Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/372
Title: ศึกษารูปแบบแนวทางการเสริมสร้างสุขภาวะของผู้สูงอายุตามหลักพระพุทธศาสนา ในจังหวัดอุบลราชธานี
Other Titles: The Style approach to strengthen the health of the elderly on Buddhism Principle in Ubonratchathani Province
Authors: ศรไชย, ประยงค์
พระครูวุฒิธรรมบัณฑิต
ปภากโร, พระมหาคำพันธ์
พระครูจินดาสารานุกูล
อุดมโชคนามอ่อน, ไชยสิทธิ์
Keywords: รูปแบบแนวทางการเสริมสร้างสุขภาวะ
สุขภาวะของผู้สูงอายุตามหลักพระพุทธศาสนา
Issue Date: 2559
Publisher: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาวิจัยเรื่อง "ศึกษารูปแบบแนวทางการเสริมสร้างสุขภาวะของผู้สูงอายุตามหลักพระพุทธศาสนา ในจังหวัดอุบลราชธานี" ทำให้เห็นถึงการเพิ่มขึ้นในปีถัดไป ซึ่งปัญหาสุขภาพของผู้สูงอายุที่พบมาก มีทั้งปัญหาสุขภาพทางกายและสุขภาพทางจิต ซึ่งทั้ง ๒ ส่วนทำให้เกิดปัญหาความสำคัญ ได้แก่ โรคซึมเศร้า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่อยู่บ้านเพียงลำพัง ขาดผู้ดูแล ด้วยเหตุนี้จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการเสริมสร้างสุขภาพผู้สูงอายุโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ในจังหวัดอุบลราชธานี มุ่งหมายให้เป็นโครงการที่ดูแลผู้สูงอายุแบบองค์รวมทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และสังคม ของผู้สูงอายุโดยชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแล รักษาและฟื้นฟูสุขภาพ โดยให้คนในชุมชน ได้มีส่วนร่วมในการดูแลผู้สูงอายุ โดยทุกคนในชุมชนต้องได้รับการปลูกฝัง ให้มีพื้นฐานจิตสำนึก ความคิดและการปฏิบัติต่อผู้สูงอายุโดยต้องตระหนักถึงคุณค่าความสำคัญของผู้สูงอายุ ภายใต้คำขวัญที่ว่า “แก่อย่างมีคุณค่า ชราอย่างมีศักดิ์ศรี” ตามรูปแบบการเสริมสร้างสุขภาวะของผู้สูงอายุตามหลักพระพุทธศาสนา และได้ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ ดังนี้ ๑. เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎี หลักการ และวิธีการดูแลสุขภาวะผู้สูงอายุ ๒. เพื่อศึกษากระบวนการการจัดการส่งเสริมสุขภาวะของผู้สูงอายุในจังหวัดอุบลราชธานี ๓. เพื่อเสนอกระบวนการเสริมสร้างสุขภาวะของผู้สูงอายุตามหลักพระพุทธศาสนา ดังนี้ ๑. กระบวนการการจัดการสุขภาวะของผู้สูงอายุในจังหวัดอุบลราชธานี ๑.