Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/355
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorโพธิ์พุ่ม, ณัชปภา-
dc.contributor.authorถิ่นแถว, พระปรัชญา-
dc.contributor.authorขุมคำ, ทองพูล-
dc.date.accessioned2022-03-17T06:31:48Z-
dc.date.available2022-03-17T06:31:48Z-
dc.date.issued2561-
dc.identifier.urihttp://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/355-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพความต้องการการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษของนักเรียนในจังหวัดสุรินทร์ 2) เพื่อพัฒนาทักษะสื่อสารภาษาอังกฤษของนักเรียนในจังหวัดสุรินทร์โดยใช้กระบวนการของทฤษฎี CLT 3) เพื่อเปรียบเทียบผลการพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษของนักเรียนในจังหวัดสุรินทร์โดยใช้กระบวนการของทฤษฎี CLT ก่อนและหลังการพัฒนา และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้กระบวนการของทฤษฎี CLT การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงทดลอง การวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก(In-depth interview) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) จำนวน 20 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purport Sampling) กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ นักเรียนระดับมัธยมศึกษาในจังหวัดสุรินทร์ จำนวน 30 คน โดยการสุ่มแบบกลุ่ม (cluster random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์ แบบฝึกทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษของนักเรียนในจังหวัดสุรินทร์โดยใช้กระบวนการของทฤษฎี CLT และแบบทดสอบวัดทักษะภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร การวิจัยครั้งนี้ใช้แบบแผนวิจัย One–Group Pretest–Posttest Design สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์เปรียบเทียบข้อมูล ได้แก่ การหาประสิทธิภาพของกิจกรรมตามเกณฑ์ประสิทธิภาพ E1/E2 และ t–test ชนิด Dependent Samples ผลการวิจัย พบว่า 1. สภาพความต้องการการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษของนักเรียนในจังหวัดสุรินทร์ พบว่า ด้านการจัดกิจกรรมควรจัดให้สัมพันธ์กับความต้องการในชีวิตจริงของผู้เรียน มีการคำถามและคำตอบ กิจกรรมให้นักเรียนเล่าประสบการณ์ของตนเอง บทสนทนาตามสถานที่ต่าง ๆ ในชุมชน หรืออาจจะมีเกมให้เล่น มีการโต้วาที อภิปราย แสดงความคิดเห็น ด้านเนื้อหาที่ใช้ในการเรียนการสอนเพื่อการสื่อสารภาษาอังกฤษ ควรมีเนื้อหาที่เน้นความสำคัญอยู่ที่ความคิดรวบยอดของความหมายและไวยากรณ์ รวมถึงหน้าที่ในการสื่อความหมาย หัวข้อทั่วไป หัวข้อเฉพาะ และฉากหรือสถานการณ์ของการใช้ภาษาและวิธีสอนตามแนวการสอนเพื่อการพัฒนาทักษะการสื่อสาร เน้นการใช้ภาษาของผู้เรียนมากกว่าเน้นถึงหลักเกณฑ์การใช้ภาษา ให้ความสำคัญกับความคล่องแคล่วในการใช้ภาษาและความถูกต้อง การทำกิจกรรมเพื่อการฝึกฝนใกล้เคียงสถานการณ์จริงมากที่สุด 2. ชุดฝึกทักษะสื่อสารภาษาอังกฤษของนักเรียนในจังหวัดสุรินทร์โดยใช้กระบวนการของทฤษฎี CLT มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 79.96 /78.00 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 3. ผลการเปรียบเทียบการพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษของนักเรียนในจังหวัดสุรินทร์โดยใช้กระบวนการของทฤษฎี CLT หลังพัฒนาสูงกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 4. ความพึงพอใจต่อการฝึกทักษะสื่อสารภาษาอังกฤษของนักเรียนในจังหวัดสุรินทร์โดยใช้กระบวนการของทฤษฎี CLT โดยรวมอยู่ในระดับมากen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยen_US
dc.subjectการพัฒนาทักษะสื่อสารภาษาอังกฤษen_US
dc.subjectนักเรียนในจังหวัดสุรินทร์ กระบวนการทฤษฎี CLTen_US
dc.titleการพัฒนาทักษะสื่อสารภาษาอังกฤษของนักเรียนในจังหวัดสุรินทร์ โดยใช้กระบวนการทฤษฎี CLTen_US
dc.title.alternativeA Development of English Communication Skills of the Student in Surin Province by using CLT Theoryen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
25961-112 นางสาวณัชปภา โพธิ์พุ่ม.pdf3.7 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.