Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/393
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorกล้าหาญ, รุ่งทิพย์-
dc.contributor.authorกล้าหาญ, บรรชร-
dc.date.accessioned2022-03-18T06:50:38Z-
dc.date.available2022-03-18T06:50:38Z-
dc.date.issued2556-
dc.identifier.urihttp://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/393-
dc.description.abstractการวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi Experimental Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างรูปแบบการพัฒนาเยาวชนให้มีความเป็นผู้นำที่มีศีลธรรมด้วยกระบวนการสร้างอนาคตร่วมกัน และศึกษาผลการพัฒนาเยาวชนให้มีความเป็นผู้นำที่มีศีลธรรมด้วยกระบวนการสร้างอนาคตร่วมกันโดยกลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ ปีที่ ๓ (ปวช.๓) สังกัดวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีเชียงใหม่ ที่ลงทะเบียนเรียน ปีการศึกษา ๒๕๕๖ จำนวน ๑๘ คน การรวบรวมข้อมูลใช้วิธีเชิงประสมระหว่างเชิงปริมาณและคุณภาพ โดยใช้เครื่องมือคือ แผนการจัดกิจกรรมพัฒนาความเป็นผู้นำที่มีศีลธรรมตามกระบวนการสร้างอนาคตร่วมกันจำนวน ๑๓ ขั้นตอน ๒๓ กิจกรรม แบบบันทึกความดี โครงการพัฒนาตนเอง โครงการสร้างสังคมแห่งความสุข แบบวัดลักษณะความเป็นผู้นำที่มีศีลธรรมสำหรับก่อนและหลังร่วมกิจกรรม ซึ่งวัดประเมิน ๑๐ ด้านได้แก่ ความซื่อสัตย์สุจริต วินัย ความรับผิดชอบ ความยุติธรรม ความสามัคคี รอบคอบ อดทน ควบคุมตนเอง ภาษาและบุคลิกภาพ การตัดสินใจและการเรียนอย่างมีเป้าหมาย การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้สถิติพื้นฐานได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่า Paired Sample test รวมทั้งการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพจากการสังเกตพฤติกรรม การบอกเล่าบันทึกความดี การสนทนากลุ่มจากการสรุปบทเรียน โครงการพัฒนาตนเองและโครงการสร้างสังคมแห่งความสุขและเครือข่ายความดี ผลการวิจัยพบว่า หลังจากการร่วมกิจกรรมการพัฒนาลักษณะความเป็นผู้นำที่มีศีลธรรม ที่มีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ผ่าน กระบวนการ ๑๓ ขั้นตอน ๒๓ กิจกรรม ทำให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์การพัฒนาลักษณะความเป็นผู้นำที่มีศีลธรรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ โดยมีระดับค่าเฉลี่ยหลังร่วมกิจกรรมสูงกว่าก่อนร่วมกิจกรรม ทั้งนี้ลักษณะพฤติกรรมการเป็นผู้นำแต่ละด้านของผู้เรียนก่อนการร่วมกิจกรรมพบว่าความยุติธรรม (๓.๖๐) ความสามัคคี (๓.๓๗) ความรับผิดชอบ (๓.๓๖) การใช้คำพูดและกริยาที่เหมาะสม (๓.๓๓) การมีวินัย (๓.๓๐) ความซื่อสัตย์สุจริต (๓.๒๗) การควบคุมอารมณ์และการตัดสินใจ (๓.๒๖) ความอดทน (๓.๑๒) ด้านการเรียน (๓.๐๓) และความรอบคอบ (๒.๙๙) ตามลำดับโดยมีค่าเฉลี่ยรวมที่ ๓.๒๖ ภายหลังการร่วมกิจกรรม พบว่า ลักษณะพฤติกรรมการเป็นผู้นำแต่ละด้านของผู้เรียนมีระดับค่าเฉลี่ยสูงกว่า ดังนี้ การมีวินัย (๔.๓๒) ความซื่อสัตย์สุจริต (๔.๑๗) ความยุติธรรม (๔.๑๖) ความรับผิดชอบ (๔.๑๖) ความรอบคอบ (๔.๑๒) ความสามัคคี (๔.๑๑) การใช้คำพูดและกริยาที่เหมาะสม (๔.๑๑) การควบคุมอารมณ์และการตัดสินใจ (๔.๑๑) ความอดทน (๔.๐๙) และด้านการเรียน (๓.๗๕) ตามลำดับโดยมีค่าเฉลี่ยที่ ๔.๑๑ อนึ่งนักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมทุกคนยังแสดงความพึงพอใจในระดับมากที่สุดต่อกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อการพัฒนาลักษณะความเป็นผู้นำที่มีศีลธรรมด้วยกระบวนการสร้างอนาคตร่วมกันทั้ง ๑๑ แผน และ ๒๓ กิจกรรม จึงสรุปได้ว่าการใช้แผนกิจกรรมการพัฒนาความเป็นผู้นำที่มีศีลธรรมด้วยกระบวนการสร้างอนาคตร่วมกัน สามารถทำให้นักเรียนเกิดการพัฒนาคุณลักษณะความเป็นผู้นำที่มีศีลธรรม ซึ่งแสดงออกทั้งการคิด การพูด การกระทำ ที่วัดประเมินจากพฤติกรรมในชีวิตประจำวันที่แสดงถึงความซื่อสัตย์สุจริต วินัย ความรับผิดชอบ ความยุติธรรม ความสามัคคี รอบคอบ อดทน ควบคุมตนเอง ภาษาและบุคลิกภาพ การตัดสินใจและการเรียนอย่างมีเป้าหมายen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยen_US
dc.subjectการพัฒนาเยาวชนen_US
dc.subjectความเป็นผู้นำที่มีศีลธรรมen_US
dc.subjectกระบวนการสร้างอนาคตร่วมกันen_US
dc.titleการพัฒนาเยาวชนให้มีความเป็นผู้นำที่มีศีลธรรมด้วยกระบวนการสร้างอนาคตร่วมกันen_US
dc.title.alternativeDevelopment of Youth Ethical Leadership by Future Search Conferenceen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2556-025 นางรุ่งทิพย์ กล้าหาญ.pdf3.5 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.