๑ ด้านกระบวนการการจัดการกิจกรรมร่วมกับชุมชน ด้วยรูปแบบการจัดกิจกรรมตามความสุขตามหลักพระพุทธศาสนาเป็นตัวกำหนดที่ชัดเจนในกลุ่มผู้สูงอายุของวัดโกวิทารามได้นำเอาวันสำคัญทางพระพุทธศาสนามาเป็นรูปแบบให้มีการพบปะกลุ่มผู้สูงอายุและมีการถ่ายทอดรับฟังหลักธรรมทางพระพุทธศาสนามาใช้ทำให้เกิดสุขภาวะที่ดีโดยรวมแล้ว ทางกลุ่มผู้สูงอายุวัดศรีปะดู่ก็มีรูปแบบที่ชัดเจนคือการกำหนดกิจกรรมด้วยการออกกำลังกายจากกลุ่มพยาบาลวิชาชีพที่สนับสนุนจากเทศบาลตำบลในเมืองอุบลราชธานีมาพบปะส่งเสริมการออกกำลังกายโดยขยับกายตามเสียงเพลงและร่วมภาวนาจิตทุกเช้าในการทำบุญที่วัดเป็นรูปแบบที่ชัดเจนที่วัดให้การสนับสนุนกลุ่มผู้สูงอายุในชุมชนทั้ง ๒ ได้ดำเนินการคล้ายคลึงกัน แต่อย่างนั้นหน่วยงานของรัฐได้มาจัดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างสุขภาวะของกลุ่มผู้สูงอายุ ซึ่งทั้ง ๒ กลุ่มจะมีวงรอบในการดำเนินสุขภาวะที่เป็นไปในแนวทางคล้ายๆกันเพราะทางภาครัฐได้เข้ามาร่วมจริง และจัดงบประมาณลงมาแต่ไม่ค่อยได้เท่าที่ควร ดังนั้นการดำเนินกิจกรรมเสริมสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุตามหลักพระพุทธศาสนามีผลต่อตัวเอง และชุมชนครอบครัว ทั้ง ๒ ชุมชนก็ดำเนินการจนทำให้ผู้สูงอายุมีสุขภาวะทางจิตและทางร่างกายที่ดี เพราะในพื้นที่ชุมชนเมืองทั้ง ๒ กลุ่มนี้จะมีผู้สูงอายุที่เป็นข้าราชการบำนาญมากไม่ส่งผลให้ลูกหลานๆได้รับภาระค่าใช้จ่ายมากนัก ลูกหลานรักดูแลผู้สูงอายุด้วยความรักที่ชุมชน วัด และหน่วยงานราชการมาสรรสร้างและปลูกฝังให้เกิดประโยชน์ได้รับความรู้จนทำให้ชุมชนทั้งสองเป็นชุมชนที่เข้มแข็งจริงๆในเรื่องสุขภาวะของผู้สูงอายุตามหลักพระพุทธศาสนาอีกด้วย ๑.๒ การดำเนินการด้านความภาคภูมิใจในการดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับสุขภาวะด้านเสริมสร้างสุขภาวะมีผลต่อตนเอง และชุมชนครอบครัว มีความหมายของความสุขตามหลักพระพุทธศาสนาว่าด้วยการที่พุทธศาสนานั้นเปรียบประดุจกับพระเจดีย์ ที่มีฐานกว้าง แล้วค่อยๆ สูงชะลูดขึ้นไปจนถึงยอดซึ่งเล็กและแหลม หมายความว่า ผู้ที่เรียกตัวเองว่าพุทธศาสนิกชนนั้น ส่วนมากเป็นคนที่มีศรัทธาความเชื่อในทางศาสนาอย่างที่เคยเรียนรู้และประพฤติปฏิบัติกันมาแต่บรรพชน จนเป็นประเพณีและพิธีกรรม หรือเป็นส่วนสำคัญของวัฒนธรรมประจำชีวิตและสังคม เช่น การทำบุญ ให้ทาน รักษาศีล และภาวนา เท่าที่จะมีศรัทธามากน้อยเพียงใด โดยเชื่อว่านี้แลคือความสุข ทั้งในปัจจุบัน และอนาคต ซึ่งรวมถึงการไปเกิดในชาติหน้า ภพหน้า ต่อเมื่อเข้าถึงที่สุดแห่งทุกข์ จึงไม่เวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไป นับว่าเป็นบรมสุข สมดังพุทธสุภาษิตที่ว่า นตฺถิ สนฺติ ปรมํ สุขํ สุขอื่นยิ่งกว่าความสงบไม่มี ส่งผลให้การดำเนินกิจกรรมที่ดำเนินการที่ทำให้ภาคภูมิใจของกลุ่มในการเสริมสร้างสุขภาวะทางพระพุทธศาสนา เกิดความรักใคร่และสร้างความอบอุ่นในครอบครัว หลักธรรมในทางพระพุทธศาสนาก็ส่งผลถึงจิตใจที่สงบ เยือกเย็นของผู้สูงอายุที่ไม่เกิดปัญหาในครอบครัว และชุมชน ชุมชนจึงเป็นชุมชนที่มีผู้สูงอายุที่มีภูมิคุ้มกันมีความเอื้อเฟื้อ และช่วยเหลือกันของกลุ่มเพื่อเสริมสร้างสุขภาวะทางพระพุทธศาสนาให้มีความมั่นคงที่ยั่งยืนตลอดไป ๒. แนวทางเสนอกระบวนการการเสริมสร้างสุขภาวะของผู้สูงอายุตามหลักพระพุทธศาสนา ดังนี้ ๒.