Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/392
Title: การฟื้นฟูคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่ได้เข้าร่วมโครงการการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน
Other Titles: The Improvement of the Quality of Life of the Elderly People Joining in the Insight Meditation Retreat Project
Authors: วารีแสงทิพย์, จุฑามาศ
สุขพรรณ์, บำรุง
โอฐสู, บุญเลิศ,
Keywords: ผู้สูงอายุ
การฟื้นฟูคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ
โครงการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน
ผลของโครงการ สัญญาณชีพ
Issue Date: 2561
Publisher: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: ประเทศไทยมีผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมากอย่างรวดเร็ว ซึ่งมีผลกระทบต่อการพัฒนา เศรษฐกิจสังคม และคุณภาพชีวิตของคนในประเทศ เพื่อให้ได้ข้อมูลความรู้ในเรื่องการการปฏิบัติตนที่ เหมาะสม และทำให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตดีขึ้นอย่างถาวรจึงมีการศึกษาวิจัยในเรื่องนี้ขึ้น โดยมี วัตถุประสงค์คือ (1) เพื่อศึกษาการฟื้นฟูคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่ได้เข้าร่วมโครงการการปฏิบัติ วิปัสสนากัมมัฏฐาน (2) เพื่อศึกษาผลของโครงการการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานต่อผู้สูงอายุ ในการวิจัยครั้งนี้ ใช้วิธีการวิจัยกึ่งทดลอง โดยศึกษาแนวคิดการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน ในพระไตรปิฎก และศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับปัญหา และวิธีการเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ในปัจจุบัน จากข้อมูลดังกล่าวจึงได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูลจากผู้สูงอายุ ที่เข้าร่วมโครงการของการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน 5 แห่ง จ านวน 43 คน ไดมาโดยวิธีการสมัครใจเข้าร่วมในการวิจัยครั้งนี้ กลุ่มทดลองนี้ต้อง ปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน ตามที่ศูนย์ปฏิบัติธรรมกำหนด อย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 7 วัน วิธีการคือ ให้ กลุ่มตัวอย่าง ตอบแบบสอบถามข้อมูลทั่วไปก่อนเริ่มโครงการ และทำแบบประเมินสภาวะอารมณ์ แบบทดสอบคุณภาพชีวิต SF-36 (ฉบับภาษาไทย) อีกทั้งยังถูกตรวจวัดความดันโลหิต และสัญญาณชีพ ด้วย ก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการปฏิบัติวิปัสสนา 7 วัน ในการวิเคราะห์ผลลัพธ์ของข้อมูล ใช้โปรแกรม ส าเร็จรูป SPSS ของมหาวิทยาลัยมหิดล ในการหาค่าสถิติ โดยใช้การคำนวณหาค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) และค านวณค่าความแตกต่างอย่างมีนัยส าคัญทาง สถิติโดยใช้ t test ผลการศึกษากลุ่มตัวอย่างพบว่า ค่าเฉลี่ยของสัญญาณชีพของกลุ่มตัวอย่าง พบว่า กลุ่มตัวอย่างก่อนและหลังการศึกษา มี ค่าเฉลี่ยของ Systolic BP, Diastolic BP และ Pulse ลดลงจาก 136.6 เป็น 128.3, 77.9 เป็น 71.9 และ 75.6 เป็น 73.3 จาก P value สรุปได้ว่า ค่าเฉลี่ยของ Systolic BP, Diastolic BP และ Pulse ของกลุ่มตัวอย่างก่อนและหลังการศึกษา มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P value น้อย กว่า 0.01, น้อยกว่า 0.01 และเท่ากับ 0.02 ตามล าดับ) การประเมินภาวะความซึมเศร้าโดยใช้แบบประเมินสภาวะอารมณ์ (The Thai Depression Inventory, TDI) ของกลุ่มตัวอย่าง พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยก่อนการศึกษา 8.9 และคะแนนเฉลี่ยหลังการศึกษา 4.7 พบคะแนนเฉลี่ยลดลง และ P value น้อยกว่า 0.01 แสดง ว่า depression score ของกลุ่มตัวอย่างก่อนและหลังการศึกษา มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ เมื่อเทียบเป็นความรุนแรงของภาวะความซึมเศร้า พบว่า ผู้สูงอายุที่ปฏิบัติธรรมไม่มีภาวะ ซึมเศร้าเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 93 เป็น 100, ภาวะซึมเศร้าขั้นอ่อนลดลงจากร้อยละ 7 เป็น 0 และไม่พบ กลุ่มตัวอย่างที่มีภาวะซึมเศร้าขั้นปานกลาง ขั้นรุนแรง และขั้นรุนแรงมากทั้งก่อนและหลังการศึกษา การประเมินคุณภาพชีวิต ของกลุ่มตัวอย่างพบว่า กลุ่มตัวอย่าง มีคะแนน PF, RP, BP, GH, VT, SF, RE, MH, PCS, MCS และ Total SF36 เฉลี่ยเพิ่มขึ้นจาก 23.0 เป็น 24.7, 7.1 เป็น 7.5, 7.5 เป็น 8.8, 16.0 เป็น 19.3, 17.4 เป็น 19.5, 8.3 เป็น 9.5, 5.2 เป็น 5.8, 22.1 เป็น 25.2, 14.2 เป็น 16.0, 13.8 เป็น 15.8 และ 13.3 เป็น 15.0 ตามลำดับ ส่วนคะแนน RHT เฉลี่ยลดลงจาก 2.9 เป็น 2.5 จาก P value สรุปได้ว่า คุณภาพชีวิตของกลุ่มตัวอย่างก่อนและหลังการศึกษา มีความ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จึงสรุปได้ว่า การปฏิบัติอานาปานสติกัมมัฏฐาน ติดต่อกันเป็นเวลา 7 วัน เป็นการปฏิบัติ ที่เหมาะสม และมีผลดีต่อกลุ่มตัวอย่าง โดยมีความดันในหลอดเลือดขณะที่หัวใจบีบตัว ความดันใน หลอดเลือดขณะที่หัวใจคลายตัว และชีพจร ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนภาวะความซึมเศร้า พบว่า ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ด้านคุณภาพชีวิต พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีคุณภาพชีวิตดีขึ้นในทุก ๆ มิติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จึงสามารถน าวิธีการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานนี้ไปใช้กับผู้สูงอายุ ซึ่งเป็น ประชากรของประเทศไทยที่มีอัตราการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ให้อยู่อย่างมีคุณภาพชีวิต ทั้งทางด้าน ร่างกาย และจิตใจที่ดีขึ้น ซึ่งไปสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่ก าลังให้ความสำคัญกับสังคม ผู้สูงอายุ ในด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิต โดยวีธีการนี้เป็นการลงทุนที่น้อย และ ให้ผลเป็นเลิศ ต่อผู้ป่วยผู้สูงอายุ ดังกล่าวมาแล้ว
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/392
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2561-265 ดร.จุฑามาศ วารีแสงทิพย์ 1.pdf5.34 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.