Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/344
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorศิริ, สุพล-
dc.contributor.authorพระครูสิริพัชรากร, (สมบัติ สิริคุตฺโต)-
dc.contributor.authorละคร, ปิยวัช-
dc.date.accessioned2022-03-16T14:07:55Z-
dc.date.available2022-03-16T14:07:55Z-
dc.date.issued2560-
dc.identifier.urihttp://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/344-
dc.description.abstractการศึกษารูปแบบการจัดการนิเวศวิทยาวัฒนธรรมของเครือข่ายวัฒนธรรมและกลุ่มชาติพันธุ์ในจังหวัดเพชรบูรณ์ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์คือ ๑) เพื่อศึกษาความร่วมมือการจัดการนิเวศวิทยาวัฒนธรรมของเครือข่ายวัฒนธรรมและกลุ่มชาติพันธุ์ในจังหวัดเพชรบูรณ์ ๒) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความร่วมมือการจัดการนิเวศวิทยาวัฒนธรรมของเครือข่ายวัฒนธรรมและกลุ่มชาติพันธุ์ในจังหวัดเพชรบูรณ์ และ ๓) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะการอนุรักษ์การจัดการนิเวศวิทยาวัฒนธรรมของเครือข่ายวัฒนธรรมและกลุ่มชาติพันธุ์ในจังหวัดเพชรบูรณ์ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพแบบผสมผสาน คือการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง จานวน ๓๖ รูป/คน ผลการศึกษาพบว่า ด้านการจัดกิจกรรมวัฒนธรรมท้องถิ่นของบ้านสะเดียง บ้านนาแซง บ้านเข็กน้อย บ้านน้าเลา ผู้นาของชุมชน และชาวบ้านให้ความร่วมมือในการจัดกิจกรรมที่เกี่ยวข้องวัฒนธรรมเป็นอย่างดี ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน เกิดความรักความสามัคคีในหมู่คณะที่ร่วมกันทากิจกรรม ไม่ว่าจะเป็นงานบุญประเพณีของชุมชน เช่น การจัดงานเลี้ยงเจ้าพ่อประจาหมู่บ้าน ที่ชาวบ้านเคารพนับถือ เป็นต้น ด้านการเผยแพร่วัฒนธรรมท้องถิ่น ได้ประชาสัมพันธ์ให้ลูกหลาน เยาวชนได้รับรู้ถึงกิจกรรมที่จัดขึ้น ได้เห็นความสาคัญวัฒนธรรมประเพณีของชุมชนของตนเองที่คุณค่าแก่การรักษาไว้ให้ตราบนานเท่านาน ด้านการเข้าร่วมจัดกิจกรรมการอนุรักษ์วัฒนธรรม มีการเชิญชวนให้เข้าร่วมอย่างพร้อมเพียงกัน เพื่อเป็นการอนุรักษ์สืบสานวัฒนธรรมประเพณีของชุมชนเอาไว้ให้คงอยู่ ด้านการเปิดโอกาสการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์วัฒนธรรม ได้เปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมประเพณีวัฒนธรรมของชุมชน ด้านการให้ความรู้การอนุรักษ์ ชาวบ้านในชุมชนให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีในการอนุรักษ์วัฒนธรรมอันดีงามของชุมชนเอาไว้ ตลอดทั้งวิถีชีวิต และยังคงสืบสานประเพณีเอาไว้ไห้อนุชนรุ่นหลังได้รู้ได้เห็นต่อไป ข ผลการศึกษากลุ่มตัวอย่างของผู้สูงอายุทั้งชายและหญิงในโรงเรียนผู้สูงอายุ ทั้ง ๘ แห่ง คณะผู้วิจัยได้วิเคราะห์ การนาหลักธรรมทางพระพุทธศาสนามาใช้ในการดาเนินชีวิตที่แตกต่างกันออกไป แต่ส่วนมากในอยู่หัวข้อธรรมทางพระพุทธศาสนาเหล่านี้ คือ ไตรสิกขา ๓ ภาวนา ๔ อายุสธรรม ๕ อิทธิบาท ๔ สัปปายะ ๗ โพชฌงค์ ๗ หลักธรรมทั้งหมดผู้สูงอายุนามาใช้ในการดาเนินชีวิตของตนเองที่แตกต่างกันออกไป การจัดการนิเวศวิทยาวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์นั้น มีความเหมือนกันบ้าง แตกต่างกันบ้าง ส่วนใหญ่จะมีความเหมือนกัน เพราะการเป็นอยู่ของชาวบ้านส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพเกษตรกรรม มีวิถีชีวิตอยู่กับธรรมชาติ มีการเผยแพร่และอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่นผ่านองค์การภาครัฐและเอกชน โดยอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศร่วมสมัย ในการดาเนินงานจะเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการดาเนินงาน ให้ข้อคิดความเห็น เนื่องจากวัฒนธรรมเหล่านั้นเกิดจากความเชื่อของชุมชน หากคนในชุมชนไม่ได้มีส่วนร่วมจะประสบความสาเร็จได้ยากen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยen_US
dc.subjectรูปแบบการจัดการนิเวศวิทยาวัฒนธรรมของเครือข่ายวัฒนธรรมen_US
dc.subjectกลุ่มชาติพันธุ์ในจังหวัดเพชรบูรณ์en_US
dc.titleรูปแบบการจัดการนิเวศวิทยาวัฒนธรรมของเครือข่ายวัฒนธรรมและกลุ่มชาติพันธุ์ ในจังหวัดเพชรบูรณ์en_US
dc.title.alternativeForm of Ecological Culture Management of Culture Network and Ethnic Groups in Phetchabun Provinceen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2560-269ผศ. สุพล ศิริ.pdf2.76 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.