Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/400
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorสวนดง, สิรภพ-
dc.contributor.authorหล้าโพนทัน, สงวน,-
dc.date.accessioned2022-03-18T07:01:33Z-
dc.date.available2022-03-18T07:01:33Z-
dc.date.issued2562-
dc.identifier.urihttp://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/400-
dc.description.abstractรายงานวิจัยเรื่อง “รูปแบบการพัฒนาภูมิปัญญาและประเพณีเชิงพุทธกับการส่งเสริมการ เรียนรู้ของประชาชนในเขตอีสานใต้” มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปและบริบทของภูมิปัญญา ประเพณีทางพระพุทธศาสนาของประชาชนในเขตอีสานใต้ ๒) เพื่อศึกษาภูมิปัญญาประเพณีและการ เรียนรู้ทางพระพุทธศาสนาของประชาชนที่ปรากฏอยู่ในเขตอีสานใต้ และ ๓) เพื่อเสนอรูปแบบการพัฒนา ภูมิปัญญาและประเพณีเชิงพุทธกับการส่งเสริมการเรียนรู้ของประชาชนในเขตอีสานใต้ เป็นการวิจัยแบบ คุณภาพและเชิงปฏิบัติการ โดยใช้วิธีการวิจัยสัมภาษณ์แบบลงพื้นที่วิจัย ผลจากการวิจัยพบว่า ภูมิปัญญาเป็นองค์ความรู้ของคนในชุมชนท้องถิ่น โดยมีการสั่งสมกันมาจากประสบการณ์ ระยะเวลาของการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง เป็นการดำรงชีวิตให้เข้ากับธรรมชาติ แล้วสืบต่อกันมาจนเป็นภูมิ ปัญญาประเพณีท้องถิ่นของประชาชนในอีสานใต้ และภูมิปัญญาประเพณีของประชาชนที่ปรากฏอยู่ใน เขตอีสานใต้มีดังต่อไปนี้ คือ (๑) อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา ได้จัดกิจกรรมทำเทียนพรรษา เป็น การสร้างความสามัคคีทั้งบ้าน วัด โรงเรียน (บวร) ซึ่งจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี (๒) อำเภอหนองหงส์ จังหวัด บุรีรัมย์ มีการจัดกิจกรรมบุญบั้งไฟ ซึ่งแสดงออกถึงการสักการบูชาจากความเชื่อเกี่ยวกับพิธีขอฝน หรือ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ประกอบพิธีกรรมขึ้น (๓) อำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ มีกิจกรรมบุญกระธูป ชุมชนจัดกิจกรรมร่วมกันแสดงออกความเคารพศรัทธาต่อพระรัตนตรัย และ (๔) อำเภอท่าตูม จังหวัด สุรินทร์ มีการจัดกิจกรรมการบวชนาคช้างถือเป็นการสืบต่ออายุพระพุทธศาสนา รูปแบบการพัฒนาภูมิปัญญาและประเพณีเชิงพุทธกับการส่งเสริมการเรียนรู้ของประชาชนใน เขตอีสานใต้ ผู้วิจัยได้ลงพื้นที่การวิจัยโดยการสัมภาษณ์ มี ๔ รูปแบบ คือ (๑) รูปแบบการส่งเสริมและการ พัฒนาองค์ความรู้ของภูมิปัญญาและประเพณีเชิงพุทธ มีการกำหนดสิ่งที่ต้องเรียนรู้ด้านประเพณี วัฒนธรรมและพิธีกรรม มีการสร้างและแสวงหาความรู้ มีกระบวนการทางความรู้ มีความคิดสร้างสรรค์ มี การจัดทำเป็นหนังสือเพื่อเป็นการพัฒนาให้เป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อเป็นต้นแบบหรือต้นฉบับองค์ความรู้ เพื่อใช้ในการศึกษาค้นคว้าเป็นรูปแบบเดียวกันในท้องถิ่น (๒) รูปแบบการส่งเสริมและการพัฒนาการ ถ่ายทอดภูมิปัญญาตามหลักศาสตร์สมัยใหม่ ซึ่งเป็นข้อมูลข่าวสารในชุมชน เพื่อการสร้างความสามัคคี หรือสร้างองค์ความรู้สมัยใหม่ให้แก่ชุมชน ให้ได้รับข้อมูลข่าวสารอย่างทั่วถึงรวดเร็ว การช่วยประสานงาน ที่เป็นประโยชน์ของความรู้ภูมิปัญญาประเพณีเชิงพุทธทั้งความรู้ดั้งเดิมและความรู้สมัยใหม่ในปัจจุบัน เพื่อ ข ผสมผสานให้ทันสมัย (๓) รูปแบบการส่งเสริมและการพัฒนาการสร้างเครือข่ายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มี การฝึกอบรม เป็นการสร้างกระบวนการเรียนรู้ตามหลักการ วิธีการและได้มีความรู้เพิ่มเติม สร้างความ สามัคคี มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประสานงานที่ให้มีประสิทธิภาพ สามารถสร้างสรรค์ความรู้ ความคิดเห็น ให้เป็นไปตามแบบอย่างจะเป็นแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ และประสบการณ์ และหน่วยงานภายในองค์กร (๔) รูปแบบการส่งเสริมและการพัฒนาการสร้างจิตสำนึกอนุรักษ์ประเพณีทางพุทธศาสนา ต้องปฏิบัติตาม หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา เพื่อสอดคล้องกับการดำเนินชีวิตที่ดีงาม เป็นการสร้างความเจริญและ ความสุขให้ทั้งตนเองและสังคม อีกอย่างหนึ่งก็เป็นการการสร้างอาสาสมัครเพื่อนำไปสู่สังคมความร่วมมือ ในชุมชนและพัฒนาตามกระบวนการไปสู่ถึงเป้าหมายโดยการใช้ความรู้ ความเข้าใจ สร้างความตระหนัก และความสำนึกในการเข้ามามีส่วนร่วมen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยen_US
dc.subjectรูปแบบการพัฒนาen_US
dc.subjectภูมิปัญญาen_US
dc.subjectประเพณีen_US
dc.subjectเชิงพุทธen_US
dc.subjectการส่งเสริมการเรียนรู้en_US
dc.subjectอีสานใต้en_US
dc.titleรูปแบบการพัฒนาภูมิปัญญาและประเพณีเชิงพุทธกับการส่งเสริม การเรียนรู้ของประชาชนในเขตอีสานใต้en_US
dc.title.alternativeThe Development Model of Buddhist Wisdom and Tradition and Promotion of Public Learning in Southern Isanen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2562-050ดร.สิรภพ สวนดง.pdf10.68 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.