Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/340
Title: การเสริมสร้างศักยภาพของเครือข่ายชุมชนในการอนุรักษ์ การใช้ประโยชน์และ การแบ่งปันผลประโยชน์จากป่าชุมชน ในลุ่มน้าอิงจังหวัดพะเยา – เชียงราย
Other Titles: The Enhancement on Community Network in conservation, utilization and Benefit sharing from the community forest in Ing Basin in Phayao - Chiang Rai Province
Authors: วงศ์จ้าปา, พิศมัย,
ปญฺญาวชิโร, พระมหาศิวกร
Keywords: ศักยภาพ
การอนุรักษ์
การใช้ประโยชน์
ป่าชุมชน
ลุ่มน้าอิง
Issue Date: 2561
Publisher: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยา่ลัย
Abstract: งานวิจัยเรื่อง “การเสริมสร้างศักยภาพของเครือข่ายชุมชนในการอนุรักษ์ การใช้ ประโยชน์ และการแบ่งปันผลประโยชน์จากป่าชุมชน ในลุ่มน้าอิงจังหวัดพะเยา-เชียงราย” มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาพัฒนาการของเครือข่ายชุมชนในการอนุรักษ์ การใช้ประโยชน์ และการ แบ่งปันผลประโยชน์จากป่าชุมชนในลุ่มน้าอิง จังหวัดพะเยา-เชียงราย ๒) เพื่อศึกษากระบวนการ เสริมสร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายชุมชนในการอนุรักษ์ การใช้ประโยชน์ และการแบ่งปัน ผลประโยชน์จากป่าชุมชนในลุ่มน้าอิง จังหวัดพะเยา-เชียงราย และ ๓) เพื่อสังเคราะห์องค์ความรู้ใน การเสริมสร้างศักยภาพของเครือข่ายชุมชนในการอนุรักษ์ การใช้ประโยชน์ และการแบ่งปัน ผลประโยชน์จากป่าชุมชนในลุ่มน้าอิง จังหวัดพะเยา-เชียงราย โดยท้าการศึกษาเครือข่ายป่าชุมชน ๓ เครือข่ายซึ่งเป็นตัวแทนของลุ่มน้าอิงตอนบน ตอนกลาง และตอนล่าง ตามล้าดับคือ เครือข่ายป่า ชุมชนต้าบลบ้านเหล่า อ้าเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา เครือข่ายป่าชุมชนอ้าเภอภูกามยาว จังหวัดพะเยา และเครือข่ายป่าชุ่มน้าชุมชน ต้าบลยางฮอม อ้าเภอขุนตาล จังหวัดเชียงราย การวิจัยครั งนี เป็นการ วิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้เครื่องมือในการวิจัยคือแนวค้าถามประกอบการสัมภาษณ์ แนวค้าถามในการ ประชุมกลุ่มย่อย และแนวการสังเกต กิจกรรมของเครือข่ายชุมชนในการจัดการป่าชุมชน ผลการวิจัยพบว่า ๑) พัฒนาการในการรักษาเป็นป่าชุมชนอย่างเป็นระบบและเป็น ทางการมากขึ นของชาวบ้าน เริ่มหลังจากที่ป่าได้ถูกท้าลายลงไปทั งจากบริษัทเอกชนที่เข้ามาสัมปทาน และชาวบ้านเองประกอบกับเกิดผลกระทบอย่างหนักจากภัยแล้ง ท้าให้ชุมชนเกิดความตระหนักใน การจัดการป่าชุมชนอย่างจริงจัง และได้มีการเรียนรู้และพัฒนาการจัดการป่าไปตามสถานการณ์ ปัญหาต่างๆที่เกิดขึ นโดยเฉพาะขบวนของการเคลื่อนไหวพระราชบัญญัติป่าชุมชนที่เข้ามาในช่วงนั น ซึ่งมีส่วนส้าคัญในการบริหารจัดการเครือข่าย วางกลไกเชื่อมโยงตั งแต่ระดับหมู่บ้านไปจนถึงเครือข่าย ระดับประเทศ ๒) ในกระบวนการสร้างความเข้มแข็งในระดับชุมชน ปัจจัยเบื องต้นคือความเข้มแข็งของ ชุมชนและผู้น้าชุมชนที่เข้มแข็งมีวิสัยทัศน์และความรู้ที่ได้มองเห็นปัญหาร่วมกัน จากนั นก็มี กระบวนการเสริมสร้างความเข้มแข็งที่เกิดจากภายในชุมชนและการสนับสนุนจากองค์กรภายนอก ตั งแต่การปรึกษาหารือเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมไปจนถึงการสร้างกฎระเบียบและการบังคับใช้ใน กระบวนการสร้างความเข้มแข็งของเครือข่าย จะมีองค์กรพัฒนาเอกชนเข้ามามีบทบาทในช่วงแรก โดยเฉพาะยุคการเคลื่อนไหวพระราชบัญญัติป่าชุมชน นอกจากองค์กรพัฒนาเอกชนแล้วหน่วยงาน ข ภาครัฐก็มีบทบาทส้าคัญในการเสริมสร้างความเข้มแข็งของเครือข่าย รวมทั งของชุมชนและบุคคลซึ่ง เป็นฐานส้าคัญของเครือข่าย ๓) องค์ความรู้ส้าคัญในการจัดการป่าชุมชนคือความรู้ท้องถิ่น ๔ ระดับ ๑) ความรู้ เกี่ยวกับทรัพยากรแต่ละชนิด ๒) ความรู้เชิงระบบในการจัดการทรัพยากรฯ ๓) ความรู้เชิงสถาบันทาง สังคม และ ๔) ความรู้เชิงโลกทัศน์ ซึ่งมีปฏิสัมพันธ์กันไปมาอยู่ตลอดเวลา และยังมีปฏิสัมพันธ์กับ ความรู้จากปฏิบัติการขององค์กรภายนอกที่เข้ามาซึ่งแตกต่างกันไปตามช่วงเวลาและพื นที่ ท้าให้เกิด การผสมผสานเป็นความรู้ท้องถิ่นที่สอดคล้องกับสถานการณ์หรือบริบทนั น ๆ อยู่ตลอดเวลา รวมทั ง ปฏิสัมพันธ์กับหลักธรรมทางพุทธศาสนาและหลักปฏิบัติของพระสงฆ์ในหลายด้าน มีการประยุกต์ เขตอภัยทานและการบวช การมองเห็นความเชื่อมโยงของสรรพสิ่งตามหลักอิทัปปัจจยตา ซึ่งรวมถึง ความสัมพันธ์ของทรัพยากรธรรมชาติกับวิถีชีวิต การมองเห็นร่วมกันถึงปัญหา สาเหตุของปัญหา เป้าหมาย และแนวทางที่น้าไปสู่เป้าหมายตามหลัก อริยสัจ ๔
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/340
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2561-179ผศ.พิศมัย วงศ์จ้าปา.pdf5.92 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.