Please use this identifier to cite or link to this item:
http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/336
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | ปุริมาตร, พิชิต, | - |
dc.contributor.author | พระครูปลัด, นิเวช | - |
dc.contributor.author | ปุริมาตร, ไพวรรณ | - |
dc.contributor.author | อัจฉฤกษ์, เบญญาภา, | - |
dc.contributor.author | วงษ์อมรวิทย์, ชุติพนธ์ | - |
dc.date.accessioned | 2022-03-16T08:28:03Z | - |
dc.date.available | 2022-03-16T08:28:03Z | - |
dc.date.issued | 2561 | - |
dc.identifier.uri | http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/336 | - |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) ศึกษาองค์ความรู้สมุนไพรในการดูแลสุขภาวะเชิงพุทธในจังหวัดนครราชสีมา ๒) พัฒนากิจกรรมเครือข่ายผลิตภัณฑ์สมุนไพรต้นแบบในการดูแลสุขภาวะเชิงพุทธในจังหวัดนครราชสีมา ๓) สร้างเครือข่ายวัดสมุนไพรต้นแบบดูแลสุขภาวะเชิงพุทธในจังหวัดนครราชสีมา ผู้ให้ข้อมูลสาคัญในการสัมภาษณ์เชิงลึก ได้แก่ เจ้าอาวาส คณะสงฆ์ พระเถระผู้ใหญ่ ตัวแทนวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จานวน ๓๐ รูป/คน เป็นการวิจัยแบบผสานวิจัยทั้งวิจัยในเชิงเอกสาร และการวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการศึกษาพบว่า ๑. องค์ความรู้สวนสมุนไพรของวัดและชุมชนในการดูแลสุขภาพของวัดและชุมชนในจังหวัดนครราชสีมา วัดมีความสาคัญต่อการพัฒนาด้านสาธารณสุขของชุมชนโดยวัดเป็นศูนย์กลางของชุมชนในการส่งเสริมสุขภาพและพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมให้กับประชาชนและชุมชน สาหรับวัดไตรมิตรวิทยารามมีองค์ความรู้ทางด้านสมุนไพรโดยเกิดจาก องค์ความรู้จากภูมิปัญญาในการใช้สมุนไพร การใช้สมุนไพรเป็นอาหาร กับใช้เป็นยารักษาโรค รูปแบบการสืบทอดองค์ความรู้ เป็นการถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น การนาไปปฏิบัติหลังได้รับการถ่ายทอด โดยการใช้ภูมิปัญญาสมุนไพรดูแลสุขภาพตนเอง บุคคลใกล้ชิด และคนอื่น ๆ การถ่ายทอดให้บุคคลใกล้ชิด กล่าวคือ ได้นาความรู้ที่ได้จากการถ่ายทอดมาแนะนาบุคคลใกล้ชิดให้รู้จักยาสมุนไพร และใช้ยาสมุนไพรอย่างถูกวิธี และการกระตุ้นให้เห็นความสาคัญของสมุนไพรและการอนุรักษ์สมุนไพร ๒. การพัฒนากิจกรรมเครือข่ายผลิตภัณฑ์สมุนไพรต้นแบบในการดูแลสุขภาวะเชิงพุทธในจังหวัดนครราชสีมา กาหนดออกเป็น ๓ ระยะ ดังนี้ ระยะที่ ๑ ปรับพื้นให้เหมาะสมต่อการพัฒนาโดยนาขยะพลาสติกออกจากพื้นที่ พัฒนาพื้นที่ทาความสะอาดและกาหนดพื้นที่สาหรับจัดทาเป็นศูนย์เรียนรู้ด้านสมุนไพร พร้อมกับปรับพื้นที่ให้สะอาด ระยะที่ ๒ จัดทาแผนสร้างความร่วมมือระหว่างคณะสงฆ์ในพื้นที่ มจร วิทยาเขตนครราชสีมาและประชาชน ระยะที่ ๓ พัฒนาผลิตภัณฑ์และสมุนไพรในพื้นที่ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ ซึ่งตามแผนปฏิบัติการดังกล่าวสงผลให้เกิดศูนย์เรียนรู้สมุนไพรต้นแบบในการดูแลสุขภาวะเชิงพุทธ ณ วัดไตรมิตรวิทยาราม ๓. สร้างเครือข่ายวัดสมุนไพรต้นแบบดูแลสุขภาวะเชิงพุทธในจังหวัดนครราชสีมา เครือข่ายการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นภายในวัดไตรมิตรวิทยาราม เกิดจากการดาเนินกิจกรรมและการขยายเครือข่ายการเรียนรู้ทางสังคมที่มาจากการเรียนรู้ภายในที่มีความมุ่งมั่นในการที่จะพัฒนาบุคคล กิจกรรมเชื่อมโยงสมุนไพร การเชื่อมโยงกับเครือข่ายอื่นๆ เช่น เครือข่ายวัดสมุนไพร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การประชาชนเข้ามาใช้พื้นที่ในการถ่ายทอดองค์ความรู้ การจัดตั้งเป็นศูนย์เรียนรู้สมุนไพร ต้นแบบในการดูแลสุขภาวะเชิงพุทธให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมตามความเหมาะสม และการพัฒนาระบบศูนย์ข้อมูลหรือ เครือข่ายการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมเชิงพุทธ รวมทั้งการประสานเพื่อให้เกิดความยั่งยืนของบุคคลและสังคม กระบวนการเสริมสร้างเครือข่ายเรียนรู้ดังกล่าว เป็นไปตามหลักการของการเรียนรู้ และการจัดการความรู้ | en_US |
dc.publisher | สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | การสร้างเครือข่าย | en_US |
dc.subject | ศูนย์เรียนรู้ | en_US |
dc.subject | สมุนไพร | en_US |
dc.subject | สุขภาวะ | en_US |
dc.subject | เชิงพุทธ | en_US |
dc.title | การสร้างเครือข่ายศูนย์เรียนรู้ สมุนไพรต้นแบบในการดูแลสุขภาวะเชิงพุทธ | en_US |
dc.title.alternative | Creating a learning center network The prototype herb in Buddhist care | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
Appears in Collections: | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2561-349 ผศ.ดร.พิชิต ปุริมาตร.pdf | 6.42 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.