Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/374
Title: การศึกษากลยุทธ์การพัฒนาวัดการจัดการสาธารณูปการในจังหวัดพะเยา
Other Titles: The Study of Strategies for Temple Development in Construction and Renovation in Phayao.
Authors: บุญชัยมิ่ง, ใจ
Keywords: การศึกษากลยุทธ์
การพัฒนาวัด
การจัดการสาธารณูปการ
Issue Date: 2556
Publisher: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ ๑. เพื่อศึกษากลยุทธ์การพัฒนาวัด การจัดการสาธารณูปการในจังหวัดพะเยา ๒. เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วม การคิด การวางแผนของคณะสงฆ์ หน่วยงานภาครัฐและชุมชนในการพัฒนาวัด การจัดการสาธารณูปการในจังหวัดพะเยา ๓.เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคแนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการด้านสาธารณูปการของพระสังฆาธิการในจังหวัดพะเยา งานวิจัยฉบับนี้เป็นงานวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary Research) และงานวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) สำรวจเก็บข้อมูลแบบสัมภาษณ์เชิงลึก ( In-depth Interview ) และสนทนากลุ่ม ((Focus Group Discussion ) ข้อมูลได้จากหนังสือ เอกสารทางวิชาการ ตลอดถึงงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ด้วยการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างแบบเจาะลึก การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยกำหนดเก็บข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ วัด ๕ วัด พระสังฆาธิการ ๑๐ รูป สำนักงานพระพุทธศาสนา ๓ คน สำนักงานวัฒนธรรม ๓ คน ประชาชน ๑๐ คน วิเคราะห์ข้อมูลสรุปประมวลเขียนเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า ๑.ด้านก่อสร้างและบูรณปฏิสังขรณ์เสนาสนะวัดปัญหาที่พบคือขาดการดูแลเอาใจใส่จึงจำเป็นต้องมีการตั้งคณะกรรมการควบคุมดูแลให้มีผู้รับผิดชอบที่เป็นรูปธรรมและเอาใจใส่จริงๆ ๒.ด้านการพัฒนาวัดปัญหาที่พบคืองบประมาณก่อสร้างไม่เพียงพอจึงต้องมีการจัดหางบประมาณก่อนที่จะสร้าง ๓. ด้านการดูแลรักษาและจัดการศาสนสมบัติของวัดปัญหาที่พบคือดำเนินการให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดศาสนสมบัติของวัดยังไม่เป็นระบบแก่พระภิกษุสามเณร ๔.การมีส่วนร่วมของพระสังฆาธิการ หน่วยงานภาครัฐ ประชาชนปัญหาที่พบคือ มีความสนใจมาก ผลการศึกษาพบปัญหาและอุปสรรคของการพัฒนาวัดการจัดการสาธารณูปการในจังหวัดพะเยา สามารถสรุปได้เป็น ๘ ประการ คือ (๑) ปัญหาด้านงบประมาณ (๒) ปัญหาด้านการก่อสร้าง (๓) ปัญหาด้านการอนุรักษ์ศิลปกรรม (๔) ปัญหาด้านขาดทักษะความรู้และประสบการณ์ในการทำงาน (๕) ปัญหาด้านการมีส่วนร่วมของชาวบ้าน (๖) ปัญหาด้านการขาดความเชื่อถือและการยอมรับของสังคมชาวบ้าน (๗) ปัญหาด้านขวัญกำลังใจในการทำงาน (๘) ปัญหาด้านการกำหนดแผนและนโยบาย แผนการพัฒนาวัดและการปฏิบัติงานประจำปี ผลการวิจัยครั้งนี้ ทำให้ทราบว่า วัดทั้ง ๕ วัดมีกลยุทธ์การพัฒนาแตกต่างกัน การมีส่วนร่วมจากหน่วยงานและประชาชน มีการพัฒนาวัดด้านสาธารณูปการเป็นอย่างดี แต่การศึกษาเชิงลึก พบว่า การพัฒนาวัดด้านสาธารณูปการยังมีปัญหามาก
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/374
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2556-053 ดร.ใจ บุญชัยมิ่ง.pdf4.49 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.