๑ แนวทางกระบวนการการเสริมสร้างสุขภาวะตามหลักพระพุทธศาสนา เป็นสถานการณ์และการจัดระบบการดูแลผู้สูงอายุในชุมชน จากการคาดการณ์ประชากรของประเทศไทย ชี้ให้เห็นว่าประเทศไทยเป็นสังคมผู้สูงวัยอย่างเต็มรูปแบบ ทำให้ส่งผลกระทบในหลากหลายมิติโดยเฉพาะในด้านสุขภาพ ซึ่งต้องมีการจัดระบบการดูแลที่มีประสิทธิภาพ จนเกิดกรอบแนวคิดของการจัดระบบดูแลสุขภาพผู้สูงอายุใช้หลักการดูแลแบบ ผสมผสาน ได้แก่การดูแลองค์รวม การประสานการดูแลรวม กับหน่วยงานและองค์กรที่เกี่ยวข้อง โดยหัวใจการให้บริการ ผู้สูงอายุในชุมชนคือ การบูรณาการภาคีหลัก ๓ ภาคีได้แก่ ภาคีบริการชุมชน ภาคีบริการสุขภาพ และภาคีบริการสังคม และได้สร้างแนวคิดและวิธีการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ การสร้างเสริมสุขภาพ (health promotion) เป็นกระบวนการที่ช่วยให้สามารถควบคุมและเพิ่มพูน สุขภาพได้ และการมีส่วนร่วมของชุมชนกับการสร้างเสริมสุขภาพ ๒.๒ ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินกิจกรรมเสริมสร้างสุขภาวะของกลุ่มผู้สูงอายุ ส่วนใหญ่จะเกิดจากผู้สูงอายุที่มีภาวะเป็นผู้พึ่งพิงทั้ง ๓ ประการทำให้ไปร่วมกิจกรรมลำบากแต่ในทาง ซึ่งเป็นภารพแก่ลูกหลาน แต่อย่างไรในชุมชนทั้ง ๒ นี้มีความชัดเจนมีกิจกรรมคล้ายๆกัน คือเยี่ยมบ้านสมาชิกของชุมชนที่มีผู้สูงอายุตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ด้วยคำว่า เกื้อกูล อุ้มชู ปัดเป่า รักด้วยครอบครัวเดียวกัน ส่งผลให้ผู้สูงอายุทั้งสองชุมชนนี้มีสุขภาวะทางด้านจิตใจและร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรงตามวัย และอีกประการหนึ่งคือทางหน่วยงานภาครัฐได้สนับสนุนงบประมาณไม่ได้เท่าที่ควร สมาชิกในกลุ่มจึงช่วยเหลือกันโดยการเก็บเงินเพื่อเข้ากองทุนผู้สูงอายุแบ่งการบริหารงานอย่างชัดเจน เป็นการดูแลกันที่ยั่งยืนสืบไป ๒.๓ ทำให้วัด ชุมชน และทางหน่วยงานราชการต้องมีการสนับสนุนงบประมาณที่เพิ่มขึ้น และจัดโครงการดูแลแบบต่อเนื่องทำให้สังคมผู้สูงอายุในประเทศไทยที่เกิดขึ้นนี้ยั่งยืน เป็นการดีที่ประเทศไทยเรานับถือศาสนาพุทธ ซึ่งเป็นศาสนาที่มีความเกื้อกูลกันเป็นที่เลื่อมใสในพระพุทธศาสนาที่เราหมั่นปฏิบัติตามคำสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ชีวิตที่ปฏิบัติบำบัดกายและใจ สุขภาพจิตที่ดีส่งผลให้สุขภาวะทางร่างกายดีไปด้วย
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/372
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2559-191 นายประยงค์ ศรไชย.pdf3.16 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.