซาลี กนฺตสีโล ผู้ได้รับการยกย่องอย่างมากและขยายไปทั่วประเทศ หลักการปฏิบัติกรรมฐานใช้ การรู้เท่าทันอิริยาบถปัพพะในลักษณะการรู้ไหว-นิ่ง โดยเน้นที่สัมปชัญญะและตามด้วยสติ ในการ เริ่มทากรรมฐานจะต้องบูชาและขอมาโทษต่อพระรัตนตรัยก่อนแล้วจึงพิจารณาร่างกายด้วยมรณัสติ แล้วจึงนั่งสมาธิภาวนาโดยรู้เท่าทันอิริยาบถหลักและย่อยจนจิตสงบจากนั้นยกจิตให้รู้ทันความเป็น ปรมัตถ์ของรูปนามที่กาลังปรากฏในทวารทั้ง ๖ จิตก็รู้จักและไม่ยึดติดบัญญัติจนทาให้จิตหลงและ ฟุ้งซ่านเป็นเหตุของการยึดมั่น กิเลสตัณหา และทุจริตทั้งหลายจิตก็จะเข้าสู่วิปัสสนาญาณตามลาดับ ไม่เน้นเรื่องการสอบอารมณ์กรรมฐานแต่เน้นเรื่องการฟังธรรมเพื่อน้อมจิตให้เห็นอารมณ์ปรมัตถ์ที่เกิด ขึ้นกับตนเองen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยen_US
dc.subjectการปฏิบัติen_US
dc.subjectการสอบอารมณ์en_US
dc.subjectกรรมฐานen_US
dc.subjectพระพุทธศาสนาเถรวาทen_US
dc.subjectประเทศลาวen_US
dc.titleการปฏิบัติและการสอบอารมณ์กรรมฐานตามหลักพระพุทธศาสนาเถรวาท ในประเทศลาวen_US
dc.title.alternativeThe Practical Form and Examination of Theravada Meditation in Laosen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2559-056 ชัยชาญ ศรีหานู.pdf4.18 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.