Please use this identifier to cite or link to this item:
http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/338
Title: | การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านศาสนาและวัฒนธรรม การเทศน์มหาชาติ จังหวัดน่าน – แขวงไชยบุรี สปป.ลาว |
Other Titles: | The relation exchanging of religious and culture about the VessantaraJataka between Nan and Xaignabouli of Lao PDR |
Authors: | นิมมาทพัฒน์, เชษฐ์ ราชรินทร์, สถิระ แหวนคำ, อุดม |
Keywords: | เทศน์มหาชาติ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านศาสนาและวัฒนธรรม ประเพณีจังหวัดน่าน ประเพณีแขวงไชยบุรี สปป. ลาว |
Issue Date: | 2559 |
Publisher: | สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยา่ลัย |
Abstract: | งานวิจัยเรื่องการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านศาสนาและวัฒนธรรม การเทศน์มหาชาติ จังหวัดน่าน – แขวงไชยบุรี สปป.ลาว มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษารูปแบบ เนื้อหาและองค์ความรู้การเทศน์มหาชาติในจังหวัดน่าน และแขวงไชยบุรี สปป.ลาว และ ศึกษาพิธีกรรม และวิธีการเทศน์มหาชาติ ในจังหวัดน่าน และแขวงไชยบุรี สปป.ลาว เพื่อวิเคราะห์รูปแบบ พิธีกรรม และกระบวนการสร้างวิถีวัฒนธรรมของชาวพุทธในจังหวัดน่าน และแขวงไชยบุรี สปป.ลาว ใช้วิธีการศึกษาในลักษณะวิธีการวิจัยแบบผสมกล่าวคือ เป็นการผสมผสานระหว่างวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณ โดยการใช้วิธีการเก็บข้อมูลทั้งข้อมูลปฐมภูมิ และข้อมูลทุติยภูมิ มีกระบวนการคือ 1. การประชุมปฏิบัติการระดมสมอง 2. การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก 3. การสังเคราะห์งานวิจัยร่วมกัน 4. การศึกษาจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การวิจัยพบว่า เนื้อหาในการเทศน์มหาชาติของของจังหวัดน่านและแขวงไชยบุรี มีความคล้ายคลึงกัน กล่าวคือ เทศน์มหาชาติเป็นการพรรณนาถึง “เรื่องพระเวสสันดรชาดก”กล่าวถึงอดีตชาติของพระพุทธเจ้า เอกลักษณ์ของทางเมืองน่าน เรียกว่า “ระบำช้างข้ามท่ง” ที่แขวงไชยบุรี จะเป็นทำนองที่มีคำคล้องจองภาณาร่าย เป็นคำขับลำของหมอผีในพิธีสู่ขวัญ แล้วถูกพัฒนาเป็นคำและทำนองอ่านโองการของพราหมณ์กับเทศน์มหาชาติของพระสงฆ์ และคำขับลำมีพัฒนาการต่อไปเป็น หมอลำ ที่ลำทำนองต่างๆ ซึ่งมีลูกคอและเสียงโหยหวน ทำนองดังกล่าว เรียกว่า “แหล่ผะเหวด ” ผลการศึกษากระบวนการสร้างวัฒนธรรมเพื่อจัดงานสานสัมพันธ์ระหว่างจังหวัดน่านและแขวงไชยบุรี เริ่มจากมีจุดมุ่งหมายในการปลูกฝังแนวคิดและทัศนคติให้กับประชาชน ความพึงพอใจในการจัดงาน ในระดับมาก ซึ่งมีค่าเฉลี่ยในช่วง 3.51 -4.50 ประชาชนทั่วไปเห็นว่ากิจกรรมเทศน์มหาชาติ สามารถสร้างความสามัคคี ปรองดองกันระหว่าง ชุมชน และ ระหว่าง จังหวัดน่านและแขวงไชยบุรี ได้มากที่สุด และทำให้ประชาชนได้รับความรู้ที่ได้รับจากการเทศน์มหาชาติแต่ละกัณฑ์ ทั้งงานนี้ยังมีกิจกรรมส่งเสริมการเผยแพร่พุทธศาสนาที่พึงพอใจ และสามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องวัฒนธรรม ในการเทศน์มหาชาติได้ รวมถึงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิถีชีวิตและวัฒนธรรมความเป็นอยู่ได้ในระดับ มากอีกด้วย นอกจากนั้นระยะเวลา สถานที่ และเจ้าหน้าที่ก็สร้างความพึงพอใจเป็นอย่างมาก ทำให้ประชาชนมีความต้องการที่จะให้มีกิจกรรมการเทศน์มหาชาติเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้และวัฒนธรรม ในอนาคต |
URI: | http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/338 |
Appears in Collections: | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2559-920 นายเชษฐ์ นิมมาทพัฒน์.pdf | 3.35 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.