Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/332
Title: นโยบายและกลไกการส่งเสริมการปลูกพืชสวน (ทุเรียน) ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาครัฐในจังหวัดศรีสะเกษ
Other Titles: Policy and mechanism for promoting horticulture (durian) of the local government and government. In Sisaket Province
Authors: มั่นคง, ฐานิดา,
Keywords: นโยบาย
กลไก
การส่งเสริมการปลูกพืชสวน (ทุเรียน)
อปท. ภาครัฐ จังหวัดศรีสะเกษ
Issue Date: 2560
Publisher: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษานโยบาย การส่งเสริมการปลูกพืชสวน (ทุเรียน) ของ อปท.และภาครัฐในจังหวัดศรีสะเกษ 2)เพื่อศึกษากลไก การส่งเสริมการปลูกพืชสวน (ทุเรียน) ของ อปท.และภาครัฐในจังหวัดศรีสะเกษ 3) เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์และแนวโน้มการส่งเสริมการปลูกพืช สวน (ทุเรียน) ในจังหวัดศรีสะเกษ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ จาการเก็บรวบรวมข้อมูลโดย การศึกษาเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึก จากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ ผู้บริหารส่วนงานภาครัฐ และ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกำหนดและกำกับ ติดตามนโยบาย และกลุ่ม เกษตรกรผู้ปลูกทุเรียน จำนวนทั้งสิ้น 19 คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก การวิเคราะห์ ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า นโยบายที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการปลูกทุเรียนในจังหวัดศรีสะเกษ มี 4 นโยบายหลัก ได้แก่ นโยบายการบริหารจัดการพื้นที่เกษตร , นโยบายการเกษตรแปลงใหญ่, นโยบาย ศูนย์ส่งเสริมประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร และนโยบายมาตรฐานสินค้าเกษตร ส่วนกลไกในการ ขับเคลื่อนนโยบายจะใช้ โครงการย่อยๆต่างๆที่หน่วยงานต้นสังกัด คือ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นผู้กำหนด โดยมีข้าราชการ และส่วนงานภาครัฐ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นกลไกหลักใน การขับเคลื่อน จากการศึกษา พบว่า การส่งเสริมการปลูกทุเรียนของภาครัฐ ส่งผลให้เกษตรกรมีรายได้ ต่อครัวเรือน ในพื้นที่ที่ทำการปลูกทุเรียนเพิ่มมากขึ้น กลไกการส่งเสริมในรูปแบบกิจกรรม โครงการ ต่างๆที่ทำร่วมกันกับภาคเอกชน ทำให้ผลผลิตมีราคาสูง และไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภค อีกทั้ง ผลผลิตส่วนใหญ่ เป็นการผลิตเพื่อส่งออก ปัญหาที่รอการแก้ไข คือ มีการนำผลผลิตนอกพื้นที่ เข้ามาจำหน่าย ทำให้ไม่สามารถควบคุมมาต
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/332
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2560-164ผศ.ดร.ฐานิดา มั่นคง.pdf2.44 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.