Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/364
Title: ปัญหาและความต้องการใช้เทคโนโลยีการศึกษาของอาจารย์ผู้สอน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครราชสีมา
Other Titles: The Problems and Needs to Utilize Educational Technology of Instructors in Mahachulalongkornrajavidyalaya University, Nakorn Ratchasima Campus
Authors: มหรรธนาธิบดี, ปฏิภาณ์
ปุผาลา, จานงค์
Keywords: ปัญหาและความต้องการใช้เทคโนโลยีการศึกษา
อาจารย์ผู้สอน
Issue Date: 2560
Publisher: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาและความต้องการใช้เทคโนโลยีการศึกษาของ อาจารย์ผู้สอน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครราชสีมา ประชากรที่ใช้ใน การวิจัย คือ อาจารย์ผู้สอนทั้งอาจารย์ประจาและอาจารย์พิเศษ ในมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราช วิทยาลัย วิทยาเขตนครราชสีมา จานวน 76 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบคาถามเพื่อ การวิจัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test ผลการวิจัย พบว่า 1. ข้อมูลทั่วไป อาจารย์ผู้สอนเป็นอาจารย์พิเศษ คิดเป็นร้อยละ 67.1 อาจารย์ประจา คิด เป็นร้อยละ 32.9 อาจารย์คฤหัสถ์ คิดเป็นร้อยละ 51.3 อาจารย์บรรพชิต คิดเป็นร้อยละ 48.7 อาจารย์มีอายุระหว่าง 46-55 ปี คิดเป็นร้อยละ 53.9 มีประสบการณ์การทางานระหว่าง 16-20 ปี คิดเป็นร้อยละ 47.4 มีวุฒิปริญญาโท คิดเป็นร้อยละ 75.0 และดารงตาแหน่งทางวิชาการเป็น อาจารย์ผู้สอน คิดเป็นร้อยละ 85.5 2. สภาพการมีและการใช้เทคโนโลยีการศึกษาของวิทยาเขตนครราชสีมา อาจารย์ผู้สอน ค้นคว้าหาความรู้เทคโนโลยีการศึกษาด้วยตนเอง คิดเป็นร้อยละ 63.2 รองลงมา เห็นประโยชน์ของ เทคโนโลยีการศึกษาระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 52.6 และค้นหาสื่อจากคู่มือช่วยค้น เช่น คอมพิวเตอร์ คิดเป็นร้อยละ 46.1 และน้อยที่สุด ค้นหาสื่อโดยสอบถามหน้าที่มหาวิทยาลัย คิด เป็นร้อยละ 2.6 สาหรับอาจารย์ผู้สอนใช้เทคโนโลยีการศึกษาสอนสัปดาห์ละมากกว่า 1 ครั้ง คิด เป็นร้อยละ 43.4 รองลงมาใช้ไม่แน่นอน คิดเป็นร้อยละ 23.7 และน้อยที่สุดใช้เดือนละมากกว่า 1 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 2.6 3. ปัญหาการใช้เทคโนโลยีการศึกษาของวิทยาเขตนครราชสีมา อาจารย์ผู้สอนมีปัญหาการ ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะและรูปแบบการจัดชั้นเรียนคอมพิวเตอร์ คิดเป็นร้อยละ 89.5 รองลงมา ความเร็วในการเข้าใช้อินเทอร์เน็ตและอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ คิดเป็นร้อยละ 67.1 และใช้ over head แล้วตัวหนังสือไม่ชัดเพราะแสงไม่ดี คิดเป็นร้อยละ 48.7 และน้อยที่สุดไม่ใช้ over head ประกอบ การสอน เพราะไม่มีแผ่นภาพโปร่งใส คิดเป็นร้อยละ 1.3 ปัญหาการใช้เทคโนโลยีการศึกษาด้าน Hardware เครื่องคอมพิวเตอร์มีขีดความสามารถต่า คิดเป็นร้อยละ 89.4 รองลงมา คือ อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง เช่น เมาส์มีคุณภาพไม่ดี คิดเป็นร้อยละ 85.5 เครื่องคอมพิวเตอร์มีน้อยไม่เพียงพอต่อการใช้งาน คิดเป็นร้อยละ 69.1 และน้อยที่สุด คือ มี ความต้องการใช้ระบบ Lan คิดเป็นร้อยละ 21.4 ส่วนระดับปัญหาการใช้เทคโนโลยีการศึกษาอยู่ใน ระดับมากถึงมากที่สุด และผลการเปรียบเทียบปัญหาการใช้เทคโนโลยีการศึกษาด้าน Hardware ของอาจารย์ผู้สอนทั้งอาจารย์ประจาและอาจารย์พิเศษ ในด้านสังกัดและด้านวุฒิการศึกษา มีความ แตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ 0.001 ส่วนด้านอื่น ๆ ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญ ทางสถิติ ปัญหาการใช้เทคโนโลยีการศึกษาด้าน Software การสูญหายของข้อมูล คิดเป็นร้อยละ 94.7 รองลงมา คือ ขาดเอกสารคู่มือแนะนาการใช้ในด้าน Software คิดเป็นร้อยละ 79.0 การ เสียหายของโปรแกรมที่ใช้งาน คิดเป็นร้อยละ 71.0 และน้อยที่สุด คือ ปากกาเขียนแผ่นภาพ โปร่งใส คิดเป็นร้อยละ 23.7 ส่วนระดับปัญหาการใช้เทคโนโลยีการศึกษาอยู่ในระดับมากถึงมาก ที่สุด และผลการเปรียบเทียบปัญหาการใช้เทคโนโลยีการศึกษาด้าน Software ของอาจารย์ผู้สอน ทั้งอาจารย์ประจาและอาจารย์พิเศษ ในทุกด้าน ไม่มีความแตกต่างกันอย่างนัยสาคัญทางสถิติ ปัญหาการใช้เทคโนโลยีการศึกษาด้าน People ware ไม่มีความรู้ในการบารุงรักษาและ ซ่อมแซม คิดเป็นร้อยละ 88.5 รองลงมา คือ ขาดงบประมาณในการจัดซื้อและพัฒนาเครื่อง คอมพิวเตอร์ คิดเป็นร้อยละ 76.3 บุคลากรขาดความรู้ความสามารถในการใช้คอมพิวเตอร์ คิดเป็น ร้อยละ 73.7 บุคลากรมีทัศนคติที่ไม่ถูกต้องต่อการใช้คอมพิวเตอร์ เพราะคิดว่าเป็นการเพิ่มภาระ คิดเป็นร้อยละ 72.4 และน้อยที่สุด คือ ช่วงเวลาไม่สะดวกที่จะเข้ารับการอบรมการใช้งาน คอมพิวเตอร์ คิดเป็นร้อยละ 38.2 ส่วนระดับปัญหาการใช้เทคโนโลยีการศึกษา อยู่ในระดับมากถึง มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 50.00 และผลการเปรียบเทียบปัญหาการใช้เทคโนโลยีการศึกษาด้าน People ware ของอาจารย์ผู้สอนทั้งอาจารย์ประจาและอาจารย์พิเศษ ในด้านอายุและด้านวุฒิ การศึกษา มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนด้านอื่น ๆ ไม่มีความ แตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ 4. ความต้องการใช้เทคโนโลยีการศึกษา อาจารย์ผู้สอนต้องการให้ปรับปรุงอินเทอร์เน็ต คิดเป็นร้อยละ 90.8 รองลงมา คือ ต้องการได้เข้ารับการอบรมความรู้การใช้อินเทอร์เน็ต คิดเป็น ร้อยละ 53.9 ต้องการให้เจ้าหน้าที่ช่วยเหลือขณะสอน ในเรื่อง Over head และจอ Over head คิด เป็นร้อยละ 52.6 ต้องการให้ปรับปรุงห้องเรียน คิด เป็นร้อยละ 42.1 ต้องการใช้เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ คิดเป็นร้อยละ 39.5 ต้องการใช้เครื่องขยายเสียง คิดเป็นร้อยละ 36.8 ต้องการความรู้ทาง คอมพิวเตอร์ในเรื่องการเข้ารับการฝึกอบรมโดยใช้หลักสูตรระยะสั้น คิดเป็นร้อยละ 44.7 ต้องการ เข้ารับอบรมความรู้คอมพิวเตอร์ คิดเป็นร้อยละ 42.1 และต้องการอินเทอร์เน็ตในเรื่องความไวต่อ การเข้าใช้ คิดเป็นร้อยละ 47.4 และน้อยที่สุด คือ ต้องการเข้ารับอบรมโปรแกรม MS. Ezcel และ MS. Word คิดเป็นร้อยละ 2.6 ตามลาดับ
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/364
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2550-048 ผศ.ดร.ปฏิภาณ์ มหรรธนาธิบดี.pdf2.72 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.