Please use this identifier to cite or link to this item:
http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/342
Title: | ศึกษาวิเคราะห์ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาจากพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา |
Other Titles: | An Analytical Study of History of Buddhism from Sri-Ayutthyâ Geneology |
Authors: | พระครู, ศรีปัญญาวิกรม อานนฺโท, ถนอม |
Keywords: | การศึกษาวิเคราะห์ ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา พงศาวดารกรุงศรีอยุธยา |
Issue Date: | 2557 |
Publisher: | สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ ๑. ศึกษาประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาจากพงศาวดารกรุงศรี อยุธยา ๒. วิเคราะห์บทบาทและความสัมพันธ์สัมพันธ์ของพระพุทธศาสนาที่มีต่อสังคม และ ๓. วิเคราะห์ คตินิยมทางพระพุทธศาสนาที่มีต่อสังคม และที่สังคมมีต่อพระพุทธศาสนาสมัยกรุงศรีอยุธยา โดยใช้วิธี ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า กรุงศรีอยุธยาดารงความเป็นราชธานีของไทยนับระยะเวลา ๔๑๗ ปี มีกษัตริย์ ปกครอง ๓๓ พระองค์ แบ่งเป็น ๕ ราชวงศ์ โดยในจานวนนี้ มีบันทึกที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาจานวน ทั้งสิ้น ๒๒ พระองค์ และส่วนที่ไม่พบบันทึกใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาจานวน ๑๑ พระองค์ ที่ เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา ส่วนใหญ่จะผูกติดอยู่กับสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งสอดคล้องกับลักษณะของ พงศาวดาร ในส่วนของบทบาทและความสัมพันธ์ระหว่างพระพุทธศาสนากับสังคมไทยสมัยกรุงศรีอยุธยา พบมี ๒ ลักษณะ ลักษณะแรกเป็นส่วนที่พระพุทธศาสนาเข้าไปเกี่ยวข้องในมิติต่าง เช่น มิติทางด้านศาสน ธรรม, ศาสนบุคคล, ศาสนพิธี, และศาสนวัตถุ ทาให้อยุธยาเป็นดินแดนพระพุทธศาสนาที่ยิ่งใหญ่ในอดีต และมรดกเหล่านั้นได้ตกทอดมาตราบเท่าถึงปัจจุบัน ลักษณะที่สองเป็นส่วนที่สังคมไทยได้เข้าไปเกี่ยวข้อง กับพระพุทธศาสนา ส่วนนี้ถือเป็นอิทธิพลทางสังคม ซึ่งก็มีส่วนสาคัญที่ทาให้เกิดสิ่งใหม่ ๆ ขึ้น ใน พระพุทธศาสนา มีทั้งที่สอดคล้องและต่างออกไปจากหลักการแห่งคาสอนเดิม ส่วนคตินิยมทางพระพุทธศาสนาที่มีต่อสังคมและคตินิยมทางสังคมที่มีต่อพระพุทธศาสนาสมัย กรุงศรีอยุธยาพบว่า คตินิยมทางพระพุทธศาสนามีผลก่อกาเนิดแบบแผนการดาเนินชีวิตสมัยกรุงศรีอยุธยา หลายประการ เช่น คตินิยมการปฏิบัติตนในวันธรรมสวนะ, คตินิยมการสร้างวัดเป็นอนุสรณ์, คตินิยมการ ผนวชของเจ้านายชั้นผู้ใหญ่, คตินิยมเรื่องช้างมงคล, คตินิยมการถวายการอุปถัมภ์พระพุทธศาสนา, คตินิยม เรื่องทศพิธราชธรรม เป็นต้น ทานองเดียวกัน คตินิยมในสมัยกรุงศรีอยุธยาก็มีส่วนสาคัญที่ทาให้เกิดคตินิยม ต่าง ๆ ขึ้นในสังคมซึ่งมีผลต่อพระพุทธศาสนาเช่นกัน เช่น คตินิยมการสร้างพระพุทธรูปฉลองพระองค์, คติ นิยมการให้มีมหรสพสมโภช, คตินิยมเรื่องเรื่องโชคลาง, คตินิยมเรื่องการถวายเครื่องทรงบูชาพระพุทธรูป เป็นต้น อนึ่ง จากการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะเพิ่มเติมว่า ควรทาวิจัยในทานองเดียวกันนี้ กับพงศาวดารสมัยอื่น ๆ เช่น พงศาวดารเหนือ, พงศาวดารสุโขทัย, พงศาวดารกรุงธนบุรี เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อ นาองค์ความรู้เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาในสมัยต่าง ๆ มาตีแผ่ให้เป็นที่ปรากฏสืบไป |
URI: | http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/342 |
Appears in Collections: | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2557-029พระครูศรีปัญญาวิกร.pdf | 1.9 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.