Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/345
Title: การใช้ประโยชน์จากอัตลักษณ์ของฐานทรัพยากรการท่องเที่ยวของหมู่บ้านช้าง จังหวัดสุรินทร์
Other Titles: Identity Utilization of the Tourist Resource Base of the Elephant Village in Surin Province
Authors: หนุนชู, เศรษฐพร
ญาณธโร, พระปลัดสุระ
พระครูศรีสุนทรสรกิจ
Keywords: การใช้ประโยชน์
อัตลักษณ์
ฐานทรัพยากรการท่องเที่ยว
หมู่บ้านช้าง จังหวัดสุรินทร์
Issue Date: 2561
Publisher: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยา่ลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ๑) อัตลักษณ์ของฐานทรัพยากรทางการท่องเที่ยวหมู่บ้านช้าง ๒) ศึกษากรอบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ของฐานทรัพยากรทางการท่องเที่ยว หมู่บ้านช้างจังหวัดสุรินทร์ ๓) สร้างมูลค่าและผลิตภัณฑ์ฐานทรัพยากรทางการท่องเที่ยวหมู่บ้านช้างจังหวัดสุรินทร์ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ๑) ผู้เลี้ยงช้าง ๒) ชาวบ้าน ผู้บริหารภาครัฐ/เอกชน ๓) พ่อค้า ผลวิจัยพบว่า ๑) อัตลักษณ์ฐานทรัพยากรการท่องเที่ยวทางหมู่บ้านช้างจังหวัดสุรินทร์การสร้าง อัตลักษณ์ในสถานที่ท่องเที่ยวเป็นการดึงดูดความน่าสนใจให้กับนักท่องเที่ยวและกุญแจที่สำคัญของกลยุทธ์การตลาดในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการ สำหรับการสร้าง อัตลักษณ์เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ให้กับสถานท่องเที่ยวและเพื่อกระตุ้นให้นักท่องเที่ยวอยากที่จะเดินทางมากขึ้น ซึ่งอัตลักษณ์ในการท่องเที่ยวเป็นคุณลักษณะเฉพาะหรือความพิเศษของสถานที่ท่องเที่ยวที่โดยทั่วไปอัตลักษณ์ของสถานที่ท่องเที่ยวปลายทางเป็นที่ยอมรับกันว่ามีอิทธิพลโดยตรงต่อพฤติกรรมของนักท่องเที่ยว ๒) มีการวางแผนผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวให้มีอัตลักษณ์ที่โดดเด่นเพื่อที่จะตอบสนองความต้องการและ ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวเป็นวิธิีที่นิยมนำมาประยุกต์ใช้ในการดึงดูดนักท่องเที่ยว ซึ่งหากมีผล สะท้อนกลับที่ดีจะส่งผลให้นักท่องเที่ยวแสดงออกซึ่งพฤติกรรมความตั้งใจกลับมาท่องเที่ยวซ้ำ จนนำไปสู่ความภักดีต่อสถานที่ท่องเที่ยวปลายทางและมีความถี่ในการเยี่ยมชมซ้ำ อย่างบ่อยครั้ง รวมถึงการบอกต่อและแนะนำให้นักท่องเที่ยวรายอื่น ๆ ๓) นักท่องเที่ยวเข้ามาเที่ยวจึงมีความดึงดูดใจ และสนใจ เกิดความต้องการ โดยอาศัยกิจกรรมต่าง ๆ ในการท่องเที่ยว ทรัพยากรของแหล่งท่องเที่ยวนั้น ๆ และรูปแบบทรัพยากรในพื้นที่ ที่แตกต่างกัน จะทำให้รูปแบบการท่องเที่ยวแตกต่างกันไป และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศก็เป็นส่วนหนึ่งของการท่องเที่ยวในแหล่งธรรมชาติ ที่มีระบบนิเวศเฉพาะของแต่ละท้องถิ่น และต้องอาศัยการเรียนรู้และความร่วมมือจากทั้งชุมชนในท้องถิ่น และนักท่องเที่ยวเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมให้ยั่งยืน และสร้างประสบการณ์ที่ดีในการท่องเที่ยวให้แก่นักท่องเที่ยว
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/345
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2561-109นายเศรษฐพร หนุนชู.pdf4.77 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.