Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/403
Title: พลวัตเมืองพะเยา: ขบวนการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมกับการจัดการตนเองตามแนวพุทธศาสนา
Other Titles: Phayao dynamics: The Movement of Socio-cultural Change and Self-Management by Buddhism Approach
Authors: วิเศษ, สหัทยา
Keywords: สภาประชาชน
พลวัต
ภาคประชาสังคม
การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ
ลุ่มน้าอิง
Issue Date: 2560
Publisher: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพัฒนาการและบทบาทของภาคประชาสังคมในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติลุ่มน้าอิง ศึกษากระบวนการพัฒนาศักยภาพสภาประชาชนลุ่มน้าอิงในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และพัฒนาแนวทางและยุทธศาสตร์การจัดการทรัพยากรธรรมชาติของสภาประชาชนลุ่มน้าอิงอย่างบูรณาการโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน เป็นการวิจัยเชิงปฎิบัติการแบบมีส่วนร่วม กลุ่มเป้าหมายในการศึกษาประกอบด้วย สภาประชาชนลุ่มน้าอิง สมาคมแม่น้าเพื่อชีวิต สถาบันชุมชนลุ่มน้าโขง สถาบันปวงผญาพยาว และเครือข่ายอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรมลุ่มน้าโขง-ล้านนา โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งเครือข่ายและหน่วยงานท้องถิ่นเพื่อการจัดการลุ่มน้าอิงอย่างยั่งยืน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในลุ่มน้าอิง และสถาบันการศึกษาในลุ่มน้าอิง จ้านวน ๒๕ คน พื นที่ในการศึกษาได้แก่ ลุ่มน้าอิงในจังหวัดพะเยา และจังหวัดเชียงราย ผลการวิจัยพบว่า ความเคลื่อนไหวของภาคประชาสังคมในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติในลุ่มน้าอิง มีพัฒนาการที่มีความสัมพันธ์กับการพัฒนาโครงสร้างพื นฐานของประเทศ การเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศ และการพัฒนาในแม่น้าสาขาของลุ่มน้าอิงตั งแต่ต้นน้าจนถึงปลายน้า โดยมีองค์กรพัฒนาเอกชน เป็นกลไกหลักในการด้าเนินงานร่วมกับภาคประชาชน ภาครัฐ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในแต่ละพื นที่ ภายหลังมีการเชื่อมร้อยเครือข่ายภาคประชาชนในลุ่มน้าอิง และยกระดับการท้างานในรูปแบบสภาประชาชนลุ่มน้าอิง เพื่อให้เข้าไปมีบทบาทและมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติร่วมกับภาคส่วนต่างๆ กระบวนการพัฒนาสภาประชาชนลุ่มน้าอิงในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ประกอบด้วย การพัฒนาศักยภาพสภาประชาชน การพัฒนาพื นที่รูปธรรมในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ การพัฒนาระบบข้อมูลและสารสนเทศในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ การรณรงค์ด้านนโยบายระดับชาติและระดับท้องถิ่นในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติลุ่มน้าอิง เพื่อให้สภาประชาชนได้เกิดกระบวนการพัฒนาตนเอง น้าความรู้และบทเรียนที่ได้ไปพัฒนากลุ่ม องค์กร และมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ในการพัฒนายุทธศาสตร์การจัดการทรัพยากรธรรมชาติในลุ่มน้าอิงอย่างบูรณาการ โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ได้ยึดหลักการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่น และเป้าหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืน ประกอบด้วย ยุทธศาสตร์ด้านการจัดการฐานทรัพยากรธรรมชาติ ยุทธศาสตร์ด้านเศรษฐกิจชุมชนบนฐานทรัพยากรธรรมชาติ และยุทธศาสตร์ด้านสังคมและการมีส่วนร่วม
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/403
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2560-069 สหัทยา วิเศษ.pdf6.39 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.