Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/387
Title: พระพุทธรูปไม้: คุณค่าและคติธรรมที่มีต่อวิถีชีวิตคนอีสาน
Other Titles: Wooden Buddha Statue: the Value and Principle on E-San People’s way of life
Authors: กตสาโร, พระปพน
Keywords: พระพุทธรูปไม้
คุณค่า
คติธรรม
อีสาน
Issue Date: 2560
Publisher: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยเรื่องพระพุทธรูปไม้ : คุณค่าและคติธรรมที่มีต่อวิถีชีวิตคนอีสาน มีวัตถุประสงค์ ๓ ข้อ ประกอบด้วย ๑) ประวัติและลักษณะของพระพุทธรูปไม้ ๒) คุณค่าทางศิลปกรรมของพระพุทธรูป ไม้ ๓) คุณค่าและคติธรรมที่มีต่อวิถีชีวิตของคนอีสาน เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการวิจัยถึงพระพุทธรูปไม้ : คุณค่าและคติธรรมที่มีต่อวิถีชีวิตคน อีสานด้วยวิธีการวิเคราะห์เชิงพรรณนาตามหลักอุปนัยวิธี ผลการวิจัยพบว่า ด้านประวัติและลักษณะของพระพุทธรูปไม้ เป็นการสร้างพระพุทธรูปเพื่อการเคารพบูชา การสร้างพระพุทธรูปไม่ใช่การสร้างรูปเหมือนของพระพุทธเจ้าแต่เป็นสัญลักษณ์แทนพระพุทธองค์เพื่อ ระลึกถึงพุทธคุณเป็นพุทธานุสสติ การสร้างพระพุทธรูปขึ้นมาเพื่อทาให้พระพุทธคุณที่เป็นนามธรรมถูก สื่อมาเป็นรูปธรรม พระพุทธรูปไม้อีสานเกิดจากค่านิยมของคนอีสานที่สรรสร้างพระไม้แล้วนาไปถวาย ไว้ที่วัดเพื่อเป็นสิริมงคลแก่ตน ตามคตินิยมคนอีสานจะใช้ไม้ที่เป็นมงคลเช่น ไม้โพธิ์ ไม้คูณ ไม้ยอ ไม้ แก่นจันทร์ ไม้พยุง ไม้ขนุน ไม้กระโดน ไม้มะขาม เป็นต้น มาแกะสลักพระไม้ที่ประกอบด้วยมหาปุริ สลักษณะ นิยมแกะสลักพระไม้เป็นพระปางประจาวันเกิดและที่พบมากในวัดต่างๆ จะมีปางนั่งสมาธิ และปางยืนคงเพราะข้อจากัดในเรื่องของขนาดไม้ ด้านคุณค่าทางศิลปกรรมของพระพุทธรูปไม้ ถูกรังสรรค์โดยกลุ่มช่างพื้นบ้านไม่มีความรู้และ ทักษะในการแกะสลักพระไม้แต่มีความสนใจในการแกะพระด้วยแรงศรัทธาที่บริสุทธิ์ ผลงานที่ปรากฏ จึงไม่มีความประณีต แต่คุณค่าที่ปรากฏในองค์พระไม้อาจไม่ได้เกณฑ์มาตรฐาน แต่มีความงามและแฝง ด้วยความศักดิ์สิทธิ์ที่ประกอบด้วยสุนทรียธาตุ ๓ อย่างคือ ความงาม (Beauty) ความแปลกหูแปลก ตา (Picturesqueens) และความน่าทึ่ง (Sublimity) และนาคุณ ค่าที่ได้จากการสักการะบูชา พระพุทธรูปไม้ซึ่งสัญลักษณ์ของการทาความดีเป็นแนวทางในการดาเนินชีวิตเพื่อความสงบสุขของ สังคมต่อไป ด้านคุณค่าและคติธรรมที่มีต่อวิถีชีวิตของคนอีสานซึ่งมีคตินิยมในการสร้างพระพุทธรูปไม้ ของคนอีสานเพื่อเป็นสื่อกลางของการทาความดี และเพื่อเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตของตนและชุมชนให้ อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข โดยมีคติความเชื่อดั้งเดิมที่สอดคล้องกับหลักคาสอนของพระพุทธศาสนา คุณค่าที่ได้จากพระพุทธรูปไม้ทาให้คนในสังคมอีสานมีวิถีชีวิตอยู่อย่างเรียบง่าย มีน้าใจ รักความสงบ อยู่อย่างพอเพียง จนเป็นแนวทางในการประพฤติและเป็นกรอบของสังคมจนเกิดเป็นวิถีชีวิต ประเพณี และวัฒนธรรมที่ดีงามโดยมีพระพุทธศาสนาเป็นพื้นฐานเป็นเบ้าหล่อหลอมลักษณะอุปนิสัยให้ดีงามจน เป็นเอกลักษณ์ในเชิงรูปธรรมให้แก่สังคมคนอีสาน
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/387
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2560-075 พระมหาปพน กตสาโร.pdf6.6 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.