Please use this identifier to cite or link to this item:
http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/397
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | พระครู, ปริยัติธรรมวงศ์ | - |
dc.contributor.author | อยู่พุ่ม, นิภาภัทร, | - |
dc.contributor.author | สนั่นนารี, นิเทศ | - |
dc.date.accessioned | 2022-03-18T06:57:06Z | - |
dc.date.available | 2022-03-18T06:57:06Z | - |
dc.date.issued | 2558 | - |
dc.identifier.uri | http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/397 | - |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดพระพุทธศาสนาเพื่อสังคมในสังคมไทยและ ประชาคมอาเซียน โดยวิเคราะห์วิธีการเผยแผ่ อิทธิพล ผลกระทบ และภูมิปัญญาพระพุทธศาสนาเพื่อ สังคมที่เป็นอัตลักษณ์ร่วมของสังคมไทยและประชาคมอาเซียน ผลการศึกษาพบว่า แนวคิด พระพุทธศาสนาเพื่อสังคมในความหมายของสังคมไทยและประชาคมอาเซียนคือองค์ความรู้ที่เกิด จากการปฏิบัติตามหลักธรรมในพระพุทธศาสนา ประกอบด้วยภูมิปัญญาทางโลกและภูมิปัญญาทาง ธรรมที่สัมพันธ์กับความเข้าใจโลกและชีวิต การมองโลกและชีวิตตามเป็นจริง จนพึ่งตนเอง มีสันติ สุขในชุมชนและสังคม ส่วนวิธีการเผยแผ่ อิทธิพล ผลกระทบมีหลากหลายรูปแบบ โดยภิกษุสงฆ์ ฆราวาส และองค์กรชุมชนใช้พระพุทธศาสนาเป็นเครื่องมือยกระดับจิตใจบุคคลให้พึ่งตนเองและให้ ชุมชนเข้มแข็ง ผ่านการผสมผสานกับรากฐานวัฒนธรรมเดิมของท้องถิ่นและวัฒนธรรมร่วมสมัย อัตลักษณ์ร่วม แบ่งได้เป็น ๒ ลักษณะ คือ (๑) ภูมิปัญญาทางโลก ค้นพบโดยปัจเจกชน กลุ่มชน ท้องถิ่น และรัฐ ในรูปของกฎหมาย จารีตประเพณีชุมชน วรรณกรรมทางโลกและทาง ศาสนาที่เป็นมุขปาฐะและเป็นลายลักษณ์อักษร และ (๒) ภูมิปัญญาทางธรรม ค้นพบจากภูมิธรรม ทางปริยัติและปัญญาญาณของภิกษุสงฆ์ทั้งฝ่ายคันถธุระและวิปัสสนาธุระ และปราชญ์ทางศาสนา ภูมิปัญญาทั้งสองเชื่อมโยงกันเป็นรากฐานในการมองโลก เป้าหมายชีวิต ค่านิยมและวิถีชีวิต การปรับตัว ต่อกระแสโลกาภิวัตน์ สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และการพัฒนาสังคมให้สงบสุขและยั่งยืน ภูมิปัญญา พุทธศาสนาเพื่อสังคมที่โดดเด่นของสังคมไทยคือรูปแบบการเผยแผ่พระพุทธศาสนาที่หลากหลาย เป็น ทางเลือกในการแก้ปัญหาชีวิต การพัฒนาชุมชนและสังคม ใน สปป.ลาว คือความเป็นหนึ่งเดียวของ สถาบันสงฆ์และการใช้พระพุทธศาสนาเป็นแนวทางการปกครองบ้านเมืองจนเป็น "ธรรมนูญ วัฒนธรรม" ในราชอาณาจักรกัมพูชา คือการบริหารประเทศแบบ “สังคมนิยมพระพุทธศาสนา” ภิกษุ สงฆ์มีสิทธิแสดงออกทางการเมืองได้อย่างเสรีภายใต้รัฐธรรมนูญจนชี้นำการเปลี่ยนแปลง สังคม และอัตลักษณ์ร่วม จำแนกได้ ๕ ด้าน ได้แก่ ด้านภูมิปัญญาทางโลกและทางธรรม ด้านการพัฒนา สังคม ด้านสุขภาพและการแพทย์ ด้านวรรณกรรมพระพุทธศาสนา และด้านทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม | en_US |
dc.publisher | สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | ภูมิปัญญา, | en_US |
dc.subject | พระพุทธศาสนาเพื่อสังคม, | en_US |
dc.subject | ประชาคมอาเซียน | en_US |
dc.title | ภูมิปัญญาพระพุทธศาสนาเพื่อสังคมของสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ | en_US |
dc.title.alternative | The Wisdom of Socially Engaged Buddhism in Association of Southeast Asian Nation | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
Appears in Collections: | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2558-100พระครูปริยัติธรรมวงศ์,.pdf | 14.14 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.