Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/373
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorตปสีโล, พระใบฎีกาสุพจน์ ดร.-
dc.date.accessioned2022-03-17T07:01:26Z-
dc.date.available2022-03-17T07:01:26Z-
dc.date.issued2560-
dc.identifier.urihttp://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/373-
dc.description.abstractการศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อวิเคราะห์ความเชื่อมโยงของ“ชุมชนเศรษฐกิจพอเพียง” และ “หมู่บ้านรักษาศีล ๕” ในจังหวัดอุบลราชธานี ศรีสะเกษ บุรีรัมย์ และสุรินทร์ ๒) เพื่อเสนอรูปแบบบูรณาการ “ชุมชนเศรษฐกิจพอเพียง” และ “หมู่บ้านรักษาศีล ๕”ในจังหวัดอุบลราชธานี ศรีสะเกษ บุรีรัมย์ และสุรินทร์ ผู้วิจัยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยกำหนดกลุ่มเป้าหมาย ดังนี้ พระสงฆ์, ผู้นำชุมชน ,ประชาชน ที่มีภูมิลำเนาในชุมชนเศรษฐกิจพอเพียง และ หมู่บ้านรักษาศีล ๕ จังหวัดอุบลราชธานี ศรีสะเกษ บุรีรัมย์ และสุรินทร์ จำนวน ๙ รูป/คน พื้นที่เป้าหมาย ได้แก่ ชุมชนเศรษฐกิจพอเพียง และ หมู่บ้านรักษาศีล ๕ ในจังหวัดอุบลราชธานี ศรีสะเกษ บุรีรัมย์ และสุรินทร์ ใช้วิธีเลือกเฉพาะเจาะจง ส่วนเครื่องมือการวิจัยในการรวบรวมข้อมูลแบบสัมภาษณ์ และการสนทนากลุ่ม จำนวน ๒๐ รูป/คน ผลวิจัยพบว่าความเชื่อมโยงเศรษฐกิจพอเพียงสู่หมู่บ้านรักษาศีล ๕ ทำให้มีวิถีชีวิตเศรษฐกิจพอเพียง คือ “ประโยชน์สุข”โดยการนำหลักพุทธธรรม ๓ ประการ คือ ไตรสิกขา ได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา เป็นองค์ความรู้ที่ครอบคลุมการดำรงชีวิตทุกด้าน ซึ่งนำไปสู่การฝึกฝนและปัญญาให้คนเป็นมนุษย์โดยสมบูรณ์ทั้งด้านพฤติกรรม จิตใจ และสติปัญญา เพื่อเป็นการช่วยเหลือประเทศชาติอีกทางหนึ่ง รวมทั้งเป็นการส่งเสริมให้สังคมไทยมีศีลธรรม และคุณธรรมจริยธรรม ตามแนวทางของพระพุทธศาสนา นอกจากนั้นควรส่งเสริมให้เด็ก เยาวชน และประชาชนทุกเพศทุกวัยได้นำหลักธรรมคำสอนทางพระพุทธศาสนาไปพัฒนาชีวิตครอบครัว ชุมชน และสังคม โดยเน้นการรณรงค์ส่งเสริม และสนับสนุนให้มี “หมู่บ้านรักษาศีล ๕” ขึ้นในทุกส่วนของประเทศ ส่วนด้านการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง และโครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕ พบว่าล้วนแต่มีหลักการที่เน้นแก้ปัญหาสังคมในระดับรากหญ้า ในการวิจัยครั้งนี้มุ่งตอบโจทย์ที่ว่าจะทำอย่างไรจึงจะทำให้เกิดกระบวนการที่จะสามารถบูรณาการเชื่อมโยงหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง และหมู่บ้านรักษาศีล ๕ โดยกำหนดหลักการบูรณาการ คือการทำให้สมบูรณ์ ซึ่งเป็นการนำหน่วยย่อยเข้ามารวมกับหน่วยย่อยอื่นๆ ภายในชุมชนให้ทำงานอย่างเป็นระบบที่เกื้อหนุนกันอย่างสอดคล้องกัน เพื่อที่จะทำให้การพัฒนาชุมชนเป็นไปอย่างยั่งยืนโดยอาศัยกระบวนการ ดังนี้ หลักการของรูปแบบบูรณาการเพื่อเชื่อมโยงหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง และหมู่บ้านรักษาศีล ๕ เป็นรูปแบบที่มีระดมให้ดำเนินการของทุกภาคส่วนในชุมชน เข้ามามีส่วนเสริมสร้างชุมชนให้เข้มแข็ง ซึ่งจะเป็นการบูรณาการให้สามารถเชื่อมโยงให้ทุกเครือข่ายทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งกลยุทธ์ที่จะดึงเอาความรู้ความสามารถของปราชญ์ชาวบ้าน หรือคนในชุมชน รวมทั้งศักยภาพของหน่วยงานต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นประเพณี วัฒนธรรมท้องถิ่น หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา กลไกทางสังคม เพื่อให้สามารถนำมาใช้พัฒนาชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถนำไปปรับใช้ได้กับชุมชนทั่วไป มีข้อค้นพบ ๓ ส่วน หลักการที่ต้องเชื่อมโยงกัน มีดังต่อไปนี้ ๑. แหล่งความรู้ชุมชน แบ่งออกเป็น องค์กรชุมชน และ สื่อ ๒. แหล่งภูมิปัญญาชุมชน แบ่งออกเป็น คน และ กิจกรรมอื่น ๆ ๓. ความสัมพันธ์ บ้าน วัด โรงเรียน กับ แหล่งความรู้และแหล่งภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้วยหลักการทั้งสาม ดังกล่าว เมื่อนำมาปรับเปลี่ยนให้มีความเหมาะสม และสอดคล้องกับบริบทของแต่ละชุมชน จะก่อให้เกิดความเชื่อมโยงให้หลักการของ “หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง” และ “หมู่บ้านรักษาศีล ๕”ได้อย่างสมบูรณ์en_US
dc.publisherสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยen_US
dc.subjectการพัฒนาชุมชนที่ยั่งยืนen_US
dc.subjectการเชื่อมโยงen_US
dc.subjectชุมชนเศรษฐกิจพอเพียงen_US
dc.subjectหมู่บ้านรักษาศีล ๕en_US
dc.titleการพัฒนาชุมชนที่ยั่งยืน : การเชื่อมโยง ชุมชนเศรษฐกิจพอเพียง และ หมู่บ้านรักษาศีล ๕ ในจังหวัดอุบลราชธานี ศรีสะเกษ บุรีรัมย์ และสุรินทร์en_US
dc.title.alternativeThe Community Sustainable Development: The Correlation between the Sufficiency Economy Community and the Sila 5 village in Ubonratchathani, Sisaket, Buriram and Surin.en_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2560-181 พระใบฎีกาสุพจน์ ตปสีโล, ดร..pdf8.31 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.