Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/369
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorไพฑูรย์ , สวนมะไฟ-
dc.date.accessioned2022-03-17T06:55:03Z-
dc.date.available2022-03-17T06:55:03Z-
dc.date.issued2558-
dc.identifier.urihttp://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/369-
dc.description.abstractรายงานการวิจัย เรื่อง “การมีส่วนร่วมของพระสงฆ์ในการจัดการแหล่งโบราณคดีจังหวัดร้อยเอ็ด” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการจัดการแหล่งโบราณคดีในจังหวัดร้อยเอ็ด เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของพระสงฆ์ในการจัดการแหล่งโบราณคดีในจังหวัดร้อยเอ็ด และเพื่อเสนอแนวทางการจัดการแหล่งโบราณคดีโดยการมีส่วนร่วมของพระสงฆ์ในจังหวัดร้อยเอ็ด รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ พื้นที่วิจัยคือ แหล่งโบราณคดีในจังหวัดร้อยเอ็ด กลุ่มเป้าหมาย ๓๐ รูป/คน เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์เนื้อหาโดยอุปนัยวิธี ผลการวิจัยพบว่า ๑) ด้านสถานที่และสิ่งแวดล้อม พระสงฆ์มีบทบาทในการอนุรักษ์โบราณคดีน้อย ทั้งกฎหมายอนุรักษ์โบราณคดีมีลักษณะเป็นข้อห้าม ไม่ได้ระบุการมีส่วนร่วมของชุมชน งานการมีส่วนร่วมจึงไม่มีเป้าหมายที่ชัดเจน ขาดการปรับสภาพภูมิทัศน์และการจัดการความรู้ เช่น คู่มือการศึกษาโบราณคดี ๒) ด้านบุคลากร พระสงฆ์ไม่ได้มีส่วนร่วมในงานบุคคลแต่อย่างใด เพราะเป็นงานราชการ ไม่ได้เกี่ยวข้องกับพระสงฆ์ บุคลากรในที่นี้หมายเอาการทางานร่วมกันในลักษณะเป็นตัวแทนหรือเป็นส่วนหนึ่งของกรมศิลปากร พระสงฆ์มีส่วนร่วมในการทางานร่วมกับกรมศิลปากรน้อยมาก เป็นแต่เพียงผู้ดูแลโบราณคดีเท่านั้น มีส่วนร่วมในระดับเสนอความคิดเห็นเพื่อขออนุญาตกรมศิลปากรบูรณะซ่อมแซมโบราณคดีเท่านั้น ๓) ด้านวัสดุและงบประมาณ วัสดุที่มุ่งศึกษาในงานวิจัยนี้เกี่ยวข้องกับการซ่อมแซมโบราณคดีเท่านั้น ไม่ใช่งานวัสดุของหน่วยงาน การจัดซื้อวัสดุด้วยงบประมาณแผ่นดินพระสงฆ์ไม่ได้มีส่วนร่วม เพราะเป็นหน้าที่ของสานักศิลปากร แต่การจัดซื้อหรือจัดหาวัสดุด้วยเงินบริจาคพระสงฆ์สามารถมีส่วนร่วมได้ แต่ไม่ได้เป็นผู้ตัดสินใจทั้งหมด เพราะการกาหนดและการออกแบบพัสดุต้องได้รับความเห็นชอบจากช่างผู้เชี่ยวชาญของกรมศิลปากร พระสงฆ์ไม่ได้มีส่วนร่วมในการจัดการบริหารงบประมาณแผ่นดิน แต่มีส่วนร่วมในการใช้แสวงหาและใช้จ่ายงบประมาณในการดูแลรักษาโบราณคดีเฉพาะการบูรณะซ่อมแซมด้วยเงินบริจาคของชาวบ้านเท่านั้น ๔) ด้านความร่วมมือในการดูแลรักษา ลักษณะของการอนุรักษ์โบราณคดีของพระสงฆ์คือดูแลรักษาไม่ให้เสียหาย เมื่อเห็นว่าชารุดทรุดโทรมหรือเสียหายก็แจ้งกรมศิลปากร ไม่ซ่อมแซมเองโดยพลการ เพราะอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อโบราณคดีได้ หรือทาให้โบราณคดีลดคุณค่าลงเพราะใช้วัสดุอุปกรณ์ไม่เหมาะสม ไม่รู้ลักษณะของสถาปัตยกรรมหรือศิลปะ พระสงฆ์ไม่ได้มีความรู้สึกว่าตนเองเป็นเจ้าของ ดังนั้นจึงไม่มีแรงจูงใจให้ขวนขวายจัดการพัฒนาเพื่อเพิ่มมูลค่าของโบราณคดี ปัญหาสาคัญของงานอนุรักษ์โบราณคดีและการสร้างความร่วมมือกับชุมชนคือเจ้าหน้าที่กรมศิลปากรไม่ค่อยได้สร้างความสัมพันธ์กับชุมชน