Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/379
Title: แรงงานต่างด้าวในจังหวัดเชียงราย : นโยบาย มาตรการ และการเข้าถึงการบริการสาธารณสุข
Other Titles: Alien Labourin Chiang Rai Province : Policy, Measurement And Accessing to Public Health Services
Authors: ปัญญาผ่องใส, ดำเนิน,
สิริวฑฺฒโน, พระอักขราภิศุทธิ์
พระครูธีรศาสน์ไพศาล
Keywords: แรงงานต่างด้าวในจังหวัดเชียงราย
นโยบาย มาตรการ
การเข้าถึงการบริการสาธารณสุข
Issue Date: 2561
Publisher: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้ เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษานโยบายการเข้าถึงการ บริการสาธารณสุขของแรงงานต่างด้าวในจังหวัดเชียงราย เพื่อพัฒนาระบบการบริการสาธารณสุข และแรงงานต่างด้าวในจังหวัดเชียงราย และเพื่อวิเคราะห์นโยบายด้านสาธารณสุขกับการเสริมสร้าง ความมั่นคงของจังหวัดเชียงราย โดยเลือกศึกษาเขตพื้นที่ในจังหวัดเชียงราย ๒ กลุ่ม คือ กลุ่มที่ ๑ โรงพยาบาลส่งเสริม สุขภาพตาบลเกาะช้าง อาเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย กลุ่มที่ ๒ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตาบล บ้านแซว อาเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย เลือกกลุ่มเป้าหมายเฉพาะเจาะจง จานวน ๑๘ คน ประกอบด้วยบุคลากรด้านสาธารณสุข จานวน ๒ แห่ง แห่งละ ๓ คน จานวน ๖ คน เจ้าหน้าที่ผู้ ให้บริการแรงงานต่างด้าว จานวน ๒ แห่ง แห่งละ ๑ คน จานวน ๒ คน แรงงานต่างด้าวหรือผู้ให้ ข้อมูล จานวน ๒ แห่ง แห่งละ ๕ คน จานวน ๑๐ คน ผลการวิจัยพบว่าปัญหาในการบริหารจัดการ ร่วมกันที่ยังขาดความรู้และความเข้าใจในองค์รวม สนับสนุน และการส่งเสริมของภาครัฐและเอกชน อย่างจริงจัง การทางานของชุมชนจึงไม่มีแรงขับเคลื่อนมากนัก การศึกษาสภาพปัญหาโดยภาพรวมใน การจัดการปัญญาท้องถิ่นในพื้นที่จังหวัดเชียงราย เพื่อที่จะให้กับประชาชนในพื้นที่และชุมชนใกล้เคียง แก้ปัญหา จึงส่งผลกระทบในการบริหารจัดการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการวางแผนพัฒนา ที่จะให้กลุ่มแรงงานต่างด้าวได้เดินทางเข้ามาอย่างถูกต้องตามกฎหมายและมีสิทธิที่จะได้การ รักษาพยาบาลจากส่วนงานของภาครัฐตามสิทธิขั้นพื้นฐาน รวมทั้งหน่วยงานความมั่นคงก็ได้สนับสนุน ให้แรงงานต่างที่อยู่นอกระบบเข้ามาสู่ระบบมากขึ้น ดังนั้น แรงงานกลุ่มนี้จึงมีแนวทางในการเดิน ทางเข้ามาในเขตราชอาณาจักรไทยมากขึ้น เพราะได้รับสิทธิที่พึงได้ตามหลักสิทธิมนุษยชนและลด ปัญหาอาชญากรรม ปัญหาโรคระบาด เป็นต้น โดยสรุปแล้วแรงงานต่างด้าวที่อยู่นอกระบบเห็นความสาคัญของการเข้าสู่แรงงานใน ระบบได้สิทธิหลายประการ อันเป็นประโยชน์ต่อตนเองและผู้ที่เข้าร่วมโครงการโดยมีนโยบายการ เข้าถึงการบริการสาธารณสุขของแรงงานต่างด้าวในจังหวัดเชียงราย ได้มีการพัฒนาระบบการ บริการสาธารณสุขและแรงงานต่างด้าว ซึ่งเกิดจากการวิเคราะห์นโยบายด้านสาธารณสุขกับการ เสริมสร้างความมั่นคงของจังหวัดเชียงราย ซึ่งมีโมเดลหรือรูปแบบดังนี้ ด้านสาธารณสุขคือ งานด้าน สาธารณสุข ด้านการเมืองและด้านการบริหารจัดการ ด้านการเข้าถึงการบริการสาธารณสุขคือ รูปแบบการบริการ สุขภาพและความเข้มแข็งซึ่งทาให้เกิดภาคีเครือข่าย และนโยบายด้านความมั่นคง คือ ให้แรงงานต่างด้าวนอกระบบให้เข้าสู่ระบบซึ่งมีประโยชน์ต่อการจัดการด้านความมั่งคงต่อไป
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/379
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2561-137นายดาเนิน ปัญญาผ่องใส.pdf3.34 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.