Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/341
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorศิรินุพงศ์, จารึก-
dc.contributor.authorใหมอ่อน, สุชาติ-
dc.contributor.authorมณีเนียม, อำพร-
dc.date.accessioned2022-03-16T14:03:43Z-
dc.date.available2022-03-16T14:03:43Z-
dc.date.issued2560-
dc.identifier.urihttp://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/341-
dc.description.abstractงานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการสื่อสารเพื่อสร้างเสริมสันติของผู้นา ทางสังคมใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคในกระบวนการสื่อสารเพื่อสร้าง เสริมสันติของผู้นาทางสังคมใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ และเพื่อเสนอแนะแนวทางในการสร้างเสริม สันติของผู้นาทางสังคมใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีการเก็บข้อมูลด้วย การสังเกตและสัมภาษณ์เชิงลึกโดยใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า ด้านกระบวนการสื่อสารเพื่อสร้างเสริมสันติของผู้นาทางสังคมใน ๓ จังหวัดชายแดน ภาคใต้ พบว่าทั้งผู้นาชาวไทยพุทธและมุสลิมต่างก็มีแนวคิดในการสื่อสารระหว่างกันที่อยู่บนพื้นฐาน ของความเข้าใจกันและกัน การสื่อสารถึงกันและกันอย่างสร้างสรรค์ การได้นาเอาทัศนคติหรือ ความรู้สึกที่ถูกต้องที่มีต่อกันไปต่อยอดเป็นการปฏิบัติจริงในการอยู่ร่วมกัน การสื่อสารที่อยู่บนฐาน ความเข้าใจภูมิหลังทางวัฒนธรรมของกันและกันสิ่งเหล่านี้ถือเป็นปัจจัยสาคัญที่นาไปสู่การอยู่ร่วมกัน อย่างสันติ กลุ่มผู้นาทั้งไทยพุทธและมุสลิมมีทัศนะที่ตรงกันว่าในท่ามกลางสถานการณ์ความไม่สงบใน พื้นที่ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ผู้นาของทั้งกลุ่มไทยพุทธและมุสลิมในฐานะเป็นกลุ่มบุคคลผู้มีอิทธิพล ต่อสังคมของตนควรแสดงบทบาทอย่างสร้างสรรค์โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้กระบวนการสื่อสารที่ ถูกต้องเป็นเครื่องมือในการสร้างสันติสุขให้เกิดขึ้นในพื้นที่ ด้านปัญหาและอุปสรรคในกระบวนการสื่อสารเพื่อสร้างเสริมสันติของผู้นาทางสังคมใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้พบว่า การที่กลุ่มชนทั้งไทยพุทธและมุสลิมมีวัฒนธรรมการดาเนินชีวิตและ วัฒนธรรมทางความคิดที่ต่างกันเป็นพื้นฐานอาจเป็นปัญหาและอุปสรรคในการสื่อสาร การมีความรู้สึก ถึงความเป็นพวกเขาพวกเราภายในจิตใจ มีทัศนคติบางประการที่แฝงด้วยอคติ มีความหวาดระแวงไม่ ไว้เนื้อเชื่อต่อกัน เหล่านี้ถือเป็นปัญหาและอุปสรรคในการสื่อสารเพื่อสร้างสังคมสันติให้เกิดขึ้นในพื้นที่ โดยเฉพาะกลุ่มผู้นาทางสังคมในฐานะเป็นกลุ่มคนที่มีอิทธิพลต่อสังคมของตน หากไม่สามารถทาลาย ทัศนคติเชิงลบที่มีต่อกันได้ก็เป็นการยากที่จะเป็นทางนาไปสู่การสร้างสังคมสันติให้เกิดขึ้นในพื้นที่ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ได้ ข ในขณะที่ด้านการให้ข้อเสนอแนะแนวทางในการสร้างเสริมสันติของผู้นาทางสังคมใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ คณะผู้วิจัยได้นาเสนอถึงข้อเสนอแนะในการใช้เป็นกระบวนการสื่อสารเพื่อ สันติของผู้นาของทั้งสองกลุ่มออกเป็นประเด็น ๕ ประเด็นย่อย คือ ๑. การสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม ที่ผู้นาจาเป็นจะต้องศึกษาเรียนรู้ถึงวัฒนธรรมของกันและกัน ๒.การมีส่วนร่วมทางสังคม คือการให้ทั้ง สองฝ่ายได้มีส่วนร่วมทางสังคมในโอกาสต่าง ๆ เพื่อให้กลุ่มผู้นาได้มีโอกาสเรียนรู้วิธีการที่จะอยู่ร่วมกัน สร้างความคุ้นเคยสนิทสนมต่อกัน ๓. การให้ความรู้ อันเป็นความรู้ที่ถูกต้องเพื่อทาลายทัศนคติเชิงลบ ของผู้นาอันจะเอื้อให้เป็นผลส่งต่อหรือถ่ายทอดโยงไปยังกลุ่มคนผู้อยู่ภายใต้อิทธิพลทางการปกครอง ของตน ๔. การเรียนรู้สังคมพหุวัฒนธรรม ที่ผู้นาจะต้องเรียนรู้และนามาใช้ให้เป็นประโยชน์ในการอยู่ ร่วมกับคนที่มีวัฒนธรรมต่างจากตน ๕. การสื่อสารเชิงสันติ ที่ผู้นาจาเป็นจะต้องเรียนรู้และสื่อสารกับ คนต่างวัฒนธรรมอย่างถูกต้องเหมาะสม เอื้อให้เกิดบรรยากาศแห่งการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ และ ๖.การสร้างสัมพันธ์ของผู้นา ที่กลุ่มผู้นาจาเป็นที่จะต้องมีปฏิสัมพันธ์กับคนที่มีวัฒนธรรมต่างไปจากตนen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยา่ลัยen_US
dc.subjectการสื่อสารen_US
dc.subjectการสร้างเสริมสันติen_US
dc.subjectจังหวัดชายแดนภาคใต้en_US
dc.titleกระบวนการสื่อสารเพื่อสร้างเสริมสันติของผู้นาทางสังคมใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้en_US
dc.title.alternativeCommunication Process for Reinforcement Peace of Social Leader in Thailand’s Three Southern Border Provincesen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2560-356นายจารึก ศิรินุพงศ์.pdf3.89 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.