Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/349
Title: การบริหารจัดการผ้าทอพื้นเมืองเพื่ออัตลักษณ์ที่โดดเด่นในอาเซียน
Other Titles: The Management Fabrics focused in Identities of the ASEAN
Authors: คล้ายธานี, สุภางค์พิมพ์
พระราช, สิทธิเวที
พระครู, ศรีเมธาภรณ์
แก้วบุตรดี, นันทวิทย์
Keywords: การบริหารจัดการ
ผ้าทอพื้นเมือง
อาเซียน
Issue Date: 2561
Publisher: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: การบริหารจัดการผ้าทอพื้นเมืองเพื่ออัตลักษณ์ที่โดดเด่นในอาเซียน โดยการวิจัยครั้งนี้เป็น เชิงคุณภาพมีการศึกษาเอกสาร และการสัมภาษณ์จากกลุ่มผ้าทอพื้นเมืองจังหวัดอุทัยธานี และจังหวัด พิจิตร จำนวน ๒๖ รูป/คน และจัดการสนทนากลุ่ม ๑๑ รูป/คน โดยมีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ (๑) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารจัดการผ้าทอพื้นเมืองเพื่ออัตลักษณ์ที่โดดเด่นในอาเซียน(๒) เพื่อ พัฒนารูปแบบการบริหารจัดการผ้าทอพื้นเมืองเพื่ออัตลักษณ์ที่โดดเด่นในอาเซีย (๓) เพื่อเสนอ รูปแบบการบริหารจัดการผ้าทอพื้นเมืองเพื่ออัตลักษณ์ที่โดดเด่นในอาเซียน ผลการวิจัยพบว่า ๑. สภาพการบริหารจัดการผ้าทอพื้นเมืองมีการนำวัสดุจากธรรมชาติ และภูมิปัญญา ชาวบ้านมาบูรณาการในขั้นตอนการผลิตผ้าทอที่สวยงาม ได้มีการถ่ายทอดความรู้จากรุ่นสู่รุ่นทำให้ เกิดภูมิปัญญาที่มีคุณค่าทั้งทางด้านจิตใจ และวัฒนธรรมของชาวบ้าน กลุ่มผ้าทอที่เป็นกลุ่มชาวบ้านที่ มีความเชี่ยวชาญด้านผ้าทอทำให้มีการติดต่อระหว่างกลุ่มผ้าทอพื้นเมืองไทยกับภาครัฐ โดยการนำ สินค้าผ้าทอพื้นเมืองไทยเข้าสู่ตลาด OTOP และสร้างอัตลักษณ์ที่โดดเด่นทำให้ผ้าทอพื้นเมืองไทยได้มี ความสนใจในประเทศอาเซียน ทั้งด้านการส่งเสริมได้พัฒนาศิลปะการทอผ้าไทยในปัจจุบันให้มีการ รวมกลุ่มของคนในชุมชนให้มีอาชีพ ด้านการผลิตภัณฑ์ชุมชนมีการถ่ายทอดภูมิปัญญาใช้แรงงานของ คนในชุมชนรวมไปถึงความร่วมมือแบ่งปันความรู้จากรุ่นสู่รุ่น เพื่อให้เป็นอัตลักษณ์ที่โดดเด่นผ้าทอทำ ให้ผ้าทอพื้นเมืองไทยนั้นเป็นผ้าที่ประเทศอาเซียนมีความสนใจในความสวยงามของผ้าทอไทยพื้น เมืองไทย และเป็นสินค้าส่งออกทำให้เป็นที่รู้จักผ้าทอพื้นเมืองไทย ๒. การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการผ้าทอพื้นเมืองเพื่ออัตลักษณ์ที่โดดเด่นในอาเซียน ด้านการบริหารจัดการผ้าทอพื้นเมือง ด้านการส่งเสริมศิลปะการทอผ้าไทย และด้านอัตลักษณ์ที่โดด เด่นผ้าทอ ได้นำหลักพุทธธรรมเข้ามาบูรณาการกับการบริหารจัดการผ้าทอพื้นเมืองเพื่ออัตลักษณ์ที่ โดดเด่นในอาเซียน มีหลักพุทธธรรม ๕ ข้อ ดังนี้ ๑) สังคหวัตถุ ๔ ๒) โภควิภาค ๔ ๓) กัลยาณมิตร ธรรม ๗ ๔) ปัจจัย ๔ ๕) ปาปณิกธรรม ๓ เป็นหลักพุทธธรรมที่นำมาใช้ในการบริหาร ส่งเสริมผ้าทอ พื้นเมืองไทย ทำให้กลุ่มผ้าทอพื้นเมืองนั้นมีอัตลักษณ์ที่โดดเด่นเป็นที่สนใจในประเทศอาเซียน รูปแบบการบริหารจัดการผ้าทอพื้นเมืองเพื่ออัตลักษณ์ที่โดดเด่นในอาเซียน มีการบริหาร จัดการผ้าทอ ๓ ส่วน ๑) การบริหารจัดการผ้าทอพื้น ๒) การส่งเสริมและพัฒนาศิลปะการทอผ้าไทย ๓) ขั้นตอนการผลิตผ้าทอที่มีอัตลักษณ์ที่โดดเด่นในอาเซียน จากการสนทนากลุ่ม ๑๑ รูป/คน ตาม รูปแบบโมเดล Step Promote Buddhism Model ได้รับรองว่าเป็นรูปแบบสามารถนำไปบริหาร กลุ่มผ้าทอได้อย่างมีประสิทธิภาพ
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/349
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2561_144 Suphangpim_Klay.pdf6.74 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.