Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/350
Title: การจัดการแหล่งท่องเที่ยวตามเส้นทางโบราณสถานล้านนาที่ปรากฏ ในวรรณกรรมชินกาลมาลีปกรณ์
Other Titles: MANAGEMENT OF THE LANNA ANCIENT ARCHEOLOGY ROUTE FROM THE LITERATURE OF CHINNAKANMALIPAKORN
Authors: เกียรติไพรยศ, วีระพงศ์
แซ่ท้อ, สมพงษ์
แกมนาค, ฤทธิชัย
พระครู, วิมลศิลปกิจ
พันเลิศพาณิชย์, สุภัชชา
Keywords: การจัดการ
แหล่งท่องเที่ยว
โบราณสถาน
ล้านนา
วรรณกรรมชินกาลมาลีปกรณ์
Issue Date: 2560
Publisher: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ ๑. เพื่อสำรวจแหล่งท่องเที่ยวโบราณสถานล้านนาที่ปรากฏในวรรณกรรมชินกาลมาลีปกรณ์ ๒. เพื่อศึกษาคุณค่าและศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวโบราณสถานล้านนาที่ปรากฏในวรรณกรรมชินกาลมาลีปกรณ์ และ ๓. เพื่อเสนอรูปแบบและวิธีการจัดการเส้นทางการเรียนรู้แหล่งท่องเที่ยวโบราณสถานล้านนาที่ปรากฏในวรรณกรรมชินกาลมาลีปกรณ์ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยได้ศึกษาทั้งเชิงเอกสาร และมีการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน ๑๔ รูป / คน ผลการวิจัย พบว่า ๑. สำรวจแหล่งท่องเที่ยวโบราณสถานล้านนาที่ปรากฏในวรรณกรรมชินกาลมาลีปกรณ์ จำนวน ๑๔ วัด แบ่งเป็นพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ๑๐ วัด จังหวัดเชียงราย ๔ วัด ในป๎จจุบันเป็นวัดที่มีพระภิกษุ สามเณร จำพรรษาอยู่ ๑๒ วัด และเป็นวัดร้างอยู่ ๒ วัด คือ วัดอาทิต้นแก้ว และวัดวัดปุาแดงหลวง อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ๒. คุณค่าและศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวโบราณสถานล้านนาที่ปรากฏในวรรณกรรมชินกาลมาลีปกรณ์ พบว่า คุณค่าแหล่งท่องเที่ยวสามารถแบ่งเป็น ๔ ด้าน คือ ๑. คุณค่าทางประวัติศาสตร์ ๒. คุณค่าทางโบราณสถาน ๓. คุณค่าทางความศักดิ์สิทธิ์ และ ๔. คุณค่าทางวัฒนธรรมประเพณี ส่วนศักยภาพแหล่งท่องเที่ยว แบ่งเป็น ๓ ด้าน คือ ๑. ด้านการดึงดูดใจการท่องเที่ยว ๒. ด้านการรองรับนักท่องเที่ยว และ ๓. ด้านการบริหารจัดการ ๓. เสนอรูปแบบและวิธีการของการจัดการเส้นทางการเรียนรู้แหล่งท่องเที่ยวโบราณสถานล้านนาที่ปรากฏในวรรณกรรมชินกาลมาลีปกรณ์ ๔ รูปแบบ คือ ๑. การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ ประกอบด้วยทุกวัด ๒. การท่องเที่ยวเชิงการปฏิบัติธรรม ในป๎จจุบันมี ๑ แห่ง คือ วัดร่ำเปิง (ตโปทาราม) แต่เนื่องจากแหล่งท่องเที่ยวทุกแห่งเป็นวัด จึงควรพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงการปฏิบัติธรรม เพื่อให้บริการนักท่องเที่ยวที่มีความสนใจ และ ๓. การท่องเที่ยวเชิงประเพณีวัฒนธรรมและงานประจำปี จำนวน ๙ วัด คือ วัดสวนดอก พระอารามหลวง วัดศรีมุงเมือง วัดปุาแดง มหาวิหาร วัดเจ็ดยอด พระอารามหลวง วัดนันทาราม วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร พระอารามหลวง วัดเชียงยืน วัดพระแก้ว พระอารามหลวง และวัดพระสิงห์ พระอารามหลวง สำหรับการจัดการรูปแบบการท่องเที่ยวนั้นให้ใช้หลักการจัดการ คือ ๑.การจัดการการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ ใช้หลัก 3 E คือ ๑) การเรียนรู้ (Education) ๒) กิจกรรม (Employment) และ ๓) เศรษฐกิจ (Economic) ๒. การจัดการการท่องเที่ยวเชิงการปฏิบัติธรรม โดยใช้หลักในการจัดการ คือ ๑) จัดการให้ความรู้ (Educating Management) ๒) การจัดการข้อมูล (Data Management) ๓) การจัดการสถานที่ (Location Management) ๔) การจัดการเวลา (Time Management) ๕) จัดการการปฏิบัติ (Practice Management) และ ๓. การจัดการการท่องเที่ยวเชิงประเพณีวัฒนธรรม โดยใช้หลักในการจัดการ คือ ๑) จัดการให้ความรู้ (Educating) ๒) การมีส่วนร่วม (Participation)
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/350
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2560-060 วีระพงศ์ เกียรติไพรยศ.pdf6.96 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.