Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/380
Title: การศึกษาวิเคราะห์หลักสูตรท้องถิ่นกับการส่งเสริมภูมิปัญญาล้านนา
Other Titles: A Critical Study of Local Curriculum and Promoting of Lanna Wisdom
Authors: ณ วันนา, ไพรินทร์
Keywords: การศึกษาวิเคราะห์
หลักสูตรท้องถิ่น
การส่งเสริมภูมิปัญญาล้านนา
Issue Date: 2556
Publisher: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ ๑.เพื่อศึกษาวิเคราะห์สภาพและปัญหาการจัดการเรียนการ สอนหลักสูตรท้องถิ่นกับการส่งเสริมภูมิปัญญาล้านนา กลุ่มโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดลาพูน ๒.เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรท้องถิ่น ๓.เพื่อศึกษา ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนวิชาเพิ่มเติมหลักสูตรท้องถิ่นกับการส่งเสริมภูมิปัญญา ล้านนา การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยพื้นฐาน (Basic Research) ประชากรคือ ผู้บริหารโรงเรียน จานวน ๑๕ คน ครูผู้สอนวิชาเพิ่มเติมหลักสูตรท้องถิ่น จานวน ๑๕ คน และนักเรียนในกลุ่มโรงเรียน มัธยมศึกษา จังหวัดลาพูน จานวน ๕๙๐ คน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนในกลุ่มโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดลาพูน จานวน ๒๓๕ คน และสัมภาษณ์บุคลากรภูมิปัญญาชาวบ้านล้านนา จานวน ๑๕ คน รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการพรรณนาวิเคราะห์ ซึ่งผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้ กกกกกกกก๑.สภาพและปัญหาการใช้หลักสูตรท้องถิ่นกับการส่งเสริมภูมิปัญญาล้านนา ๑.๑ ด้านการสารวจและการจัดทาข้อมูล พบว่า โรงเรียนมีการสารวจและจัดทาข้อมูล ของภูมิปัญญาชาวบ้านล้านนา ส่วนใหญ่ใช้แบบสอบถาม และแบบสารวจ จัดเก็บในแฟ้มข้อมูล คอมพิวเตอร์ และทาทะเบียนประวัติไว้ ๑.๒ ด้านการวางแผนหลักสูตร พบว่า โรงเรียนมีการคัดเลือกภูมิปัญญาชาวบ้าน ล้านนาที่มีความรู้ในรายวิชาที่เปิดสอนมาสอน โดยให้ครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้บริหาร โรงเรียน บุคลากรภูมิปัญญาชาวบ้าน และนักเรียนมีส่วนร่วมในการวางแผน การใช้และพัฒนา หลักสูตรท้องถิ่นในโรงเรียน โดยเน้นให้นักเรียนสามารถนาประสบการณ์ที่ได้รับไปใช้ประโยชน์ใน ชีวิตประจาวันได้ ๑.๓ ด้านการใช้หลักสูตร พบว่า โรงเรียนได้ประสานงานกับแหล่งวิทยากรภายนอก ประชุมชี้แจงครู นักเรียนและผู้ปกครอง โดยศึกษาสภาพปัญหาปัจจุบันของท้องถิ่นแล้วนามากาหนด เนื้อหาสาระให้เหมาะสมในการใช้หลักสูตรท้องถิ่น ๑.๔ ด้านการประเมินการเรียนรู้ พบว่า ครูผู้สอนเป็นผู้ประเมินผลงานของนักเรียน จากความตั้งใจปฏิบัติงานทั้งในชั่วโมงและเวลาว่าง และการสังเกตการปฏิบัติงาน ส่วนผลงานของ นักเรียนสามารถนาไปใช้เองในครอบครัว และเผยแพร่ต่อสาธารณชนโดยการจัดนิทรรศการภายใน โรงเรียนโดยครูผู้สอนประจารายวิชานั้นเป็นผู้นิเทศ ติดตาม กากับ ดูแลขณะดาเนินการ ก๒) ความพึงพอใจในการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรท้องถิ่น กับการส่งเสริมภูมิปัญญา ล้านนา โดยภาพรวมนักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (  = ๔.๑๙) กกกกกกกก๓) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนโดยภาพรวมนักเรียนร้อยละ ๘๐ มีคะแนนเฉลี่ย ๗๕.๘๖ ซึ่งมีผลการเรียนอยู่ในระดับ ๓ ขึ้นไป กกกกกกกกปัญหาที่พบในการสอนหลักสูตรท้องถิ่นกับการส่งเสริมภูมิปัญญาล้านนา จากความ คิดเห็นของผู้บริหารและครูผู้สอนวิชาเพิ่มเติมหลักสูตรท้องถิ่นและการสัมภาษณ์ภูมิปัญญาชาวบ้าน ล้านนา พบว่า งบประมาณที่โรงเรียนได้รับจัดสรรจากหน่วยงานไม่เพียงพอ บุคลากรภูมิปัญญา ชาวบ้านล้านนาไม่มีทักษะในการสอน เวลาในการพาผู้เรียนไปศึกษาจากแหล่งเรียนรู้ในชุมชนมีน้อย และมีผลกระทบต่อเวลาสอนในวิชาอื่น ข้อเสนอแนะ ควรหาแหล่งงบประมาณจากหน่วยงานที่มีการส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น จัดโครงการอบรมฝึกทักษะการสอนให้แก่บุคลากรภูมิปัญญาชาวบ้าน และเพิ่มเวลาในการศึกษาแหล่ง เรียนรู้หรือรวมคาบสอนในรายวิชาที่คล้ายกันเพื่อจะได้ไม่กระทบกับเวลาสอนในรายวิชาอื่น URI: http://198.7.63.81:8080/xmlui/handle/123456789/49 Appears in Collections: รายงานวิจัย
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/380
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2556-010 นายไพรินทร์ ณ วันนา.pdf2.02 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.