การแบ่งปันข้อมูลและการทางานร่วมกันจึงเกิดขึ้นได้ยาก ขั้นตอนและกระบวนการการมีส่วนร่วมในการจัดการสถานที่และสิ่งแวดล้อม มีแนวทางดังนี้คือ สานักศิลปากรที่ ๘ ควรได้จัดทาโครงการพัฒนาสภาพแวดล้อม และโครงการจัดการความรู้แหล่งโบราณคดีในสังกัด เช่น คู่มือศึกษากู่ สิมโบราณ เป็นต้น, การมีส่วนร่วมในด้านบุคลากรมีแนวทางเกี่ยวกับขั้นตอนการทางานดังนี้คือ สานักศิลปากรที่ ๘ ควรจัดทาโครงการ โดยกาหนดให้ชาวบ้านมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์โบราณคดีร่วมกับเจ้าหน้าที่สานักศิลปากร รูปแบบของโครงการ/กิจกรรม ควรให้เจ้าหน้าที่กรมศิลปากร นักกฎหมาย เป็นผู้อธิบาย/ชี้แจงระเบียบการอนุรักษ์และหลักการพัฒนาโบราณคดี พระสงฆ์และผู้สูงอายุเป็นผู้ถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับความเป็นมาและความสาคัญของโบราณคดีประจาชุมชนแก่เยาวชน ควรจัดกิจกรรม เช่น นิทรรศการ งานประจาปี โดยมีการประชุมร่วมวางแผนการดาเนินงาน เปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องแสดงความคิดเห็น นาเสนองานสร้างสรรค์ที่เป็นผลงานของคนในชุมชน และจัดให้มีการประกวดและตัดสินรางวัลแก่ผู้มีผลงานดีเด่นด้านการอนุรักษ์และพัฒนาโบราณคดี กิจกรรมอื่นๆ นอกนี้ที่ควรทา เช่น หลักสูตรการอนุรักษ์และพัฒนาโบราณคดี เป็นต้น ขั้นตอนและกระบวนการในการจัดทางบประมาณและจัดซื้อวัสดุในกรณีเป็นงบรายได้ มีแนวทางปฏิบัติดังนี้ เมื่อพบโบราณคดีชารุดหรือเสียหาย ก็ให้แจ้งเจ้าหน้าที่กรมศิลปากรมาตรวจสอบเพื่อประเมินและอนุมัติการซ่อมแซม เมื่อได้รับอนุมัติให้ซ่อมแซมแบบเงินบริจาคแล้ว พระสงฆ์ควรประชุมร่วมกับชาวบ้านและเจ้าหน้าที่กรมศิลปากรเพื่อปรึกษาหารือหาแนวทางการซ่อมแซม การได้มาซึ่งงบประมาณดาเนินงาน และแต่งตั้งคณะกรรมการดาเนินโครงการ การจัดหางบประมาณดาเนินการที่เป็นเงินบริจาคของชาวบ้าน เช่น ทอดผ้าป่า จัดงานกฐิน จัดโครงการปฏิบัติธรรม จัดงานพุทธาภิเษก เป็นต้น ควรหลีกเลี่ยงการออกเรี่ยไรตามหมู่บ้านต่างๆ เมื่อได้ปัจจัยมา ก็ควรดาเนินการตามที่ได้ตกลงกัน นอกจากการระดมปัจจัยก่อสร้าง (เงิน) แล้ว จะระดมวัสดุก่อสร้างก็ได้ ซึ่งเป็นการได้ป้องกันการทุจริตเงินได้อีกด้วย เกี่ยวกับรายรับรายจ่ายควรได้ทาบัญชีและเก็บหลักฐานการเงินไว้เป็นอย่างดี เพื่อรองรับการตรวจสอบหรือป้องกันปัญหาการร้องเรียนเรื่องการเงินในภายหลัง ส่วนการให้ความร่วมมือดูแลรักษาควรทากิจกรรมในรูปแบบที่หลากหลาย เช่น การประชาสัมพันธ์ การสัมมนา การศึกษาดูงาน การสร้างเครือข่าย การจัดงานประจาปีen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยen_US
dc.subjectการมีส่วนร่วมของพระสงฆ์en_US
dc.subjectการจัดการโบราณคดีen_US
dc.subjectจังหวัดร้อยเอ็ดen_US
dc.titleการมีส่วนร่วมของพระสงฆ์ในการจัดการแหล่งโบราณคดี จังหวัดร้อยเอ็ดen_US
dc.title.alternativeSangha's participation on archaeological places Management in Roi-Et provinceen_US
dc.typeThesisen_US
dc.typeVideoen_US
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2558-032ดร.ไพฑูรย์ สวนมะไฟ.pdf4.3 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.