Please use this identifier to cite or link to this item:
http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/351
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | พันเลิศพาณิชย์, สุภัชชา | - |
dc.date.accessioned | 2022-03-16T14:20:38Z | - |
dc.date.available | 2022-03-16T14:20:38Z | - |
dc.date.issued | 2559 | - |
dc.identifier.uri | http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/351 | - |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสถานการณ์รูปแบบการมีส่วนร่วมในการสร้าง เสริมสุขภาพผู้สูงอายุของโรงเรียนผู้สูงอายุวัดหัวฝาย 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพของ ผู้สูงอายุของโรงเรียนผู้สูงอายุวัดหัวฝาย และ3) เพื่อเสนอรูปแบบการมีส่วนร่วมในการสร้างเสริม สุขภาพผู้สูงอายุของโรงเรียนผู้สูงอายุวัดหัวฝาย โดยการวิจัยผสานวิธี ในการศึกษาเชิงปริมาณกลุ่ม ตัวอย่างประกอบด้วยผู้สูงอายุของโรงเรียนผู้สูงอายุวัดหัวฝาย จำนวน 60 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ในการศึกษาเชิงคุณภาพผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ผู้บริหาร เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ครู ประธานนักเรียนและผู้สูงอายุที่เป็นนักเรียน จำนวน 20 รูป/คน ได้มาโดย การเจาะจง รวบรวมข้อมูลจากการประชุมกลุ่ม ตามขั้นตอนการสร้างการมีส่วนร่วม วิเคราะห์ข้อมูล ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1. สถานการณ์รูปแบบการมีส่วนร่วมในการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุของโรงเรียน ผู้สูงอายุวัดหัวฝาย พบว่า ผู้สูงอายุจะปรึกษาเรื่องการดูแลสุขภาพจากผู้รู้ มีการออกกำลังกายเพื่อยืด เส้นยืดสาย ก่อนออกกำลังกายจะมีการเตรียมร่างกายให้พร้อมก่อน โดยออกกำลังกายอยู่ที่บ้านเป็น ประจำหรือไม่ก็ใช้เวลาว่าง มีการดูแลสุขภาพที่ดีโดยการเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ มี ความสัมพันธ์ที่ดีกับคนในครอบครัว โดยจะทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาให้คำแนะนำและให้กำลังใจกับคน ในครอบครัว ยอมรับสภาพที่เป็นอยู่ในปัจจุบันและยังนึกถึงอนาคตของตนเองและบุตรหลานอยู่เสมอ และผู้สูงอายุบอกกับตนเองว่าปัญหาทุกอย่างแก้ไขได้ สามารถเผชิญกับปัญหาต่าง ๆ ได้ ทำให้ไม่ค่อย มีความเครียด 2. รูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุของโรงเรียนผู้สูงอายุวัดหัวฝาย พบว่า โรงเรียนผู้สูงอายุมีการสร้างความร่วมมือระหว่างเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ให้เข้ามาตรวจสุขภาพผู้สูงอายุ และมีการนำข้อมูลมาใช้ในการวางแผนแก้ไขปัญหาสุขภาพ นอกจากนั้นยังให้ความรู้เพื่อให้มีการ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง ส่งเสริมให้ออกกำลังกายที่หลากหลาย ซึ่งบรรจุไว้ในหลักสูตร การเรียนการสอน มีการให้ความรู้เรื่องการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ ทำให้มีความรู้ เรื่องการดูแลตนเอง มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดูแลตนเอง ครอบครัวมีบทบาทที่สำคัญต่อ สุขภาพจิต สนับสนุนให้ร่วมกันทำกิจกรรมกัน เพื่อได้พบปะสังสรรค์กัน ถ้ามีความเครียดจะปฏิบัติ คลายความเครียด ด้วยวิธีการพูดคุยกับเพื่อนบ้านหรือเพื่อนนักเรียนผู้สูงอายุ เข้าวัดฟังเทศน์ สนทนา ธรรมกับพระหรือไปร่วมกิจกรรมทางศาสนา 3.รูปแบบการมีส่วนร่วมในการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุของโรงเรียนผู้สูงอายุวัดหัวฝาย อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย ประกอบด้วย 1) การมีส่วนร่วมในการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุของ โรงเรียนผู้สูงอายุวัดหัวฝาย 2) การจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพและคัดกรองความเสี่ยง 3) การจัดการ ความรู้เพื่อการสร้างเสริมสุขภาพในโรงเรียนผู้สูงอายุวัดหัวฝาย และ 4) การพัฒนาผู้สูงอายุสู่ภาวะ พฤฒิพลัง | en_US |
dc.publisher | สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | รูปแบบ | en_US |
dc.subject | การมีส่วนร่วม | en_US |
dc.subject | การสร้างเสริมสุขภาพ | en_US |
dc.subject | โรงเรียนผู้สูงอายุ จังหวัดเชียงราย | en_US |
dc.title | รูปแบบการมีส่วนร่วมในการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุของโรงเรียนผู้สูงอายุวัดหัวฝาย ตำบลสันกลาง อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย | en_US |
dc.title.alternative | The Model of Health Promoting – Behaviors in Elderly People at Elderly Schools Wat Huafai Tumbol San Klang Amphor Phan Chiang Rai | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
Appears in Collections: | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2559- 001ฤทธิชัย แกมนาค.pdf | 2.79 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.