Please use this identifier to cite or link to this item:
http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/391
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | พระครู, ธีรสุตพจน์ | - |
dc.contributor.author | หารุคาจา, พัลลภ | - |
dc.date.accessioned | 2022-03-18T06:47:25Z | - |
dc.date.available | 2022-03-18T06:47:25Z | - |
dc.date.issued | 2560 | - |
dc.identifier.uri | http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/391 | - |
dc.description.abstract | การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ ๑) ศึกษาองค์ประกอบของพุทธสถาปัตยกรรมล้านนา ๒) เพื่อศึกษาความเชื่อมโยงทางภูมิทัศน์วัฒนธรรมของวัดในอาเภอเมืองเชียงใหม่ ๓) เพื่อวิเคราะห์แนวคิดทางพุทธสถาปัตยกรรมและภูมิทัศน์วัฒนธรรมของวัดในอาเภอเมืองเชียงใหม่ เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่มเฉพาะกับผู้ให้ข้อมูลสาคัญ ผลการศึกษาพบว่า แนวคิดและองค์ประกอบของพุทธสถาปัตยกรรมภูมิทัศน์วัฒนธรรมของวัดในอาเภอเมืองเชียงใหม่ ประวัติศาสตร์วัฒนธรรมในดินแดนล้านนามีมาอย่างเก่าแก่ยาวนาน สถาปัตยกรรมก่อนล้านนาและสมัยปัจจุบันจึงแบ่งออกได้เป็น ๒ ประเภทใหญ่ๆ คือ ประเภทเจดีย์และประเภทอาคาร เช่น อุโบสถ วิหาร และหอพระไตรปิฎก การสร้างเจดีย์ในล้านนานิยมเรียกว่ากู่ แต่หากบรรจุพระบรมสารีริกธาตุลงไปจะเรียกว่าพระธาตุ สิ่งก่อสร้างประเภทนี้เป็นศูนย์กลางของวัด ภูมิทัศน์วัฒนธรรม คือ ทรัพย์สินทางวัฒนธรรมที่แสดงถึงการผสมผสานเชื่อมโยงระหว่างมนุษย์และธรรมชาติ ความเชื่อมโยงทางภูมิทัศน์วัฒนธรรมของวัดในอาเภอเมืองเชียงใหม่ การบูชาพระธาตุในล้านนาการให้ความสาคัญกับพระธาตุในช่วงหลังราชวงศ์มังรายและการเดินทางไปบูรณปฏิสังขรณ์วัดสาคัญในล้านนา ประกอบกับเป็นแนวทางที่สอดคล้องกับการจาริกแสวงบุญของครูบาศรีวิชัย วัดในจังหวัดเชียงใหม่ที่ครูบาไปบูรณปฏิสังขรณ์ ประกอบด้วย วัดพระสิงห์วรวิหาร พระอารามหลวง วัดสวนดอก พระอารามหลวง วัดศรีโสดา พระอารามหลวง วัดผาลาด วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร ประเพณีการเดินขึ้นดอยสุเทพนั้น เชื่อว่าคงจะมีการเริ่มกันตั้งแต่การเกิดเหตุการณ์ปาฏิหาริย์ที่องค์พระบรมสารีริกธาตุ วัดสวนดอกแยกออกเป็น ๒ องค์ จากจุดที่ช้างเดินจากวัดสวนดอกไปเรื่อยๆ ทาให้เกิดเส้นทางที่เรียกว่า ด่านช้าง ภายหลังจากที่สร้างวัดพระธาตุดอยสุเทพเสร็จแล้ว พระเจ้ากือนาก็ทรงใช้เส้นทางดังกล่าวนี้เดินขึ้นไปนมัสการพระธาตุดอยสุเทพ จนกลายมาเป็นประเพณีเดินดอยสุเทพสืบต่อมา วิเคราะห์แนวคิดทางพุทธสถาปัตยกรรมและภูมิทัศน์วัฒนธรรมของวัดในอาเภอเมืองเชียงใหม่ ประวัติศาสตร์วัฒนธรรมในดินแดนล้านนาว่ามีมาอย่างเก่าแก่ยาวนาน การสร้างพุทธสถาปัตยกรรมในยุคแรก เป็นการสร้างด้วยความศรัทธาในพระรัตนตรัย มีจุดประสงค์เพื่อประโยชน์ใช้สอยในการทากิจกรรมเพื่อสืบอายุพระพุทธศาสนา เช่น การสร้างวัด การสร้างศาสนสถาน การสร้างพระพิมพ์ เป็นต้น แต่ภายหลังคติการสร้างมีลักษณะผสมกับคติความเชื่อท้องถิ่นและอานาจเหนือธรรมชาติ โดยเชื่อว่าพระพุทธรูปและพระธาตุเจดีย์มีความศักดิ์สิทธิ์กว่าอานาจเหนือธรรมชาติ กลายเป็นภูมิทัศน์ทางวัฒนธรรม จากความเลื่อมใสในศาสนา ศิลปะ หรือกลุ่มวัฒนธรรม หรือองค์ประกอบทางธรรมชาติ วัฒนธรรมล้านนา และวัฒนธรรมทางพุทธศาสนาเป็นการยอมรับในความหลากหลาย การสร้างวัดมากมายในเชียงใหม่แสดงให้เห็นถึงความเจริญในพระพุทธศาสนา พระอุโบสถ พระวิหาร สถูปเจดีย์ต่างๆที่มีรูปแบบทางศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมแบบล้านนาที่สืบทอดเป็นแบบฉบับมาจนปัจจุบัน | en_US |
dc.publisher | สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | องค์ประกอบ | en_US |
dc.subject | พุทธสถาปัตยกรรม | en_US |
dc.subject | ภูมิทัศน์วัฒนธรรม | en_US |
dc.subject | เมืองเชียงใหม่ | en_US |
dc.title | การศึกษาองค์ประกอบพุทธสถาปัตยกรรมและภูมิทัศน์วัฒนธรรมของวัด ในอาเภอเมืองเชียงใหม่ | en_US |
dc.title.alternative | The Study of Buddhist Architecture and Cultural Landscape Temple Muang Chiang Mai | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
Appears in Collections: | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2560-005 พระครูธีรสุตพจน์.pdf | 2.74 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.