Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/390
Title: พระพิฆเนศ: แนวคิด พัฒนาการ และวิวัฒนาการผสมผสานทางความเชื่อ ในสังคมไทย
Other Titles: Ganesha: The Concepts, Developments and Evolution on Integrated Faith in Thai Society
Authors: หินไชยศรี, ศิลปะ
หินไชยศรี, ไวชาลี
Keywords: พระพิฆเนศ,
, แนวคิด
วิวัฒนาการ,
การผสมผสาน,
ความเชื่อ
สังคมไทย
Issue Date: 2560
Publisher: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยเรื่องพระพิฆเนศ: แนวคิด พัฒนาการ วิวัฒนาการการผสมผสานความเชื่อใน สังคมไทย เป็นการวิจัยแบบประยุกต์ (Applied Research) คือผสมผสานวิธี (Mixed Method Research) ได้แ ก่ การวิจัยเชิงป ริม าณ (Qualitative Research) แล ะ ก ารวิจัยเชิงคุณ ภ าพ (Qualitative Research) สามารถสรุปผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย ๓ ประการดังนี้ ประการแรก เพื่อศึกษาแนวคิด พัฒนาการ วิวัฒนาการของพระพิฆเนศในสังคมไทย ดำเนินการวิจัย โดยวิธีการ ๓ วิธี คือ ๑) การศึกษาเอกสารจากข้อมูลปฐมภูมิและทุติยภูมิ แล้ววิเคราะห์ข้อมูลด้วยการ วิเคราะห์เนื้อหา ๒) การแจกแบบสอบถามกลุ่มประชากรตัวอย่าง จำนวน ๔๐๐ รูป/คน แล้ววิเคราะห์ ข้อมูลด้วยค่าสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และนำเสนอในรูปแบบตารางประกอบคำบรรยาย ๓) การสัมภาษณ์ มีผู้ให้ข้อมูลสำคัญในการ สัมภาษณ์ ได้แก่ พระภิกษุ และประชาชนทั่วไปที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสถานที่ที่มีพระพิฆเนศตั้งอยู่ ๒ แห่ง คือวัดสมานรัตนาราม อำเภอคลองเขื่อน จำนวน ๑๐ รูป/คน และสมาคมชาวฉะเชิงเทรา (สมาคมชาวแปดริ้ว) จำนวน ๑๐ คน และผู้เชี่ยวชาญทางพระพุทธศาสนา รวมทั้งสิ้น จำนวน ๒๑ รูป/ คน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) และสรุปตามแบบสัมภาษณ์ ประการที่ ๒ เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงและการผสมผสานทางความเชื่อเกี่ยวกับพระพิฆเนศใน สังคมไทย และประการที่ ๓ เพื่อวิเคราะห์ผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงทางความเชื่อตามแนว พระพุทธศาสนาของสังคมไทย ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการสร้างรูปเคารพที่ไม่ได้มาจากความเชื่อทาง พระพุทธศาสนาจริง ๆ ซึ่งปรากฏให้เห็นทั่วไปในสังคมไทยปัจจุบัน โดยใช้วิธีเดียวกับวิธีที่ใช้ใน วัตถุประสงค์ประการแรก ข ๑. ด้านแนวคิดเกี่ยวกับพระพิฆเนศของสังคมไทยให้ความสำคัญว่าพระพิฆเนศเป็นเทพ แห่งการขจัดอุปสรรค และเป็นเทพที่พึ่งทางใจของผู้ประสงค์จะพ้นจากทุกข์มากกว่าแนวคิดพระ พิฆเนศเป็นเทพแห่งโชคลาภ และเป็นเทพแห่งศิลปวิทยา ซึ่งผู้ให้ข้อมูลให้ความสำคัญค่อนข้างน้อย . ๒. ด้านการพัฒนาการและวิวัฒนาการการเคารพนับถือพระพิฆเนศเพราะเห็นว่าผู้นำให้ ความเคารพนับถือจึงเคารพนับถือหรือประพฤติปฏิบัติตาม และเห็นว่าการเคารพนับถือพระพิฆเนศมี มาตั้งแต่สมัยเริ่มประวัติศาสตร์ชาติไทย ส่วนความเห็นเกี่ยวกับหน่วยงานภาครัฐของไทยบางหน่วยงาน ได้นำรูปพระพิฆเนศมาทำเป็นตราสัญลักษณ์ เพื่อแสดงความเคารพยกย่องตามผู้ให้ข้อมูลให้ ความสำคัญค่อนข้างน้อย ๓. การผสมผสานทางความเชื่อในสังคมไทย ผู้ให้ข้อมูลให้ความสำคัญเกี่ยวกับการสร้างรูป พระพิฆเนศไว้เคารพบูชา ไว้ให้เช่าเพื่อการหาทุนสร้างสาธารณประโยชน์ ศาสนสถาน หรือเพื่อการ ท่องเที่ยวตามสถานที่ต่าง ๆ ในประเทศไทยมีมากขึ้นทุกวันอย่างเห็นได้ชัดเป็นอันดับต้นๆ และเห็นว่า เหล่าศิลปินไทยแทบทุกแขนงต่างให้ความเคารพนับถือบูชาพระพิฆเนศ ปัจจุบันความเชื่อเรื่องเทพหรือ เทวดาทั้งแบบพราหมณ์หรือฮินดูและแบบพุทธของสังคมไทยยากที่จะแยกออกจากกันและในการ บำเพ็ญกุศลพิธีหรือบุญพิธี มักมีเรื่องเทพ/เทวดาเข้าเกี่ยวข้องเสมอ เช่นการสวดอัญเชิญเทพหรือ เทวดามาสถิตในมณฑลพิธีเป็นต้น เป็นเรื่องสำคัญตามลำดับ ๔. ด้านผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงทางความเชื่อตามแนวพระพุทธศาสนาของ สังคมไทย ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการสร้างรูปเคารพที่ไม่ได้มาจากความเชื่อทางพระพุทธศาสนาจริงๆ ซึ่ง ปรากฏให้เห็นทั่วไปในสังคมไทยปัจจุบัน ผู้ให้ข้อมูลให้ความสำคัญเกี่ยวกับผลกระทบและการ เปลี่ยนแปลงความตามแนวพระพุทธศาสนาของสังคมไทยในเรื่อง ไม่ว่าพระพุทธเจ้าหรือศาสดาของ ศาสนาอื่น ๆ ทุกท่านล้วนสอนคนให้เป็นคนดีเป็นอันดับต้นๆ ให้ความสำคัญเรื่อง สังคมไทยให้ ความสำคัญเรื่องปากท้องของตน เศรษฐกิจต้องมาก่อน เช่น การอยู่ดีกินดี เชื่อเทพหรือเทวดาองค์ใดก็ ได้ ขอให้ได้ประสบผลได้เร็วเช่นความร่ำรวย การไร้โรคาพยาธิ เป็นต้น เป็นใช้ได้ เป็นเรื่องรองลงมา และตามด้วยความเห็นว่าสังคมไทยส่วนมากสับสนไม่สามารถจำแนกว่าความเชื่อแบบใดเป็นพุทธหรือ ความเชื่อแบบใดเป็นพรามณ์หรือฮินดู และผลกระทบทางความเชื่อของสังคมไทยไม่น่าจะมี ถึงมีก็ไม่ มาก เพราะศาสนาพุทธและศาสนาฮินดูต่างมีคำสอนที่แตกต่างกันอยู่แล้ว
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/390
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2560-213ศิลปะ หินไชยศร.pdf4.19 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.